อยู่กับโควิด – 19 กันมาหลายเดือนแล้ว ภายใต้สถานการณ์ล็อกดาวน์ สิ่งหนึ่งที่คนทั่วโลกปฏิบัติเหมือนกันคือ การสร้างระยะห่างทางสังคม Social Distancing อยู่ห่างกันเพื่อลดโอกาสแพร่หรือรับเชื้อระหว่างกัน ทำให้วิถีชีวิตของแต่ละคนเปลี่ยนไปจากเดิมมาก
วันนี้ passion gen แวะไปเก็บเกี่ยวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปในประเทศต่าง ๆ ที่อาจกลายเป็น New Normal (ความปกติแบบใหม่) แม้ว่าจะยังไม่สามารถค้นพบวัคซีนป้องกันโรคเกิดชนิดนี้ได้ แต่ก็เริ่มชินตากับความปกติใหม่นี้จะนำเราไปสู่ประสบการณ์ใหม่ชีวิตใหม่ จะเป็นอย่างไรบ้าง มาติดตามกันได้เลย
เดนมาร์กเป็นประเทศแรก ๆ ในยุโรป ที่เริ่มประกาศเปิดเมืองมาตั้งแต่ช่วงวัน Easter ที่ผ่านมา เพื่อให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการ ให้พ่อแม่กลับไปทำงานและให้เด็ก ๆ เดินกลับเข้าสู่โรงเรียน โดยในเฟสแรก เปิดให้เด็กอนุบาลและเด็กประถมเดินเข้าห้องเรียนก่อน
อย่างไรก็ตาม การเดินกลับเข้าโรงเรียนรอบนี้ของเด็ก ๆ ก็ไม่เหมือนเดิม เพราะผู้ปกครองไม่ได้รับอนุญาตให้เดินเข้าพื้นที่โรงเรียน นักเรียนต้องเคร่งครัดเรื่องความสะอาด จะมีการเตรียมน้ำยาล้างมือให้เด็ก ๆ ใช้ก่อนเข้าห้องเรียน จำนวนเพื่อน ๆ ในห้องเรียนที่เคยเรียนร่วมกันหนึ่งห้องจะถูกกระจายออกเป็นสองห้องเพื่อลดความแออัด และเด็กทุกคนต้องเตรียมอาหารกลางวัน น้ำดื่ม และอุปกรณ์เครื่องเขียนมาเอง ไม่มีการแบ่ง ยืมกันใช้อย่างที่เคยเป็นมา สำหรับเด็กที่ป่วยให้พักอยู่บ้าน หากมาโรงเรียนและพบว่าป่วยจะส่งกลับบ้านทันที
เด็ก ๆ ยังได้ออกไปวิ่งเล่นได้ในพื้นที่ที่จัดไว้ให้แต่เฉพาะกับเพื่อนในห้องเรียนเดียวกันเท่านั้น ทั้งนี้ ความช่วยเหลือที่คุณครูมีให้กับเด็ก ๆ จะน้อยลง เด็ก ๆ ต้องปรับตัว ต้องคิด และทำด้วยตัวเองมากขึ้น เช่น จะขอให้คุณครูช่วยเปิดขวดน้ำให้อย่างเมื่อก่อนก็ไม่ได้ ต้องทำเอง รวมถึงสร้างสรรค์เกมใหม่ๆ มาเล่นแบบมีระยะห่างต่อกัน
ภายใต้สถานการณ์ล็อกดาวน์ และการปฏิบัติตามมาตรการสร้างระยะห่างทางสังคม การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะเป็นสิ่งที่ผู้คนพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโควิด – 19 ทำให้การเดินทางด้วยจักรยานเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล
ราวกลางเดือนที่ผ่านมา ในกรุงเบอร์ลิน เยอรมัน มีการปรับเลนถนนหลายสายให้เป็นเลนจักรยาน แนวคิดดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจมาจากเมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย ที่เพิ่มพื้นที่เลนจักรยานชั่วคราวเป็นระยะทางถึง 47 ไมล์ โดยผู้ว่าการเมือง โบโกตา Claudia Lopez บอกว่า จักรยานคือรูปแบบการเดินทางส่วนบุคคลที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราป้องกันเชื้อไวรัสจากการสัมผัสกันในที่ชุมชน
