ขณะที่โควิด-19 กำลังระบาดไปทั่วโลก ปัญหาการทำลายสัตว์ป่า แหล่งต้นน้ำ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ยังคงเกิดขึ้นและดำเนินต่อไปเช่นกัน แม้ว่าหน่วยงานระดับนานาชาติหรือระดับท้องถิ่นจะพยายามหาหนทางลดปัญหานี้อย่างไร แต่ก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดี
แต่ปัญหาใหญ่ 2 เรื่องนี้ กำลังจับมาผูกโยงเป็นเรื่องเดียวกัน…นี่คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในยุคโควิด-19
ผู้เชี่ยวชาญฝั่งตะวันตกเริ่มออกมาพูดเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง และตั้งคำถามดัง ๆ ว่า หากสัตว์ป่าเกี่ยวพันกับโรคระบาดแล้ว เราจะป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติในลักษณะนี้ขึ้นอีกได้อย่างไร
“หากมนุษย์สามารถปกป้องสัตว์ป่าไว้ได้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดขึ้นในอนาคตได้” นี่ไม่ใช่คำกล่าวลอย ๆ แต่มีการศึกษาวิเคราะห์มาแล้ว และกำลังมีการเรียกร้องให้นำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
คำนวณง่าย ๆ คือ โควิดรอบนี้จะใช้เงินแก้ปัญหาทั้งสั้น 11.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่หากใช้มาตรการปกป้องสัตว์ป่าและป่าไม้อย่างที่ว่านี้จะใช้งบแค่ 260 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปกป้องปัญหาได้นานถึง 10 ปี
การป้องกันที่ว่านี้คือปกป้องสัตว์ป่าและป่าไม้ เพื่อที่จะลดความเสี่ยงและลดโอกาสที่จะเกิดโรคระบาดใหญ่นั่นเอง
ทั้งนี้ แม้ว่าในแต่ละปีจะเกิดเชื้อไวรัสตัวใหม่ ๆ จากสัตว์ป่าโดยเฉลี่ย 2 ตัวก็ตาม แต่ก็เป็นไปตามระบบธรรมชาติ แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ถ้าหากสัตว์ป่าและป่าไม้เหล่านี้ถูกทำลายไป นั่นแหละคือการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดใหญ่จากสัตว์มาสู่มนุษย์ได้มากว่าซะอีก
สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องคือ การสร้างกลไกควบคุมการค้าสัตว์ป่าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการควบคุมโรค ทั้งในส่วนของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง
เช่นเดียวกับ จวร์ต พิมม์ แห่งมหาวิทยาลัยดุ๊ก ก็ยืนยันว่าการลงทุนเพื่อปกป้องธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่า เป็นวิธีป้องกันโรคระบาดได้ดี
ส่วน อิงเกอร์ แอนเดอร์สัน หัวหน้าหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN ก็สนับสนุนแนวคิดนี้เช่นกัน เพราะ UN ก็เชื่อว่า หากนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติได้จริง จะถือเป็นการต่อสู้กับโรคระบาดแห่งอนาคตได้ดีที่สุด ที่สำคัญจะช่วยลดงบประมาณค่าใช้จ่ายได้มาก
ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเหล่านี้ ได้ส่งสัญญาณให้เห็นว่าโรคระบาดที่กำลังเกิดขึ้น เกิดจากธรรมชาติไม่ได้รับการปกป้องเพียงพอ
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.