เที่ยวป่าชายเลนเชิงอนุรักษ์…พื้นที่แห่งความอุดมสมบูรณ์

4.2 / 5 ( 13 votes )

บนโลกใบนี้จะประกอบด้วยผืนดิน ผืนน้ำ และผืนป่า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสมดุลในกับสิ่งมีชีวิตบนโลกให้สามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ และยังมีอีกหนึ่งพื้นที่ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับมนุษย์ และสัตว์ทะเล คือ พื้นที่ที่เรียกว่า “ป่าชายเลน  หรือ Mangrove forest”

ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่อยู่ในแนวเชื่อมต่อระหว่างผืนแผ่นดินกับพื้นน้ำทะเลในเขตร้อน (Tropical) และกึ่งเขตร้อน (Subtropical) ของโลก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความหลากหลายของพันธุ์พืช และสัตว์นานาชนิดที่ใช้ชีวิตร่วมกันภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลนน้ำกร่อย และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ

หากพูดถึงป่าชายเลน ไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึงต้นโกงกางเป็นสิ่งแรก เพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่สำคัญและพบได้มากในบริเวณดังกล่าว เราจึงสามารถเรียกป่าชายเลนได้อีกชื่อว่า “ป่าโกงกาง”

ป่าชายเลน อยู่ที่ไหนได้บ้าง

เราจะพบป่าชายเลนอยู่ 2 พื้นที่ คือ บริเวณปากแม่น้ำหรือน้ำกร่อย ตามริมแม่น้ำและร่องน้ำที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำจืดมาก และบริเวณชายฝั่ง หรือปากแม่น้ำสายเล็กๆ ซึ่งน้ำในป่าชายเลนประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำทะเล

แหล่งรวมพันธุ์ไม้นานาชนิด ต้องคิดถึงป่าชายเลน

ในป่าชายเลนของไทยมีพันธุ์ไม้ 74 ชนิด พันธุ์ไม้เด่นๆ ได้แก่ โกงกาง, แสม, โปรง, ลำพู, ลำแพน และตะบูน ฯลฯ ซึ่งพันธุ์ไม้ทุกชนิดมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสมดุลของระบบนิเวศป่าชายเลนในแต่ละพื้นที่

พืชเอาตัวรอดอย่างไรในป่าชายเลน

พืชในป่าชายเลนมีลักษณะพิเศษในการปรับตัวเพื่อมีชีวิตรอดในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงตลอดเวลา โดยเฉพาะจากความเค็ม ปริมาณออกซิเจนในน้ำ ความเป็นกรดและด่าง และอุณหภูมิของน้ำ

พืชในป่าชายเลนบางชนิดปรับตัวให้เข้ากับสภาพความเค็มของดินและน้ำ ด้วยวิธีดูดเกลือเข้าไปในลำต้นแล้วขับเกลือออกทางใบ ในบางชนิดสามารถเก็บสะสมเกลือไว้ในใบ หรือเปลือกไม้ เมื่อมีการผลัดใบ เกลือที่สะสมอยู่ก็จะถูกกำจัดทิ้งไปด้วย

นอกจากนี้ พืชยังเจออิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง ที่ทำให้ป่าชายเลนมีน้ำท่วมขังอยู่เสมอ ออกซิเจนในอากาศจึงไม่สามารถแพร่กระจายลงสู่ดิน พืชส่วนมากจึงมีระบบรากพิเศษ และเซลล์พิเศษที่สามารถให้อากาศเข้าไปในต้น เรียกว่า รากอากาศ (Pneumatophores) ซึ่งรูปทรงของรากอากาศมีตั้งแต่ผอมบางคล้ายแท่งดินสอ จนกระทั่งเป็นปุ่มอ้วนๆ พืชบางชนิดจะมีรูเล็กๆ จำนวนมากบริเวณลำต้น และราก ที่ช่วยนำอากาศเข้าสู่ต้นพืช จากนั้นเนื้อเยื่อฟองน้ำภายในลำต้นจะนำออกซิเจนไปสู่รากเช่นกัน โดยสภาพดินเลนนิ่มในป่าชายเลน ทำให้ต้นไม้สูงๆ ถูกน้ำพัดล้มลงได้ง่าย พืชต้องปรับตัวเพื่อให้ลำต้นยืนอยู่ได้ด้วยรากที่มีลักษณะต่างกันไป ดังนี้

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

ภาพแสดงระบบนิเวศป่าชายเลน
  • ต้นโกงกาง -จะมีระบบรากค้ำจุน หรือรากพยุง (Prop roots) และรากอากาศ ที่ห้อยจากลำต้นหรือกิ่งลงสู่ดิน
  • ต้นแสม – จะมีระบบรากเคเบิล (Cable roots หรือ Pencil roots) ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อช่วยพยุงลำต้น
  • ต้นโปรงแดง – จะมีระบบรากพูพอน (Buttress roots) เช่นเดียวกันกับที่พบในต้นไม้ป่าเขตร้อน
  • ต้นถั่วขาว – จะมีระบบรากเป็นแบบเคเบิ้ล และจะส่งรากซึ่งมีลักษณะคล้ายหัวเข่าโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดิน

เรื่องสำคัญอีกเรื่องของป่าชายเลน คือ การแพร่พันธุ์ และขยายพื้นที่  ซึ่งต้นไม้ป่าชายเลนจะมีฝักเมล็ดที่สามารถลอยน้ำ และบางชนิดมีผลที่สามารถงอกเป็นต้นอ่อนตั้งแต่อยู่บนต้นก่อนร่วงลงสู่พื้นดิน โดยขณะที่ฝักต้นอ่อนยังคงอยู่บนต้น มันจะได้รับอาหารจากต้น เมื่อร่วงหล่นลงน้ำ จึงสามารถอยู่ในน้ำได้นาน และลอยไปได้ไกล  เป็นเหตุให้ต้นไม้ป่าชายเลนจากชายฝั่งแห่งหนึ่ง สามารถแพร่กระจายไปยังที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้

เห็นไหมว่า… พืชในป่าชายเลนมีความซับซ้อนของกระบวนการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และมีกลไกในตัวเองอย่างเป็นระบบ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกว่าจะมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ได้ เราจึงควรช่วยกันฟื้นฟู ดูแลรักษาระบบนิเวศป่าชายเลน เพราะความสมบูรณ์นี้จะส่งผลดีไปสู่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่ยั่งยืนด้วย

อยากทราบเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลน และ ระบบนิเวศของบลูคาร์บอน มากกว่านี้ คลิก bit.ly/bcs-fb-web

ที่มา : คู่มือความรู้เรื่องป่าชายเลน ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2556 และ http://www.sc.psu.ac.th/chm/biodiversity/mangrove_plant.html

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.