ที่แย่กว่านั้น คือ ผลการศึกษาและสำรวจของ องค์การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (National Environment Management Authority – NEMA) ยังพบว่าปศุสัตว์ (เช่น วัว) มากกว่าครึ่งที่อาศัยในเขตตัวเมือง มีเศษถุงพลาสติกอยู่ในกระเพาะอาหาร
หลังจากหลายปีของความพยายามแก้ปัญหา เมื่อ 2 ปีก่อน รัฐบาลของเคนย่าก็ประสบความสำเร็จในการประกาศใช้กฏหมายห้ามผลิต จำหน่าย และใช้ถุงพลาสติกแบบหูหิ้ว แม้จะถูกต่อต้านอย่างหนักจากฝั่งผู้เสียผลประโยชน์
กฎหมายแบนถุงพลาสติกของเคนย่า มีความเข้มงวดมากๆ เจ้าหน้าที่เอาจริงไม่มีผ่อนผัน และโทษของผู้ฝ่าฝืนผลิต หรือ ลักลอบนำเข้า หรือจัดจำหน่ายถุงพลาสติกแบบหูหิ้ว คือ
ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐของเคนย่าจับ และปรับผู้ฝ่าฝืนหลายครั้ง โดยการลงโทษรุนแรงที่สุด คือ สั่งจำคุกผู้ลักลอบผลิตรายหนึ่งเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยไม่ให้ใช้สิทธิ์เลือกจ่ายเป็นค่าปรับ
รัฐบาลเคนย่าอ้างว่า ความเอาจริงเอาจังของรัฐบาลนี้เอง ที่ทำให้ปัจจุบัน ชาวเคนย่ามากกว่า 80 % เลิกใช้ถุงพลาสติกแบบหูหิ้ว ขยะถุงพลาสติกบนท้องถนนเริ่มหายไป และการสำรวจล่าสุดเมื่อปีนี้ของ NEMA ก็พบถุงพลาสติกในกระเพาะอาหารของสัตว์น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
นั่นคือ หลังจากประกาศแบนถุงพลาสติกที่ผลิตจาก พอลิเอทีลีน (Polythene) ผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนนำมาใช้แทนคือถุงพลาสติกซึ่งผลิตจาก พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) ซึ่งมีความหนาและทนทานมากกว่า สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
แต่กลับเป็นว่า ปัจจุบันผู้ผลิตถุงพอลิโพรพิลีน ได้เริ่มลดคุณภาพของถุง โดยเพิ่มสัดส่วนของพอลิเอทิลีนเข้าไปมากขึ้น เพราะการขาดแคลนวัสดุสำหรับการผลิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพการนำกลับมาใช้ซ้ำของถุงพอลิโพรพีลีน ลดลงไป ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลเคนย่า จึงประกาศแบนถุงแบบพอลิโพรพีลีนไปด้วย จนกว่าจะมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอย่างชัดเจน
สมาคมอุตสาหกรรมแห่งเคนย่า (Kenya Association of Manufacturers: Kam) เผยว่าการแบนถุงพลาสติกทำให้ประเทศสูญเสียตำแหน่งงานเป็นจำนวนมาก เพราะบริษัทผู้ผลิตถุงพลาสติกบางรายต้องปิดกิจการ และบางรายก็ต้องย้ายธุรกิจออกไปนอกประเทศ
แต่มองอีกด้าน การแบนถุงพลาสติกก็สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมาเช่นกัน เมื่อผู้ผลิตถุงพลาสติกที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ ได้เริ่มเปิดสายการผลิตถุงจากวัสดุประเภทอื่นๆ เช่น ถุงผ้า (Fabric) ถุงผ้าไม่ทอ หรือ นอนวูฟเวน (Nonwoven) ถุงจากเยื่อกระดาษ (pulp paper) เป็นต้น แต่คุณภาพของถุงเหล่านี้ยังค่อนข้างต่ำเนื่องจากปริมาณของวัสดุที่ใช้ผลิตภายในประเทศมีอยู่น้อย
แปล และเรียบเรียงจาก bbc
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.