Categories: SUSTAIN

30 เมืองใหญ่ทั่วโลก พ้นวิกฤต “ปล่อยก๊าซเรือนกระจก” แล้ว

กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกะทิของโลกเคยคำนวณว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกต้องผ่านจุดสูงสุด ภายในปี ค.ศ. 2020  เพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

 

ข่าวดีคือ รายงานล่าสุดที่นำเสนอในที่ ประชุมนายกเทศมนตรีโลก 2019 (C40 World Mayors Summit 2019)  ที่โคเปนเฮแกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ระบุว่า ปัจจุบัน 30  เมืองใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งมีประชากรรวมกว่า 58  ล้านคน ได้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวแล้ว

 

30  เมืองดังกล่าว ได้แก่ ออสติน, บอสตัน, ชิคาโก, ลอสแอนเจลิส, นิวออร์ลีนส์, นิวยอร์กซิตี, ฟิลาเดลเฟีย, พอร์ตแลนด์, ซานฟรานซิสโก, วอชิงตัน ดี.ซี. (ประเทศสหรัฐอเมริกา),  เอเธนส์ (ประเทศกรีซ),  บาร์เซโลนา, มาดริด (ประเทศสเปน), เบอร์ลิน, ไฮเดิลแบร์ค (ประเทศเยอรมนี), โคเปนเฮเกน (ประเทศเดนมาร์ก),  ลิสบอน (ประเทศโปรตุเกส),  ลอนดอน (ประเทศอังกฤษ), เมลเบิร์น, ซิดนีย์ (ประเทศออสเตรเลีย), มิลาน, โรม, เวนิส (ประเทศอิตาลี),  มอนทรีออล, โตรอนโต, แวนคูเวอร์ (ประเทศแคนาดา), ออสโล (ประเทศนอร์เวย์), ปารีส (ประเทศฝรั่งเศส), สตอกโฮล์ม (ประเทศสวีเดน) และวอร์ซอ (ประเทศโปแลนด์)

การที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มเมืองขนาดใหญ่ และทรงอิทธิพลสูงสุด ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างรวดเร็ว และเสมอภาค (equitable) นั้น สามารถทำได้และกำลังเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งการวิเคราะห์ของเครือข่าย C40 แสดงให้เห็นว่า หลังจากผ่านจุดสูงสุด ทั้ง 30  เมืองดังกล่าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำลง 22 % โดยเฉลี่ย

สำหรับเมืองโคเปนเฮเกนซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุม C40 ปีนี้ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงไปได้มากถึง 61%

ปัจจุบัน กว่าครึ่งของเมืองที่เป็นสมาชิก C40 ได้ไปถึงจุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดแล้ว ส่วนที่เหลือก็คาดว่าจะประสบความสำเร็จภายในปี ค.ศ. 2020  และบางส่วนก็แสดงความมุ่งมั่นว่าจะต้องบรรุลุเป้าหมายให้ได้  แม้ขณะนี้อุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นอยู่ แต่เมืองในเครือข่าย C40 จะรับบทเป็นผู้นำพาเมืองอื่นๆ ไปสู่เป้าหมายที่ทั่วโลกต้องร่วมกันทำให้สำเร็จ

ในที่ประชุม นายกเทศมนตรีทั่วโลกยืนยันว่า พวกเขาตระหนักถึงผลประโยชน์ปริมาณมหาศาลทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่จะได้จากการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ  (Climate Action) โดยในทศวรรษที่ผ่านมา เมืองในเครือข่าย C40 ได้เร่งดำเนินการสิ่งที่จำเป็นเพื่อสร้างชุมชนที่มีความแข็งแกร่งขึ้น สะอาดขึ้น และเจริญรุ่งเรืองขึ้น

ตัวอย่างการดำเนินงานเด่นๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  เช่น

  • ปัจจุบัน เมืองในเครือข่ายC40 รวม 82  เมือง มีโครงการจักรยานให้เช่า  ขณะที่ในปี ค.ศ. 2009 มีเพียง 13  เมือง
  • ปัจจุบัน มีรถประจำทางไฟฟ้ามากกว่า 66,000 คันวิ่งอยู่ในเมืองของเครือข่าย C40 ขณะที่ในปี ค.ศ. 2009  มีจำนวนรถประจำทางไฟฟ้าไม่ถึงร้อยคัน
  • ปัจจุบัน มีเมืองในเครือข่าย C40 รวม 24 เมือง ตั้งเป้าหมายจะเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานทดแทน 100 % ภายในปี ค.ศ. 2030  ขณะที่ในปี ค.ศ. 2009  มีเพียง 4 เมือง
  • ปัจจุบัน มีเมืองในเครือข่าย C40 รวม 18 เมือง ห้ามหรือจำกัดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือแบบที่นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้ ขณะที่ในปี ค.ศ. 2009 มีเพียง 2 เมือง
  • ปัจจุบัน มีเมืองในเครือข่าย C40 รวม 17 เมือง ออกกฏห้ามยานยนต์ที่ปล่อยมลภาวะสูงวิ่งในพื้นที่บางส่วนของเมือง ขณะที่ในปี ค.ศ. 2009 มีเพียง 3  เมือง

“เมืองในเครือข่าย C40 ที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว  และกำลังยกระดับความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาสภาพอากาศให้สูงขึ้นไปอีก สะท้อนให้เห็นว่า การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ มีส่วนช่วยในการสร้างชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง มีความเสมอภาค และมีความสามารถในปรับตัวที่ดี”  มาร์ก วัตต์ (Mark Watts) กรรมการบริหารของกลุ่ม C40 กล่าว

วัตต์ย้ำว่า แต่ความสำเร็จนี้ไม่เพียงพอ หากเราต้องการจะรักษาระดับอุณภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นไปมากกว่า 1.5 องศา ทั่วโลกต้องหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น และเริ่มปรับลดระดับการปล่อยก๊าซฯ ลงให้ได้ภายในปีหน้า  ซึ่งด้วยความรู้และทรัพยากรมากมายที่ถูกรวบรวมไว้ใน C40 Knowledge Hub  เมืองอื่นๆ น่าจะได้เร่งแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ เพื่อยับยั้งไม่ให้อุณภูมิของโลกสูงขึ้นไปอีก

ที่ผ่านมา โครงการ “Deadline 2020” ของเครือข่าย C40 มีความสำคัญอย่างมากต่อการวางแผน และดำเนินการแก้ปัญหาสภาพอากาศของเมืองต่างๆ ทั่วโลก  ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหวังในทางวิทยาศาสตร์

ปัจจุบัน C40  จัดทำศูนย์รวมองค์ความรู้บนโลกออนไลน์ “C40 Knowledge Hub” รวบรวมข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์ภาคปฏิบัติ ตลอดจนวิธีดำเนินการของเมืองซึ่งดำเนินโครงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำเร็จมาแล้ว โดยส่งคำเชิญถึงเมืองต่างๆ ทั่วโลกที่สนใจโครงการให้มาลงทะเบียนกับเว็บไซต์ www.C40knowledgehub.org  ในการเข้าถึงโอกาสศึกษาข้อมูลทั้งหมด ตั้งแต่รายงานสรุปเชิงนโยบาย  (Policy Brief) ไปจนถึงคำแนะนำทางเทคนิค ข้อมูลการวิจัยล่าสุด และกรณีศึกษาต่างๆ

เพื่อให้งานปรับปรุงสภาพอากาศของแต่ละเมืองมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และบรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น


แปลและเรียบเรียงจาก
c40

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.