Categories: SUSTAIN

เลวร้ายกว่าโควิด

คนทั่วโลกรู้จัก “บิล เกตส์” ในฐานะที่เป็นมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของโลก เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft

แต่ตอนนี้ นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้คร่ำหวอดในวงการไอทีระดับโลก กำลังมองมาที่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 และตั้งข้อสังเกตว่า

โควิด-19 ที่ว่าแย่แล้ว อีกไม่นานการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจะยิ่งเลวร้ายกว่านี้

บิล เกตส์

น่าแปลกใจที่คนทรงอิทธิพลระดับโลกคนนี้ กำลังออกมาเตือนชาวโลกให้ตระหนักถึงพิษภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่อาจจะไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิมอีกต่อไป

“วิกฤตครั้งนี้เป็นบทเรียนสำคัญ มันกำลังบอกให้พวกเรารู้จักรับผิดชอบสำหรับคนรุ่นต่อไป” บิล เกตส์ เขียนบทความเรื่องนี้ขึ้นเมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้เอง

คำแนะนำของบิล เกตส์ ในการรับมือกับภัยทางธรรมชาติคือ การสร้างเครื่องมือและนวัตกรรมเพื่อลดปัญหาเรือนกระจกให้ได้

แม้ว่าตอนนี้ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากเรือนกระจกกลับลดลงเพียงน้อยนิด

นักวิเคราะห์ทั้งหลายก็คิดเหมือนกัน รวมถึงสำนักพลังงานนานาชาติ หรือ International Energy Agency ก็ชี้ว่าปัญหามลพิษทั่วโลกจะลดลง 8% ปีนี้ แปลว่าปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาลดลงไม่มากนัก

มลพิษที่ปล่อยออกมาคร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 6 แสนคนต่อปี และยังทำให้คนตกงานอีกมากมาย

ความจริงแล้วปัญหามลพิษก็น่าจะลดลงต่อเนื่องทุก ๆ ปี แต่ความจริงก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ภายในปีที่แล้ว ทั่วโลกตั้งเป้าว่าจะลดคาร์บอนให้ได้ถึง 92% แล้วตอนนี้คนก็ไม่อยากจะพูดถึง เพราะมัวแต่แก้ปัญหาโรคระบาดใหญ่กันอยู่

สำหรับ บิล เกตส์ แล้ว มองว่าต้นทุนในการลดปัญหาทางมลพิษและสิ่งแวดล้อมนั้นสูงมากทีเดียว

เปรียบเหมือนกับการแก้ไขโควิด-19 ยิ่งใช้เวลานานเท่าไหร่ก็สิ้นเปลืองงบประมาณมากเท่านั้น

ยิ่งมองไปข้างหน้าอีก 40 ปี จะเห็นตัวเลขชัด ๆ ของผู้เสียชีวิต เปรียบเทียบกันระหว่างผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 และจากปัญหาสภาพอากาศจะเท่ากันพอดี คือเสียชีวิต 14 ต่อ 100,000 คน

และภายในสิ้นศตวรรษนี้ อัตราส่วนการเสียชีวิตจากปัญหาสภาพแวดล้อม จะเพิ่มเป็น 73 ต่อ 100,000 คน แต่ถ้ามีการแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ อัตราการเสียชีวิตของคนจะเหลือแค่ 10 ต่อ 100,000 คน

แล้วเราจะทำอย่างไรกันต่อไป หลังจากวิกฤตโรคระบาดสิ้นสุดลง นี่เป็นคำถามที่ใหญ่มากสำหรับคนทั่วโลก

ว่ากันว่าวิถีชีวิตของผู้คนจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ก็คงไม่มากมายนัก ยังคงมีการใช้พลังงานต่อไป การขับรถหรือเดินทางด้วยเครื่องบินก็คงไม่ลดลงไปมากเท่าไหร่

ดังนั้น เราจึงต้องหาวิธีพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรม ขึ้นมาเพื่อรับมือกับปัญหาโลกร้อนให้ได้ เพื่อเป็นการปกป้องและรับผิดชอบคนรุ่นต่อ ๆ ไป

“โลกกำลังต้องการนักชีววิทยา นักเคมี ฟิสิกส์ นักวิทยาศาสตร์การเมือง นักเศรษฐศาสตร์ และวิศวกร เพื่อทำงานเรื่องนี้โดยเฉพาะ” บิล เกตส์ กล่าว

ความท้าทายอีกอย่างคือ ศักยภาพในการรับมือของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่เท่ากัน ประเทศร่ำรวยและประเทศที่ยากจน ย่อมแตกต่างกันตั้งแต่จุดเริ่มต้น เช่นเดียวกับปัญหาโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่

สำหรับตัวบิล เกตส์ เอง เขาก็กำลังลงทุนสร้างเทคโนโลยีสะอาดและพัฒนาโปรแกรมใหม่ ๆ ด้วยความหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ

ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะต้องสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและลงมือลดปัญหาอย่างจริงจังตั้งแต่วันนี้ เพื่อคนรุ่นต่อ ๆ ไป


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.