นอกจากเยอรมันแล้ว ที่สหรัฐ เช่น ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย และเมืองวินนิเพก แคนาดา ก็มีการพิจารณาจัดทำเลนจักรยานส่งเสริมการเดินทางส่วนบุคคลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดีต่อสุขภาพ และลดภาระระบบขนส่งสาธารณะรวมถึงลดโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโควิด – 19
ไวรัสโคโรนา ทำให้โรงภาพยนตร์ต้องปิดให้บริการ ในช่วงแรกของการล็อกดาวน์ หลายคนอาจสนุกกับการอยู่บ้าน ดูหนัง หรือรายการต่าง ๆ ผ่าน streaming programs แต่จะให้ดูแบบนั้นทุก ๆ วัน ย่อมเกิดความเบื่อหน่าย และนี่ทำให้ Drive-in Theater กลายเป็นทางเลือกที่ดีเพียงหนึ่งเดียวที่เหลืออยู่ให้ผู้คนได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านสร้างความบันเทิงใจให้ตนเองได้
Showboat Drive-in Theater ในเมือง Hockley รัฐเท็กซัส ที่ปกติจะขายตั๋วได้น้อยลงราว 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วงวันหยุดเพราะไม่มีภาพยนตร์เรื่องใหม่เข้าฉาย กลับมียอดขายบัตรดีขึ้นถึง 40 เปอร์เซ็นต์
ทั่วสหรัฐฯ มีโรงภาพยนตร์ประเภท Drive-in เปิดให้บริการราว 3 ร้อยแห่ง เทียบไม่ได้กับจำนวนโรงภาพยนตร์ในร่มที่มีมากถึง 5 พันแห่ง และที่ผ่านมา ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ประเภท Drive-in ต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาธุรกิจให้อยู่รอด
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้หลายพื้นที่ในสหรัฐออกข้อกำหนดห้ามการเดินทางและการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่ปิด จึงกลายเป็นโอกาสธุรกิจสำหรับโรงภาพยนตร์ Drive-in
Forrest และ Eric McBride มองว่าโรงภาพยนตร์ Drive-in เป็นเพียงหนทางเดียวที่จะทำให้พวกเขาสามารถขับรถออกจากบ้านมาฉลองวันครบรอบแต่งงาน “ดูหนังด้วยกันภายใต้หลังคารถ” แบบยังรักษาระยะห่างทางสังคมจากผู้อื่นได้
ในช่วงที่อู่ฮั่นปิดเมือง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้คนยังดำเนินชีวิตอยู่ได้ คือ ความคุ้นเคยกับวิถีชีวิตดิจิตัล ระบบซื้อขายออนไลน์และบริการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์คือรูปแบบการสื่อสารเดียวที่ชาวเมืองทำได้ ชาวเมืองพากันส่งคำสั่งซื้อสินค้า ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ของใช้จำเป็น และอื่น ๆ ไปยังเกษตรกร ร้านขายของขนาดเล็ก หรือซุเปอร์มาร์เก็ตผ่านช่องทางออนไลน์ จากนั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐประจำชุมชน จะทำหน้าที่กระจายสินค้าที่ได้รับจากพนักงานส่งสินค้าไปยังบ้านเรือนประชาชนต่อไป
Mark Greevan ศาสตราจารย์ด้านนวัตกรรมและกลยุทธ์ แห่ง IMD Business School กรุงโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์บอกว่า วิกฤตครั้งนี้ยังทำให้ระบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้ทดสอบเรื่องความว่องไวและความสามารถในการจัดการในช่วงที่ความต้องการใช้บริการพุ่งสูง
