Categories: SUSTAIN

นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแนะทุกฝ่ายใช้บทเรียนจาก โควิด-19 รับฟังข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น

5 / 5 ( 4 votes )

เมื่อวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ที่ผ่านมา ได้มีถ่ายทอดการสนทนาผ่านทางออนไลน์ ระหว่าง เกรต้า ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) เด็กสาวนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมจากประเทศสวีเดน และ  ดร.โยฮัน ร็อคสตรอม (Johan Rockström) นักวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System Science) และผู้อำนวยการแห่งสถาบันพอทสแดมเพื่อการวิจัยผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Potsdam Institute for Climate Change) ในประเด็นเรื่องของ ความกล้าหาญ ความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน และการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ท่ามกลางสถานการณ์ในปัจจุบันของโลก

ในการสนทนาระหว่างทั้งสอง ธันเบิร์ก ได้กล่าวว่า สังคมมนุษย์ของพวกเราไม่ได้ยั่งยืน และมั่นคงอย่างคิดกันไว้ การที่ไวรัสโควิด-19  สามารถแพร่กระจายไปทั่วโลก และสามารถสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างรุนแรงภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน เป็นหลักฐานที่แสดงว่า พวกเรายังขาดการคิดวางแผนในระยะยาว และมักตัดสินใจโดยไม่ได้นำความเสี่ยงไปประกอบการพิจารณา

อย่างไรก็ตาม การที่หลายประเทศออกมาตรการหลายอย่างมารับมือกับโควิด-19 อย่างเข้มข้น  และได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายจนหลายพื้นที่สามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อลงได้ ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า พวกเราจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เร็วแค่ไหน หากทุกฝ่ายเคลื่อนไหวร่วมกัน โดยยึดถือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งหลักการเดียวกันนี้ก็สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และสภาพอากาศของโลกได้


บทความที่คุณอาจสนใจ


ด้าน ดร. ร็อคสตรอม กล่าวว่า โรคระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) กับวิกฤตสิ่งแวดล้อม  (Environmental Crisis) มีความเกี่ยวเนื่องกัน ตัวอย่างเช่น การทำลายป่าไม้ และการซื้อขายสัตว์ป่า ทำให้ไวรัสสามารถกระโดดจากสัตว์มายังมนุษย์ได้ง่ายขึ้น  มลภาวะทางอากาศทำให้ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์อ่อนแอ และติดเชื้อได้ง่าย  และความนิยมของการเดินทางทางอากาศทำให้เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น  กล่าวได้ว่า กิจกรรมของมนุษย์กำลังทำลายทั้งธรรมชาติ และสุขภาพของตนเอง

ดร. ร็อคสตรอม หวังว่าบทเรียนจากการรับมือโควิด-19 จะทำให้ประเทศต่างๆ โลกหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น และตระหนักถึงความรุนแรง และผลกระทบทุกอย่างที่จะตามมา จากที่วิกฤตสภาพอากาศที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน พวกเราไม่อาจทราบได้ว่า เราจะทำเป็นเมินเฉยต่อภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะไปได้อีกนานแค่ไหน

 

ขอบคุณข้อมูล และเนื้อหาจาก

https://www.theguardian.com/environment/2020/apr/22/earth-day-greta-thunberg-calls-for-new-path-after-pandemic

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.