จากการเพิ่มขึ้นของประชากร และศักยภาพการเติบโตของสังคมเมืองที่สูงขึ้นต่อเนื่องในทุก ๆ ปี ทำให้นับวันความต้องการพลังงานไฟฟ้าก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นจนเกิดปัญหาการผลิตไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานรวมถึงในกระบวนการส่วนใหญ่ก็เป็นการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปมาใช้ในกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหินก็ล้วนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปทั้งสิ้นรวมถึงในกระบวนการผลิตยังก่อให้เกิดผลกระทบและผลเสียที่ส่งผลด้านลบต่อสภาวะแวดล้อมอีกด้วย Solar Kiosk สตาร์ทอัพ จากประเทศเยอรมนีจึงมองเห็นโอกาสในการนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปมาสร้างเป็นธุรกิจใหม่แห่งโลกอนาคต
ไม่เพียงปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าของชุมชนเมืองที่นับวันจะมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น แต่ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าก็ยังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ทุรกันดารของหลายประเทศทั่วโลก ที่ยังไม่มีศักยภาพในการเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าอย่างเพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบแอฟริกาและเอเชียสตาร์ทอัพจากเมืองเบอร์ลินรายนี้ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา และมองเห็นความเป็นไปได้ของการเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจพลังงานทางเลือก เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่สามารถนำเอาไฟฟ้าเข้าไปสู่ท้องถิ่นทุรกันดารในประเทศที่ขาดแคลน และขาดความสามารถในการเข้าถึงพลังงานได้ จึงได้เกิดเป็นโครงการสตาร์ทอัพที่ชื่อว่า Solar Kiosk ขึ้น
Solar Kiosk เป็นตัวอย่างของ start up ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาทั้งในส่วนของการเข้าถึงและปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า โครงการได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2011 โดย Andreas Spiess และกลุ่มสถาปนิก GRAFT ที่ได้ทำการออกแบบตู้ Kiosk ที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถถอดประกอบและเคลื่อนย้ายได้ง่าย กลายเป็นต้นแบบของธุรกิจสตาร์ทอัพแห่งอนาคต ที่สามารถนำเอาตู้ Solar Kiosk ที่ว่านี้ไปติดตั้งได้ในทุกที่ ในถิ่นทุรกันดารของประเทศต่าง ๆ ได้
ในปี 2012 โครงการแรกที่เป็นรูปเป็นร่าง และสามารถใช้งานได้จริงของสตาร์ทอัพกลุ่มนี้ได้เกิดขึ้นโดยครั้งนั้นเป็นการออกแบบและติดตั้งชุดอุปกรณ์จากชิ้นส่วนของโซลาร์เซลล์ที่สามารถแยกประกอบทำให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกช่วยเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานได้จริง ผลิตภัณฑ์นี้ได้ถูกนำไปติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลของประเทศเอธิโอเปียและเคนยาทำให้ชุมชนในทวีปแอฟริกาที่มีการติดตั้งตู้ Solar Kiosk เหล่านี้มีศักยภาพในการเข้าถึงไฟฟ้าเพียงพอเป็นประตูสำหรับการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับตู้แช่เย็นอาหาร เครื่องกรองน้ำดื่ม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งนอกจากจะช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้แล้ว สตาร์ทอัพ Solar Kiosk ยังช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการ สร้างอาชีพสร้างรายได้ นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนได้อีกด้วย
“Solar Kiosk สตาร์ทอัพผู้บุกเบิกตลาดพลังงานทางเลือก นำไฟฟ้าเข้าสู่แหล่งทุรกันดาร สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ เพิ่มศักยภาพให้ประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” -Business Model ที่ทำให้ Solar Kiosk เป็นสตาร์ทอัพผู้บุกเบิกธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ได้สำเร็จ
Business Model ของ Solar Kiosk ไม่ได้เป็นเพียงตู้ Kiosk ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ ซึ่งเป็นธุรกิจแห่งอนาคตให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถสร้างอาชีพของตัวเองได้
