Categories: SUSTAIN

ปั่น กิน เที่ยว ชุมชนยั่งยืน บ้านตะเคียนเตี้ย

สำหรับคนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวแนวบ้าน ๆ อยากลองดำเนินชีวิตดั้งเดิมตามแบบฉบับที่คนในพื้นที่เขาทำกัน ไม่เน้นหวือหวาฟู่ฟ่า ที่สำคัญมีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับความยั่งยืนเป็นพิเศษ

ก็ต้องมาที่นี่เลย หนึ่งเดียวที่ชลบุรี

ที่นี่…ชุมชนบ้านตะเคียนเตี้ย

ว่ากันว่าที่นี่เป็นแหล่งสวนมะพร้าวแห่งสุดท้ายของภาคตะวันออก เป็นตัวอย่างชุมชนที่วางตัวตนไว้บนเส้นทางความยั่งยืนได้อย่างชัดเจน แม้จะมีการนำเรื่องการท่องเที่ยวผนวกกับธรรมชาติที่มีอยู่ แต่ก็ทำออกมาได้เป็นอย่างดี ทำไมคนที่นี่เลือกอยู่กับธรรมชาติและคิดว่านี่คือการสร้างความยั่งยืนให้ตัวเอง เรามาติดตามกัน

เส้นทาง “ปั่น กิน เที่ยว” ของเราสตาร์ตจากจุดแรกคือ

ขี่จักรยานชมสวนมะพร้าว สวนนี้มีเรื่องราวของชุมชนชาวตะเคียนเตี้ยในอดีต ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ปู่เยอ ย่าใหญ่ แกมาถากถางที่ ที่นี่

วิธีการของเขาก็คือว่า เขาจะถางล้อม ก็คือถางโดยโอบ ๆ ก่อน แล้วก็ปลูกมะพร้ามเพื่อจับจองอาณาเขตไปด้วย จุดไหนมีต้นมะพร้าวเรียบร้อย แสดงว่ามีเจ้าของแล้ว

ปั่นมาตามเส้นทางก็จะพบกับกองมะพร้าวหรือลานมะพร้าว

เป็นลานที่คนเก็บมะพร้าวจากสวนมาขาย ก่อนที่จะขายต่อ การขายก็เป็นลูก ๆ แบบนี้ก็ได้ หรือขายแบบแยกน้ำ แยกเนื้อก็ได้

ปั่นต่อไปอีกนิด เริ่มมีเหงื่อออกก็ต้องจิบกาแฟสักหน่อย กาแฟที่นี่รับรองว่าไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนที่อื่น ๆ อย่างแน่นอน

ชุมชนบ้านตะเคียนเตี้ย เขามีเอกลักษณ์กาแฟนะครับ บางทีก็เรียกกาแฟกะลา เขาจะทำกาแฟสดที่ผสมกะทิหรือน้ำมะพร้าว ว้าว…ชักน่าสนใจ ไปลองดูดีกว่า แน่นอนว่าที่นี่ยังมีอาหารพื้นถิ่นที่น่าสนใจอยู่ด้วย

ชิมกาแฟแล้วขอบอกต่อเลยว่า กะทิจากมะพร้าวสดที่นี่สามารถเอามาตีฟองเหมือนกับลาเต้ได้เลย และต้องดื่มแบบห้ามคนและห้ามใส่น้ำตาล ต้องดื่มแบบสด ๆ จะฟินมาก

อีกเมนูคือ กาแฟเย็นมะพร้าว คือใช้กะทิผสมกับตัวของกาแฟแล้วก็ใส่น้ำแข็ง กาแฟจะอยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างเป็นน้ำมะพร้าว อันนี้ก็แปลกดี ใครมาที่นี่ต้องลอง

จุดสุดท้ายนี้คือ สวนฟ้าใส ไอโกะ เป็นสวนมะพร้าวที่สวยที่สุดในหมู่บ้านตะเคียนเตี้ย เราก็เลยปั่นจักรยานมาสิ้นสุดที่จุดนี้ครับ

ขอเพิ่มอีกจุด คือ บ้านร้อยเสา

บ้านร้อยเสา คือ บ้านของแม่ทรัพย์และก็แม่สิน ซึ่งเป็นพี่น้องฝาแฝดกัน

คนโบราณก็มีความเชื่อว่า ถ้าเป็นฝาแฝดแยกกันอยู่จะทำให้อายุสั้น พอช่วงเวลาแต่งงาน แฝดผู้พี่ก็ขยายบ้านมาทางฝั่งตะวันออก ส่วนแฝดผู้น้องแต่งงานก็ขยายบ้านมาฝั่งตะวันตก ทำให้บ้านขยายกันมาเรื่อย ๆ ต่อ ๆ มา

ปัจจุบันรวมแล้ว 60 ปี นับเสาแล้วก็ได้ 102 เสา

สรุปได้เลยว่า หากมาท่องเที่ยวที่นี่ นอกจากจะได้ปั่นจักรยานออกกกำลังกาย ได้สูดอากาศจากธรรมชาติแบบเต็มปอดแล้ว ยังได้สนับสนุนกิจการภายในชุมชน และได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมอนุรักษ์ธรรมชาติที่สวยงามไว้ต่อไป


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.