“ป่าและต้นไม้สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้มนุษย์เราได้อย่างไม่น่าเชื่อ”
วันนี้ passion gen จะพาไปกอดป่า เทรนด์ใหม่ที่ยังคงมาแรง สำหรับคนรักสุขภาพ
จุดเริ่มต้นกระแสการอาบป่าหรือการเข้าป่าไปอยู่กับธรรมชาติ เกิดขึ้นจริงจังที่ประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นเรียกการไปอาบป่าว่า Shinrin – yoku (ชินริน–โยกุ) ประมาณการณ์ว่า สถานที่อาบป่าในญี่ปุ่นมีมากถึง 62 แห่ง แต่ละปีมีคนไปใช้บริการมากถึง 5 ล้านคน เพื่อแลกกับสุขภาพที่ดีกลับคืนมา
การอาบป่าตามแบบฉบับชาวญี่ปุ่นนั้น จะต้องมีการฝึกฝนอย่างจริงจัง ใช้ประสาทสัมผัสแบบช้า ๆ รวมถึงการหายใจเพื่อสัมผัสให้เข้าถึงธรรมชาติที่แท้จริง และต้องมีความมุ่งมั่นสูงพอสมควร
ความจริงแล้ว แนวโน้มการอาบป่าได้รับความนิยมในโลกตะวันตกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นที่อเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส แต่สถานที่อาบป่าที่มีชื่อเสียงมีอยู่ไม่กี่แห่ง
ตัวอย่าง แหล่งสำหรับไปอาบป่าธรรมชาติคือ Glendeven ในแคลิฟอร์เนีย สนนราคาแพ็กเกจในการพักผ่อนแต่ละครั้งอยู่ที่ประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ในช่วงที่ผ่านมาชาวอเมริกันต่างมองหาสถานที่อาบป่ากันมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทว่า การอาบป่าที่ถูกต้องจะต้องมีผู้ประกอบการควบคุม มีทีมงานและผู้นำกิจกรรมหรือมัคคุเทศก์ช่วย เพราะเปรียบเสมือนการเดินทางท่องเที่ยวเข้าไปในป่านั่นเอง
กลับมาที่ญี่ปุ่น การออกไปอาบป่าตามธรรมชาติ ถือเป็นการพักผ่อนระดับไฮเอนด์
ล่าสุดมีรีสอร์ตในป่าแห่งหนึ่ง เพิ่งเปิดตัวพร้อมเสนอแพ็กเกจแบบ 4 วัน 3 คืนในราคาประมาณ 1.1 หมื่นดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
ในประเทศญี่ปุ่น การอาบป่าเป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่ง ในป่าจะมีต้นไม้ฮิโนกิ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เป็นที่เคารพและมีกลิ่นหอมพบได้ทั่วไป น้ำมันหอมระเหยของต้นฮิโนกิเป็นที่ต้องการในตลาดออนไลน์อย่าง Amazon อย่างมาก
แม้ว่ามนุษย์เราจะคุ้นเคยและเพิ่งพาป่าและต้นไม้มานานแล้ว เราได้ยินเสียงของป่าไม้ ได้กลิ่นต้นไม้ ได้รับอากาศบริสุทธิ์ และความรู้สึกสบายใจ ช่วยลดความเครียดและความกังวล
แต่การอาบป่าเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและปัญหาสารพัดในการใช้ชีวิตแต่ละวัน
นิตยสาร TIME ชี้ให้เห็นว่า การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติสามารถฟื้นฟูอารมณ์ของเราให้มีพลังและมีชีวิตชีวากลับคืนมา ทำให้เราสดชื่นและกระปรี้กระเปร่าได้
