Categories: SUSTAIN

เปิดเวทีระดมความคิด ส่งเสริมแรงงานสตรีเข้าสู่ระบบ เพิ่มความปลอดภัยและเป็นธรรม

การระบาดใหญ่ของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก รวมถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะแรงงานสตรี ในประเทศไทยเองก็พบปัญหานี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความรุนแรง การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง

เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว โครงการปลอดภัยและยุติธรรม (Safe and Fair) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Spotlight Initiative อันเกิดจากความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรป (EU) และสหประชาชาติ (UN) โดยมีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ร่วมกับองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ หรือ UN WOMEN เป็นผู้ดำเนินการหลัก จึงจัดเสวนากลุ่มเรื่อง “การแก้ปัญหา : การโยกย้ายที่ปลอดภัยและเป็นธรรมในสถานการณ์โควิด-19” เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

ทั้งนี้ เพื่อระดมแนวคิดจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงการวางแนวทางไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวทางสหประชาชาติหรือ SDGs โดยเฉพาะ SDG 5 – ความเท่าเทียมทางเพศ, SDG 8 – งานที่มีคุณค่า, SDG – 10 การโยกย้ายอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ, และ SDG 16.2 – การยุติการละเมิดการแสวงหาประโยชน์การค้ามนุษย์และความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบ

นางพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธุ์ ผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (FLEP) กล่าวว่า

ในประเทศไทยมีแรงงานสตรีที่ทำงานในบ้านมีจำนวนมากถึง 90% และส่วนหนึ่งเป็นแรงงานด่างด้าว

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 แรงงานหญิงเหล่านี้ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากนายจ้างทำงานหรืออยู่บ้านนานขึ้น ทำให้ภาระของแรงงานเพื่มมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้น ในบางกรณีไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่ม

นอกจากนี้ แรงงานที่ทำงานในบ้านส่วนใหญ่ ไม่ได้อยู่ในระบบแรงงานตามกฎหมาย ถึงไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยช์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม รวมไปถึงการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างด้วย

“แรงงานทุกคนต้องได้สิทธิ์ และได้รับสวัสดิการทางด้านแรงงานอย่างเท่าเทียมกัน”

นางพูลทรัพย์กล่าว

แนวคิดการคุ้มครองแรงงานสตรี และการเข้าถึงสวัสดิการแรงงานอย่างเป็นธรรมนี้ สอดคล้องกับแนวคิดของ นายเสถียร ทันพรม ผู้ประสานโครงการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ผู้แทนจากสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (SERC) ซึ่งย้ำว่า “แรงงานทุกคนที่อยู่ในผืนแผ่นดินไทย จะต้องมีหลักประกันสุขภาพ”

ในช่วงที่เกิดโควิด-19 ทาง SERC ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศไทย พบว่ากลุ่มแรงงานต่างชาติถูกจัดให้สำคัญไว้ท้ายสุด ทั้ง ๆ ที่เป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญระดับต้น ๆ ต่อภาคการผลิตในระบบอุตสาหกรรมของประเทศ

อย่างไรก็ดี ทางสมาพันธ์ฯ ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลแรงงานข้ามชาติไว้แล้ว และกำลังผลักดันให้เข้าสู่ระบบแรงงานที่ถูกต้อง สามารถเข้าถึงสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ตามกฎหมาย

ขณะที่ ดร.สนองวิชญ์ ภูวันทมาตย์ ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในปี 2564 ตามแผนเดิมที่ตั้งไว้

แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ทำให้ประเทศต้องเผชิญปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้

ทางกระทรวงฯ ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการเยียวยาแรงงานกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรวมถึงกลุ่มผู้ด้อยโอกาส โดยให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านแรงงานผ่าสายฮอตไลน์

ในช่วงที่เกิดโควิด มีผู้โทรศัพท์เพื่อขอคำปรึกษามากถึง 20,000 สายต่อวัน ทำให้ต้องมีการเพิ่มจำนวคู่สายจาก 30 เป็น 60 คู่สาย  นอกจากนี้ ยังได้ประสานการทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

ส่วน นายบุรัชต์ จันทรักษ์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ให้ความเห็นว่า ในความเป็นจริงแรงแล้ว กฎหมายแรงงานของไทยให้ความคุ้มครองแรงงานต่างชาติเท่าเทียมกับแรงงานไทย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา และวันหยุด เป็นต้น

แต่ในช่วงที่เกิดโควิด-19 มีแรงงานจำนวนมากได้รับผลกระทบ มีทั้งการถูกเลิกจ้าง การลดเงินเดือน และสวัสดิการต่าง แรงงานที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้ สามารถร้องเรียนไปยังกรมฯได้ตลอดเวลา

ทั้งนี้ ปัญหาแรงงานต่างชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงโควิด-19 ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศอื่นที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน

ในเรื่องนี้ ดร. รัชดา ไชยคุปต์ อดีตผู้แทนไทยด้านสิทธิสตรีในคณะกรรมาธิการอาเซียน ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก และประธานคณะทำงานการจัดทำสื่อ เพื่อรณรงค์ขจัดความรุนแรงต่อสตรีและการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอาเซียน กล่าวว่า

ในปี 2562 ที่ผ่านมา มีการออกแคมเปญเพื่อคุ้มครองแรงงานต่างชาติในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับประเทศต่าง ๆ โดยมุ่งเน้น 3 เรื่องคือ สิทธิแรงงานของลูกจ้างซึ่งเป็นเรื่องที่นายจ้างจะต้องรู้ด้วย การสะท้อนปัญหาต่าง ๆ จากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และการส่งเสริมสิทธิ์แรงงานข้ามชาติ

นอกจากนี้ ยังมีการณรงค์ให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องอย่างกว้างขวาง โดยการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับพื้นที่และเชื้อชาติของแรงงานแต่ละชาติด้วย เพราะแรงงานจากประเทศต่าง ๆ จะมีความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีและภาษาไม่เท่ากัน


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.