ยุคปัจจุบัน มีคำถามยอดฮิตของคนจำนวนมากว่า ระบบทุนนิยมจะเดินหน้าอย่างไรในโลกอนาคต “การแข่งขัน” จะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนทุนนิยมต่อไปได้อีกหรือไม่ ในเมื่อธุรกิจทั่วโลกของวันนี้ มีแต่การผูกขาดในเกือบทุกอุตสาหกรรม จนแทบจะไม่มีการแข่งขันซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของทุนนิยมเหลืออยู่
ที่สำคัญคือ ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มนุษย์เคยนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรม ก็ดูจะอยู่ในสภาวะเสี่ยงจนน่าวิตก
การที่ภาคธุรกิจโดยเฉพาะ “ยักษ์ใหญ่” แสดงความใส่ใจต่ออนาคตที่ดีกว่าของสังคมและโลก จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น
แม้การใส่ใจนี้ จะไม่ได้ตอบคำถามเรื่องอนาคตทุนนิยม และผู้คนต่างยังคงถกเถียงโดยไม่มีข้อสรุปว่า ควรปฏิรูปทุนนิยมอย่างไรให้ดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ
การใส่ใจดังกล่าว ก็เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย
เรื่องนี้ องค์การระหว่างประเทศอย่าง องค์การสหประชาชาติ (United Nations –UN) ให้ความสำคัญเช่นกัน โดยโคฟี แอนนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติลำดับที่ 7 ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 1997 -2006 ได้ประกาศจัดตั้งโกลบอล คอมแพ็ก แห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นโกลบอล คอมแพ็ก (The United Nations Global Compact) ในการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี ค.ศ.1999
เพื่อสนับสนุนองค์กรทุกภาคส่วน โดยเฉพาะองค์กรเอกชน ให้ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ สอดคล้องกับค่านิยมขององค์การสหประชาชาติ หรืออีกนัยคือ หลัก 10 ประการของ UN Global Compact ที่ครอบคลุม 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และ การต่อต้านการทุจริต
เป้าหมายสำคัญของยูเอ็น โกลบอล คอมแพ็ก คือ ความยั่งยืนอย่างแท้จริงของเศรษฐกิจโลก ที่ทุกคน ทุกฝ่าย จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบัน โกลบอลคอมแพ็กสหประชาชาติ มีสมาชิกประมาณ 130,000 บริษัท จากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก โดยในจำนวนนี้ เป็นสมาชิกจากประเทศไทย 40 บริษัท
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นนายกสมาคมฯ จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2017 เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี่เอง ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
โดยมี บัน กี มูน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ คนถัดจากโคฟี แอนนัน ผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็คทั่วโลก รับเชิญมาเป็นประธาน
ในคำกล่าวปาฐกถาของบัน กี มูน เขายืนยันว่า หลักการสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต เป็นเรื่องสำคัญมากที่องค์กรเอกชนในเครือข่ายต้องร่วมกันผลักดันและปฏิบัติให้เป็นจริง
เขาย้ำว่า ยินดีที่ได้เห็นผู้นำจากองค์กรชั้นนำของภาคเอกชนไทยจำนวนมาก มารวมตัวกันเพื่อสร้างเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กในประเทศไทย และร่วมกันรับภาระอันยิ่งใหญ่ที่สอดคล้องกับแนวทางการทำงานขององค์การสหประชาชาติ ทุกวันนี้ โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ทำให้เกิดความไม่มั่นคงและความเสี่ยงหลายประการ แต่ความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา ช่วยให้เราสามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน
ส่วน ศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า Partnerships คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้การขับเคลื่อนภารกิจเพื่อความยั่งยืนของ เครือข่ายฯ ภายใต้ร่มองค์การสหประชาชาติประสบความสำเร็จ
สำหรับการดำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ คือเน้นการส่งเสริมภาคเอกชนให้ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ภายใต้เป้าหมายหลัก 4 ด้านของโกลบอลคอมแพ็ก ผ่านการจัดฝึกอบรมและการจัดสัมมนาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่จะยกระดับการทำธุรกิจอันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ส่วนประเด็นเร่งด่วนของประเทศไทยที่สมาคมฯ กำลังเร่งดำเนินการ คือเรื่องสิทธิมนุษยชนในหลากหลายมิติ ตั้งแต่แรงงานเด็ก ไปจนถึงแรงงานต่างชาติ แรงงานสตรี สวัสดิการ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศ และความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศ
สมาคมฯ ตั้งเป้าหมายจะเพิ่มสมาชิกให้ครบ 100 องค์กร ภายในสิ้นปี ค.ศ.2019
ภาพขององค์กรธุรกิจเอกชนยุคใหม่ ที่ก้าวไปพร้อมเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็กในโลกยุคใหม่ ไม่ใช่ภาพนายทุนเห็นแก่ตัวที่คิดถึงแต่ผลกำไรสูงสุดของตนอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นภาพองค์กรธุรกิจน้อยใหญ่ในเครือข่ายระดับโลกที่กำลังพัฒนาธุรกิจของตนไปพร้อมๆ กับร่วมพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้นสำหรับทุกคน
สังคมที่คนส่วนใหญ่กินอิ่ม นอนอุ่น มีคุณภาพชีวิตดี มีศักดิ์ศรีมนุษย์ มีงานทำโดยได้รับค่าแรงเหมาะสม มีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจ และมีความสุขตามควร ย่อมเป็นสังคมที่ดีสำหรับการประกอบธุรกิจเช่นกัน
นี่คือเทรนด์โลกที่กำลังเติบโต
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.