และนี่ไม่ใช่การออกกำลังกายแบบเดินป่าหรือวิ่งจ็อกกิ้ง แต่เป็นการอยู่ในธรรมชาติ และใช้ประสาทสัมผัสการมองเห็น การได้ยิน การรับรสกลิ่น เชื่อมความรู้สึกของเรากับธรรมชาติและโลก
ในอนาคตภายในปี 2050 ประชากรโลกเกินครึ่งหรือกว่า 66% ว่าจะอาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ ตัวอย่างชัด ๆ คือ ชาวอเมริกันจะใช้เวลา 93% อยู่ในบ้านตัวเอง แต่เชื่อว่าพวกเขาต้องการธรรมชาติบำบัด
อย่างน้อยการอาบป่าสัก 2 ชั่วโมง ก็จะช่วยถอดปลั๊กตัวเองจากเทคโนโลยีและทำให้ร่างกายเดินช้าลง อยู่กับปัจจุบัน ลดความเครียด และทำให้ผ่อนคลายไปได้มาก
สำหรับศาสตร์สำคัญของการไปอาบป่า อย่างแรกคือ ต้องแน่ใจว่าจะสามารถทิ้งโทรศัพท์และเทคโนโลยีทั้งหลายไว้ข้างหลัง พร้อมกับความตั้งใจแน่วแน่ว่าพร้อมที่จะอยู่กับตัวเอง ดื่มด่ำกับเสียง กลิ่น และทิวทัศน์ของธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัว
กุญแจสำคัญในการไขพลังของป่า อยู่ในประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเรา ปล่อยให้ธรรมชาติเข้ามาทางหู ตา จมูก ปาก มือ และเท้า ฟังเสียงนกร้องและสายลมที่พัดผ่านใบไม้ มองไปที่ต้นไม้ใบเขียวและแสงแดดที่ส่องผ่านกิ่งไม้ สูดกลิ่นหอมของป่าไม้และสูดดมน้ำมันหอมระเหยตามธรรมชาติ ลิ้มรสความสดชื่นของอากาศขณะหายใจเข้าลึก ๆ วางมือบนลำต้นของต้นไม้ จุ่มนิ้วมือหรือนิ้วเท้าลงในลำธาร นอนบนพื้น ดื่มในรสชาติของป่า และปลดปล่อยความสุขและความสงบ
นี่คือสัมผัสที่ 6 ทางใจ ตอนนี้คุณได้เชื่อมต่อกับธรรมชาติแล้ว คุณได้ข้ามสะพานไปสู่ความสุขแล้ว
อย่างไรก็ดี แต่ละบุคคลต้องมองหาสถานที่ที่เหมาะกับตัวเอง ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบหรือตามกระแสคนอื่น บางทีอาจมีสถานที่ในชนบทที่ทำให้นึกถึงวัยเด็กหรือช่วงเวลาแห่งความสุขในอดีต เป็นสถานที่เพิ่มพลังให้ตัวเองก็ได้
บทความเกี่ยวกับการอาบป่าที่เขียนโดย Qing Li บอกว่าสถานที่ที่เขาชอบมากที่สุดคือ Iinan Furusato-no-Mori เพราะเป็นโปรแกรมป่าบำบัดที่มัคคุเทศก์ มีแพทย์พร้อมให้การประเมินสุขภาพทั่วไป มีการตรวจสุขภาพร่างกายและแบบสอบถามทางจิตวิทยา เพื่อวางแผนให้การอาบป่าได้ผลดีที่สุด
สำหรับในเมืองไทยเรา ก็เริ่มมีการจัดกิจกรรมการเดินป่าบ้างแล้ว เช่น กลุ่ม Trekking Thai จัดทัวร์เข้าไปสัมผัสป่าไม้ ฟังเสียงต้นไม้หายใจ และไปดูธรรมชาติกัน
แต่ส่วนใหญ่แล้วยังไม่มีโปรแกรมเข้มข้นเหมือนในต่างประเทศ
คาดว่าอีกไม่นาน การอาบป่าจะเป็นที่นิยมแน่นอน เพราะเป็นธรรมชาติบัดบัดที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับมนุษย์ยุคใหม่
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.