Categories: SUSTAIN

“ประเทศของผมกำลังจะจมทะเล”

นี่ไม่ใช่บทสนทนาในภาพยนต์แอคชั่นหรือดรามาใด ๆ แต่นี่คือคำเตือนจากประธานาธิบดี David Kabua แห่งมาร์แชลล์ ประเทศที่เป็นหมู่เกาะตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก

สิ่งที่ผู้นำประเทศนี้กำลังตะโกนบอกให้โลกรู้ คือ  ประเทศเขากำลังประสบปัญหาใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

“โลกกำลังร้อนขึ้นทุกวัน น้ำทะเลเริ่มสูงขึ้น ประเทศของเราอาจจะเป็นประเทศแรกที่ถูกคลื่นถาโถมใส่และพัดจมหายไปในทะเล”

ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศที่เป็นเกาะเล็กเกาะน้อย และปริ่มอยู่เหนือพื้นน้ำแค่ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะจมลงเมื่อเจอปัญหาน้ำทะเลเอ่อสูงขึ้น

ในอดีต การเดินทางจากเกาะหนึ่งไปอีกเกาะหนึ่ง แค่ใช้เรือแคนูพายไปก็ได้แล้ว แต่ตอนนี้ทำแบบนั้นไม่ได้เพราะระดับน้ำสูงขึ้น

นอกจากกำลังประสบปัญหาเรื่องโลกร้อนอยู่ในขณะนี้ ประเทศซึ่งถูกห้อมล้อมด้วยมหาสมุทรก็กำลังเผชิญวิกฤติโควิด-19 อีก ถึงขั้นต้องปิดประเทศ ทั้ง ๆ ที่ความเสี่ยงน่าจะน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีชายแดนทางบกติดต่อกัน

“เราปิดประเทศก็จริง แต่ค่าใช้จ่ายและต้นทุนต่าง ๆ สูงมาก”

จากคำพูดของ David Kabua สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศนี้กำลังประสบภัยใหญ่หลวง และกำลังยืนอยู่บนความเสี่ยงที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

แม้แต่อาชีพประมงซึ่งเป็นเสาหลักในการหารายได้ให้กับประเทศ ก็อยู่ในภาวะยากลำบากไม่น้อย

เป็นที่น่าสังเกตว่า ประธานาธิบดีผู้นี้กำลังส่งเสียงเรียกร้องไปยังองค์การสหประชาชาติ ให้หันมาใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม และหาทางรับมือก่อนที่จะวิกฤติไปกว่านี้

สิ่งที่ผู้คนจากหมู่เกาะอันสวยงามแห่งนี้ต้องการคือ การรับประกันจากองค์การสหประชาชาติว่าจะช่วยแก้ปัญหานี้ อาจจะเป็นการเปิดรับบริจาคเงินเข้าไปช่วยเหลือ หรือวิธีการอื่นใดก็แล้วแต่เหมาะสม

ความจริงแล้ว ไม่ใช่แค่หมู่เกาะมาร์แชลล์เท่านั้นที่กำลังเผชิญปัญหานื้ ยังมีประเทศต่าง ๆ อีก 43 ประเทศ ที่กำลังเผชิญชะตากรรมเดียวกัน

รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ กำลังจับตาดูการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เพราะแม้อุณหภูมิสูงขึ้นเพียงน้อยนิด แต่วิกฤติใหญ่ก็สามารถเกิดขึ้นได้

ก่อนหน้านี้ ในช่วงต้นปี 2562 หมู่เกาะมาร์แชลล์ได้ประกาศว่ามีความจำเป็นที่จะต้อง “ยกเกาะ” ของตัวเองให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้จมหายไปในมหาสมุทร

ตามแผนการดังกล่าว รัฐบาลจะยกเป็นนโยบายระดับชาติ และดูว่ามีเกาะใดบ้างจากทั้งหมด 1,156 เกาะที่พอจะยกพื้นดินให้สูงขึ้นได้

แม้ว่าปฏิบัติการครั้งนี้จะเป็นการแทรกแซงธรรมชาติครั้งใหญ่ก็ตาม แต่เพื่อความอยู่รอดก็จำเป็น ทั้งนี้ ก็ต้องได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ด้วย

อย่างไรก็ตาม หมู่เกาะมาร์แชลล์กำลังเกาะติดโครงการถมทะเล หรือการสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลของประเทศอื่นอยู่ อย่างเช่น มัลดีฟส์ ว่าจะได้ผลมากน้อยเพียงใด เพราะหากมีทางเลือกอื่นก็ถือว่ามีโอกาสรอดได้มากขึ้น


Source: https://www.theguardian.com/world/2020/sep/21/the-climate-crisis-will-sweep-away-my-country-if-the-world-doesnt-keep-its-promises

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.