Categories: SUSTAIN

โลกตื่นรักษ์น้ำ แต่ไทยจะแล้งหนัก ทุกภาคส่วนกำลังหาทางรับมือ

4.9 / 5 ( 14 votes )

วันที่ 22 มีนาคมที่กำลังจะมาถึงนี้ คนทั่วโลกจะพูดถึงวันอนุรักษ์น้ำโลก หรือ World Water Day เนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในภูมิภาคต่างๆ

เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในระดับนานาชาติ ที่ประชุมสหประชาชาติปี 2535 ได้กำหนดให้น้ำเป็นวาระสำคัญของโลก และรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและถูกวิธี เช่น การดื่มน้ำทุกครั้งให้หมดแก้วก็ถือว่าเป็นการช่วยโลก หรือการนำน้ำจากการล้างผักไปใช้รดต้นไม้ก็ถือเป็นการประหยัดน้ำไปในตัว

แม้ว่าทั่วโลกกำลังตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์น้ำ แต่ในประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีการประเมินว่าในปี 2563 นี้ ประเทศไทยอาจจะเผชิญปัญหาภัยแล้งหนักสุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งความจริงปัญหาขาดแคลนน้ำมีการเตือนล่วงหน้ามาตั้งแต่ปีที่ผ่านมาแล้ว

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สนทช. ได้คาดการณ์ว่าภัยแล้งปี 2563 อาจมีพื้นที่เสี่ยงภัยถึง 43 จังหวัด เรียกได้ว่ามากกว่าครึ่งของประเทศ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อประชาชนใน 3,785 หมู่บ้านทั่วประเทศ

ล่าสุด เว็บไซต์ earthobservatory.nasa.gov ได้ชี้ชัดว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาภัยแล้ง ที่คาดว่าจะหนักสุดในรอบ 40 ปีเลยทีเดียว เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำทั่วประเทศต่ำกว่า 50% นอกจากนี้ จะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างกว้างขวาง รวมถึงเกษตรกรทั่วประเทศกว่า 11 ล้านคน

ขณะที่สำนักข่าว Bloomberg รายการว่าสินค้าการเกษตรของไทย ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากปัญหาภัยแล้งคือ ข้าว ยางพารา และน้ำตาล ซ้ำหนักสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว ยิ่งทำให้ปัญหาภัยแล้วกระทบเป็นวงกว้างขึ้นไปอีก

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราทุกคนควรเตรียมพร้อมรับมือปัญหาดังกล่าว สิ่งแรกๆที่สามารถทำได้คือ การปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง เนื่องจากราคาสินค้าทางการเกษตรมีโอกาสเพิ่มขึ้นมาก เพราะไม่มีน้ำทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย พืชผักที่คาดว่าจะมีราคาแพงขึ้น เช่น ต้นหอม ผักชี นอกจากปลูกผักเพื่อไว้กินเองแล้ว เกษตรกรสามารถขายสินค้าเหล่านี้เป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย

ในส่วนของภาครัฐก็ได้กำหนดแนวทางรับมือภัยแล้งไว้แล้ว 4 ประเภท ประกอบด้วย 1. ขุดลอกและปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม ได้แก่ บึง กุด หนองน้ำธรรมชาติ อาคารแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่เดิม งานปรับปรุงอาคารและองค์ประกอบ หรือโครงการที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเก็บกักน้ำ 2. ขุดแหล่งเก็บน้ำใหม่ ได้แก่ การขุดสระน้ำหรือแหล่งเก็บน้ำในพื้นที่สาธารณะ หรือแก้มลิง ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในส่วนรวม 3. ฝายชะลอน้ำ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำหรือป่าเสื่อมโทรม และ 4. ขุดบ่อบาดาลเพิ่มเติมซึ่งได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้ว


Sources:
earthobservatory
bloomberg

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.