Categories: SUSTAIN

แก้ไขปัญหาความหลายหลายทางชีวภาพ โดยใช้บทเรียนจากการรับมือไวรัสโควิด-19

5 / 5 ( 2 votes )

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เผยให้เห็นจุดอ่อนของสังคมมนุษย์ทั่วโลก ในด้านของระบบสุขภาพ ความไม่เท่าเทียมทางสังคม   บุคลากร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในหลายพื้นที่ของโลกกำลังขาดแคลน เพราะมีจำนวนผู้ป่วยมากเกินขีดความสามารถของระบบสาธารณะสุข และความสามารถในการผลิต ประชากรกลุ่มที่มีฐานะสามารถเข้าถึงการรักษา สามารถหาซื้อสิ่งของจำเป็นต่างๆ   และหยุดงานอยู่บ้านได้เป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน แต่ในทางกลับกัน ประชากรกลุ่มที่มีรายได้น้อย หรือผู้ที่ต้องหาเช้ากินค่ำกลับต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ครั้งนี้อย่างยากลำบาก และขาดความช่วยเหลือที่จำเป็น

สถานการณ์ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซับซ้อน และไม่สามารถคาดเดาได้ จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างทวีคูณ (Exponential growth) ทั่วโลก  การตัดสินใจ และการลงมือปฏิบัติที่ว่องไว และชาญฉลาด ของผู้มีอำนาจ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมสถานการณ์   โดยจะเห็นได้ว่าประเทศที่สามารถดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างว่องไวและมีความสามารถในการตรวจคัดแยกผู้ติดเชื้อออกมาได้อย่างรวดเร็ว  จะมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อน้อยกว่าประเทศอื่นๆ

นางเจไมสัน เออวิน (Jamison Ervin) เจ้าหน้าที่จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้เสนอให้ทุกฝ่ายนำบทเรียนและหลักการในการรับมือโควิด-19 ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)

1.สร้างความมั่งคงให้กับสังคมโลก ด้วยการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศทางธรรมชาติ

ธรรมชาติและระบบเศรษฐกิจของโลกมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก ตัวอย่างเช่น หากสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ผสมเกสรดอกไม้หายไป พืชที่มนุษย์ปลูกเพื่อการบริโภคและการพาณิชย์ราว 35% ก็จะหายตามไปด้วยเช่นกัน โดยในปัจจุบัน สัตว์และพืช จำนวนมากกว่า 1 ล้านสายพันธุ์กำลังเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ พวกเราจึงต้องเร่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ระบบนิเวศทางธรรมชาติตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดแคลนอาหารขึ้นในอนาคต

2.หาวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในแก้ไขปัญหา

พวกเราจำเป็นต้องหาวิธีการประสิทธิภาพในการอนุรักษ์ธรรมชาติและการพัฒนาทางสังคม ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีก็คือ การร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมการทำ วนเกษตร (Agroforestry) หรือการใช้ที่ดินปลูกไม้ยืนต้น พืชเศรษฐกิจและการทำปศุสัตว์อย่างผสมผสานกัน  การทำเกษตรกรรมแบบฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) หรือการทำเกษตรอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลูกพืชแล้วสามารถฟื้นฟูให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิมได้) และการฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน  (Mangrove restoration) เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถช่วย บรรเทาปัญหาด้านความหลายหลายทางชีวภาพ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นการช่วยปกป้องกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยมากกว่า 2 พันล้านคน ซึ่งต้องพึ่งพาธรรมชาติในการดำรงชีวิต และประกอบอาชีพ

3.เริ่มลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้

เช่นเดียวกับการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19   การแก้ไขวิกฤติความหลายหลายทางชีวภาพ ต้องดำเนินการอย่างชาญฉลาด รวดเร็ว และมีหลักการ โดยทำการศึกษาข้อมูลล่าสุดทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทำการการตัดสินใจที่ดีที่สุด รวมถึงต้องเร่งดำเนินการก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้

4.สร้างแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูธรรมชาติ

ทุกประเทศต้องร่วมมือกันคิดแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกที่ครอบคลุมทุกด้าน และมีการผสานงานกันของทุกภาคส่วน เพื่อแก้ไขวิกฤติความหลายหลายทางชีวภาพ ซึ่งร่างกรอบความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 (Global Biodiversity Framework post-2020) นั้นยังไม่ดีพอที่จะหยุดการลดลงความหลากหลายทางชีวภาพ ตอนนี้จึงถึงเวลาแล้วที่พวกเราต้องสร้างแผนยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูธรรมชาติฉบับใหม่ ที่มียกระดับการปกป้อง การฟื้นฟู และการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และเพียงพอ โดยยึดถือธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญ

หากพวกเราไม่สามารถทำได้ตามนี้ ในอนาคต โลกของเราก็จะค่อยๆมุ่งหน้าไปสู่วิกฤติการณ์ที่จะคุกคามมนุษย์ชาติอย่างรุนแรงยิ่งกว่าเชื้อโควิด-19

 

…………..

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.undp.org/content/undp/en/home/blog/2020/applying-the-hard-lessons-of-coronavirus-to-the-biodiversity-cri.html

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.