JD.com อีคอมเมิร์ชรายใหญ่ ได้รายงานว่า ความต้องการด้านอีคอมเมิร์ซและบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านพุ่งขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดเชื้อโควิด – 19 โดยตั้งแต่ 20 มกราคม ถึง 28 กุมภาพันธ์ มียอดขายสินค้าราว 220 ล้านชิ้น ส่วนใหญ่เป็นข้าวและผลิตภัณฑ์จากนม ขณะที่คำสั่งซื้อเนื้อวัวเพิ่มขึ้น 3 เท่า และเนื้อไก่เพิ่ม 4 เท่า เทียบกับปีก่อนหน้า
บริการจัดส่งสินค้าบูมมาก ทำให้เกิดการขาดแคลนพนักงาน และต้อง “ยืมแรงงาน” จากธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นเข้ามาทำหน้าที่แทน เช่น ยืมตัวพ่อครัวจากภัตตาคารมาทำหน้าที่พนักงานจัดส่งสินค้า เป็นต้น
แม้เปิดเมืองแล้ว แต่หลายอย่างที่ปฏิบัติกันก็ยังคงอยู่ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ แม้ว่าประเภทสินค้าเปลี่ยนไปจากอาหาร เป็นเสื้อผ้าหรือเครื่องสำอางมากขึ้น หรือการกลับไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคาร พนักงานก็จะใส่ใจความสะอาด และหากลยุทธ์ทำให้ลูกค้าผูกพันกลับมาใช้บริการมากขึ้นผ่านแคมเปญโปรโมชั่นต่าง ๆ
วิกฤตโควิด – 19 ทำให้หลายๆ คนหันมาสนใจทำสวน – ปลูกผักด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป บางคนปลูกเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้ตนเอง บางคนทำเพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อจากการออกไปจับจ่ายนอกบ้าน บ้างก็เพื่อให้การทำสวน – ปลูกผัก เป็นกิจกรรมยามว่าง ขณะกักตัว และมีอะไรทำร่วมกันกับคนในครอบครัว หรือเป็นโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ออกมาเล่นกลางแจ้งอยู่ห่างจากคอมพ์ และมือถือบ้างในช่วงปิดเทอม
Melanie Pittman คุณครูที่อาศัยอยู่ในบ้านพักพร้อมเนื้อที่กว่า 5 เอเคอร์ในรัฐอิลลินอยด์ สหรัฐอเมริกา ลงมือปลูกผักมากกว่าเดิม ทั้งข้าวโพด ถั่ว มะเขือเทศ มันฝรั่ง หอมใหญ่ รวมถึงเพาะเห็ดไว้กินเองด้วย นอกจากนี้ เธอยังรวมกลุ่มกับคนในชุมชน แบ่งหน้าที่กันปลูกพืชผัก แล้วนำผลผลิตที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันรับประทาน
ภายใต้สถานการณ์ล็อกดาวน์ ความต้องการเมล็ดพันธุ์เพิ่มสูงขึ้น บริษัทจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในสหรัฐ อย่าง W.Atlee Burpee & Co สามารถจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ได้มากเป็นประวัติการณ์ในรอบ 144 ปีนับจากก่อตั้ง ที่รัสเซียยอดสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์กุหลาบผ่านเว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์ Ozen เดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นประมาณ 20-30 เปอร์เซนต์เทียบกับปีก่อน
ขณะที่ในอังกฤษ กลุ่มคนที่ใฝ่ผันอยากเป็นเกษตรกรแต่หาซื้อเมล็ดพันธุ์ไม่ได้ ถึงขนาดเสิร์ชหาวิธีเพาะมะเขือเทศหรือผักผลไม้ต่าง ๆ ที่ซื้อมาจากซุเปอร์มาร์เก็ตบนอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
อ้างอิง
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.