Categories: SUSTAIN

“Upcycling” นวัตกรรมเปลี่ยนขยะให้เป็นสิ่งมีค่า

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ประเทศไทยของเรา มีการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลสูงติดอันดับโลก คืออยู่ลำดับที่ 6 จาก 192 ประเทศ คืออยู่ที่ปีละ 1.03 ล้านตัน

จากขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงสู่ท้องทะเลและมหาสมุทรจากทั่วโลก 8 ล้านตันในแต่ละปี ซึ่งนับเป็นสถิติที่เราคนไทยไม่ภูมิใจนัก และหากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง คาดการณ์ว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือ ราวปี 2593 ปริมาณขยะในทะเลจะมีมากกว่าปลาทะเลเสียอีก

มาถึงตรงนี้ หลายคนกำลังคิดว่า แล้ว…. จะมีวิธีไหนที่จะช่วยลดขยะพลาสติกปริมาณมหาศาลที่ถูกทิ้งตามกองขยะ หรือลอยคว้างอยู่ในทะเลได้บ้าง

หนึ่งในเทรนด์ที่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกำลังให้ความสนใจอยู่ นั่นก็คือ การนำขยะพลาสติกเหล่านั้นไป เพิ่มมูลค่าแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ “Upcycling” นั่นเอง

Upcycling : จับขยะใส่นวัตกรรม

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) กล่าวว่า การ Upcycling เป็นส่วนหนึ่งของการ Recycle เพียงแต่การ Recycle ส่วนใหญ่คุณภาพจะด้อยลง แต่การ Upcycling คือการนำขยะกลับมาทำใหม่ โดยใส่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไป ทำให้ขยะกลายร่างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพดีขึ้น ราคาสูงขึ้น สวยขึ้น โดนใจคนมากขึ้น และช่วยทำให้ Carbon Footprint ของชิ้นงานนั้นๆ ต่ำลงได้ด้วย

“เมื่อก่อน หลายคนตั้งคำถามว่า ทำ Upcycling ไปทำไม ทำไมไม่ไปลดที่ขยะต้นน้ำ แต่ปัจจุบัน ปัญหาขยะปลายน้ำมันเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่สร้างปัญหาไปทั่วโลก เพราะฉะนั้น การหยุดใช้พลาสติกวิธีเดียวไม่ได้ผลแล้ว  เราต้องทำควบคู่กันไป คือการนำขยะที่ถูกทิ้งแล้ว มา Upcycling”

ปัจจุบัน ทีมวิจัย RISC ได้มีการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ Upcycling ที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริงออกมามากมาย ล่าสุด ได้ร่วมมือกับพันธมิตรคือ บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผลิต “พรมทอมือที่ทำจากขยะขวดพลาสติกจากท้องทะเล” จากฝีมือการออกแบบและทอจากคนไทยเป็นครั้งแรกของโลก และนำมาเปิดตัวในงาน UPCYCLING FOR A BETTER WORLD 2019

พรมจากขยะขวดพลาสติกฝีมือคนไทยเตรียมโกอินเตอร์

สุนทร ไกรตระกูล ประธานกรรมการบริษัท บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า คาร์เปท เมกเกอร์ เป็นบริษัทผลิตพรมคุณภาพสูงที่ส่งให้กับบริษัทและแบรนด์แฟชั่นชั้นนำทั่วโลก โดยความร่วมมือกับ RISC  ผลิตพรมทอมือจากขยะขวดพลาสติก มาจากการที่ได้พูดคุยกับ ดร.สิงห์ และพบว่ามีเป้าหมายเดียวกัน คือ ต้องการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนสิ่งที่เป็นปัญหา อย่าง ขยะพลาสติก ให้กลายมาเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าสูงขึ้น จึงตัดสินใจร่วมมือกัน คิดค้นและพัฒนาพรมทอมือที่ทำจากเส้นใยแปรรูปขยะขวดพลาสติกจากทะเลขึ้น