เนื่องด้วยความยืดหยุ่นของชิ้นส่วนตู้ kiosk และแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถถอดประกอบและเคลื่อนย้ายได้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเคลื่อนย้ายตู้ Solar Kiosk ไปในพื้นที่ห่างไกลเพื่อการขายต่อ หรือให้เช่าต่อได้โดยง่าย และยิ่งไปกว่านั้น Solar Kiosk ยังมาพร้อมกับ Business Model ทางเลือกที่คนในชุมชนสามารถใช้ดำเนินธุรกิจเพื่อการสร้างรายได้และสร้างอาชีพเพื่อเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดย Solar Kiosk จะทำการประสานกับผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้ทำหน้าเป็นตัวแทนจำหน่ายและดูแลลูกค้าพื้นที่นั้น ๆ ด้วยจุดนี้เอง ที่ทำให้ Solar Kiosk ก้าวขึ้นสู่การเป็นสตาร์ทอัพผู้บุกเบิกตลาดพลังงานทางเลือกที่ช่วยสร้างโอกาสในการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้กับประชากรในพื้นที่ห่างไกล อีกทั้งยังเป็นการสร้างธุรกิจและเพิ่มรายได้ สร้างอาชีพให้ผู้ประกอบการในระดับท้องถิ่นอีกทั้งยังช่วยเปิดโอกาสให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีทำให้คนในชุมชนมีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกมากขึ้น
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์และบริการของตู้ Solar Kiosk ได้แก่ ตู้ให้บริการชาร์จโทรศัพท์มือถือ, ตู้ kiosk ที่มีตู้เย็น ตู้แช่และเครื่องทำความเย็นสำหรับการแช่อาหาร, ตู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต, ตู้ให้บริการปริ้นเอกสาร ถ่ายเอกสาร สแกน, ร้านค้าปลีก, ตู้สถานีชาร์จไฟ ไปจนถึงตู้ Solar Kiosk เพื่อให้บริการตัดผม เป็นต้น
Solar Kiosk เป็นสตาร์ทอัพด้าน Green Technology ที่ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลควบคู่กันถึง 2 รางวัล คือ รางวัลด้านเทคโนโลยีการออกแบบควบคู่ไปกับรางวัลธุรกิจที่ช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ชุมชน โดยการผลิตพลังงานทดแทน เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างอาชีพให้คนชุมชนสามารถสร้างสรรค์ธุรกิจเพื่อก่อให้เกิดรายได้และสร้างกำไรให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต
ปัจจุบัน Solar Kiosk สามารถเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ประเทศที่ห่างไกลได้ถึง 11 ประเทศ มี Hub ที่สามารถสร้างอาชีพให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นได้เป็นจำนวน 230 Hub และทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นถึง 5 ล้านคน จาก 5,000 ครัวเรือน
ทุกวันนี้ ยังมีประชาชนอีก 1.5 พันล้านคนทั่วโลกที่ยังอาศัยอยู่ในชุมชนที่ขาดแคลนการเข้าถึงพลังงานไฟฟ้า และจากรายงานของธนาคารโลกได้มีการระบุไว้ว่า กลุ่มประชากรทางเศรษฐกิจและสังคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 4 พันล้านคน เป็นผู้ที่มีรายได้ต่อปีต่ำกว่า 3,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งแน่นอนว่าประชาชนเหล่านั้น ย่อมไม่มีกำลังพอที่จะซื้อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตออกมาจำหน่ายสำหรับการใช้งานได้ พลังงานทางเลือกจึงเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เป็นทางเลือกของการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพลังงานไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ที่ดีขึ้น
ความท้าทายของ Solar Kiosk ก็คือ การก้าวขึ้นเป็นสตาร์ทอัพผู้นำธุรกิจแห่งอนาคต ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการกระจายการเชื่อมต่อให้ประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ให้สามารถเข้าถึงและสามารถใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด
หากคุณมีศักยภาพและกำลังมองหาธุรกิจน่าสนใจในอนาคตเพื่อการลงทุน พลังงานทางเลือกถือเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่มีโอกาสจะทำให้คุณกลายสตาร์ทอัพผู้บุกเบิกตลาด ที่ประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกับ Solar Kiosk ได้เช่นเดียวกัน และไม่ใช่แต่เพียงพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์เท่านั้นที่น่าสนใจ และกำลังถูกจับตามอง แต่ยังมีพลังงานทดแทนในรูปแบบอื่นที่น่าศึกษาและพัฒนาให้เป็นตัวอย่างของ start up ด้านพลังงานทางเลือกได้เช่นเดียวกัน ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานจากชีวมวล วัสดุเหลือใช้ที่มีจำนวนมาก ไปจนถึงพลังงานจากขยะที่สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตแก๊สมีเทนให้กับโรงไฟฟ้า แทนการเผาทำลาย ซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มโอกาสของการเกิดภาวะเรือนกระจกให้เกิดขึ้น
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.
View Comments