“ฝ่าย R&D และฝ่ายออกแบบที่บริษัทฯ ทุกคน มีความรู้สึกว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมาก ทุกคนทุ่มเทกันอย่างเต็มที่ และดีใจที่เห็นว่าสิ่งที่ออกมา มันเกินความคาดหมาย พรมที่ออกมาสวยมาก และมีคุณภาพดีกว่าพรมทั่วไปในท้องตลาด คือ นุ่ม ทำความสะอาดง่าย ปราศจากเชื้อราและกันไฟในระดับมาตรฐานสากล โดยพรมที่นำมาจัดแสดงในงาน ขนาด 2 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน ช่วยลดขยะขวดพลาสติกจากท้องทะเลได้ถึง 1,150 ขวด”

สุนทรกล่าวว่า เขามีความมุ่งมั่นที่จะทำตลาดพรมทอมือจากขยะขวดพลาสติกอย่างจริงจัง โดยเร็วๆ นี้จะนำไปโชว์ในงานแฟร์ที่ประเทศอังกฤษ เพื่อไปประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วโลกได้ทราบว่า เราสามารถนำขยะขวดพลาสติกมาผลิตเป็นพรมทอมือได้แล้ว และมีคุณภาพดีไม่แพ้พรมที่ทำจากเส้นใยอื่นๆ โดยตั้งเป้าลดจำนวนขยะขวดพลาสติกให้ได้ 100 ล้านขวดต่อปี

“ตอนนี้ทั่วโลกตื่นตัวกับปัญหาขยะพลาสติกกันมากขึ้น ผมเชื่อว่าการที่ทุกฝ่ายหันมาให้ความร่วมมือกัน ทุกอย่างจะมีการเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก การที่ขยะเยอะ มันคือปัญหา แต่ถ้าเราให้ความสำคัญและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ขยะก็จะมีประโยชน์และไม่สร้างปัญหา เพียงแค่ทุกคนช่วยกันคนละไม้คนละมือ”

ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มที่การให้ความรู้

อเล็กซ์ เรนเดล นักแสดงและผู้ก่อตั้ง ENVIRONMENTAL ECUCATION CENTRE THAILAND หรือ EEC Thailand กล่าวว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังส่งผลกระทบต่อโลกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่า ไม่มีใครอยากทำให้โลกแย่ลง แต่เป็นเพราะเขาเหล่านั้นไม่รู้ว่า สิ่งที่เขาทำร้ายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในวันนี้ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจมันจะส่งผลร้ายให้กับโลกในอนาคต

อเล็กซ์ เรนเดล

“Environment Education Centre หรือ EEC เป็นองค์กรสิ่งแวดล้อมศึกษาที่สอนเยาวชนให้มาช่วยกันพัฒนา ช่วยยกคุณภาพ ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมและดูแลทรัพยากรของเรา ซึ่งทาง EEC มีความพร้อมที่จะสร้างตรงนี้ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นกับเยาวชนกลุ่มไหน ก็ต้องมีส่วนร่วมและต้องได้รับรู้ถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ที่เขายังเด็ก เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมหลักๆ มาจากการที่หลายคนยังขาดความเข้าใจ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ การให้ความรู้ที่ถูกต้อง”

ปัจจุบัน EEC Thailand มีอายุย่างเข้าสู่ปีที่ 5 มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น พาเด็กๆ ไปดำน้ำ เพื่อให้เห็นความงามของโลกใต้ทะเล ในขณะเดียวกัน ก็จะได้พบกับขยะปริมาณมหาศาลที่ถูกทิ้งลงทะเล ทำให้เด็กๆ ได้สัมผัสประสบการณ์จริง เกิดความรักและเข้าใจ และพร้อมจะปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยอเล็กซ์บอกว่า มีเยาวชนที่ผ่านการอบรมจาก EEC Thailand แล้ว ไม่ต่ำกว่า 4,000 คน

 

สำหรับผู้สนใจเรียนรู้และชมผลงานการ Upcycling จากการวิจัยและพัฒนาของศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) สามารถชมได้ในงาน UPCYCLING FOR A BETTER WORLD 2019 ณ เฮลิกซ์ การ์เด้นท์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ระหว่างวันนี้ – 19 กันยายนนี้

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.