ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ทำให้อาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่มีมาอย่างช้านานประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักของนานาประเทศ แต่ในขณะเดียวกันในแง่ของการแข่งขัน เกษตรกรไทยก็ต้องเจอกับอุปสรรคในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะเรื่องของราคาผลผลิต การถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางทำให้รายได้ที่แท้จริงของเกษตรกรไม่คุ้มค่าและไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควร และนี่เองที่เป็นที่มาของไอเดียโครงการ GetKaset สตาร์ทอัพของคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้จากการขายผลิตผลิตมากขึ้น เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
การขายสินค้าเกษตรออนไลน์ในจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการปรับเปลี่ยนไปตามการเติบโตของอินเตอร์เน็ต สมาร์ทโฟน และสื่อสังคมออนไลน์ ปี 2557 จีนมีมูลค่าการขายสินค้าอาหารสดออนไลน์ 28,980 ล้านหยวน และเพิ่มเป็นกว่า 50,000 ล้านหยวน ในปี 2558 เติบโตขึ้นที่อัตรากว่าร้อยละ 80 และคาดว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวทะลุหลักแสนล้านหยวน
ที่มา: thaibizchina.com
โครงการ GetKaset เป็นสตาร์ทอัพที่มีจุดริเริ่มมาจากไอเดียของนักศึกษาจบใหม่ ที่มองเห็นโอกาสของการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยลดความเหลื่อมล้ำของราคาผลผลิตที่เกิดจากพ่อค้าคนกลาง สร้าง Business Model ของตลาดกลางสินค้าเกษตรออนไลน์ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เกษตรกรสามารถพบปะและซื้อขายผลผลิตกับผู้ซื้อได้โดยตรง
GetKaset มีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดใหม่ของแนน ธันยธร จรรยาวรลักษณ์หนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการตลาดกลางสินค้าออนไลน์เพื่อเกษตรกรที่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยเธอได้ทำการบ้านส่งอาจารย์แล้วมองเห็นจุดอ่อนของเกษตรกรที่ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาพืชผลทางการเกษตร จึงเกิดแนวคิดที่อยากจะช่วยให้เกษตรกรมีศักยภาพและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น บวกกับการได้ลงไปดูพื้นที่จริง ก็ยิ่งทำให้เห็นว่ารายได้ของเกษตรกรนั้นค่อนข้างจะถูกเอาเปรียบและไม่สมเหตุสมผล จึงยิ่งเป็นแรงผลักดันให้อยากจะเป็นผู้บุกเบิกตลาดสร้างเว็บไซต์ออนไลน์ นำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมให้กับเกษตรกรสร้างเป็นตลาดกลางเพื่อสนับสนุนธุรกิจทางการเกษตรขึ้น ซึ่งหลังจากเรียนจบและได้เริ่มทำงานประจำ คุณแนนก็ได้พัฒนาสตาร์ทอัพ GetKaset ควบคู่กันไปจนต่อมาก็ได้เพื่อนร่วมทีมอีก 2 คนเข้ามาช่วยปลุกปั้นโครงการ GetKaset ให้เป็นความจริง ซึ่งก็คือ คุณสฐิปกรณ์ วิบูลย์ประพันธ์ และคุณชนาทิพย์ สุขประเสริฐ จนคุณแนนได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาปลุกปั้น พัฒนาเว็บไซต์ GetKaset อย่างเต็มตัว
ด้วยการเห็นถึงความสำคัญของพลังการเปลี่ยนแปลงทางสังคม บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจและแนวคิดใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมสู่ความยั่งยืนขึ้นมาตั้งแต่ปี 2553 และในปี 2558 ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมในปีที่ 5 โครงการ GetKaset ก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมโดยได้ส่งแผนธุรกิจสตาร์ทอัพ และ Business Model ของเว็บไซต์เข้าประกวดเพื่อขอสนับสนุน Funding และในปีนั้นเอง GetKaset ก็สามารถคว้าแชมป์จาก โครงการ Banpu Champions for Change ไปได้ ทำให้ได้ แหล่งเงินทุนนำไปพัฒนาสตาร์ทอัพ สร้างตลาดสินค้าทางการเกษตรออนไลน์ให้สามารถเป็นจริงได้
“เราได้รวมเอาความทันสมัยของเทคโนโลยีมาใช้กับเกษตรกร เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและการถูกเอาเปรียบ นำไปสู่รายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน”
แนน ธันยธร จรรยาวรลักษณ์ผู้ก่อตั้ง โครงการสตาร์ทอัพ GetKaset
โครงการ GetKaset เป็นการสร้างพื้นที่ส่วนกลาง ตลาดซื้อขายสินค้าทางการเกษตรออนไลน์ให้กับผู้ซื้อและเกษตรกรให้สามารถพบปะและซื้อขายสินค้ากันได้โดยตรง โดยเกษตรกรสามารถนำสินค้ามาประกาศขายได้ในทางเว็บไซต์ GetKaset.comโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด รวมถึงยังมีสินค้าและเครื่องมือเกี่ยวกับการเกษตรประกาศขายอยู่ในตลาดออนไลน์แห่งนี้ด้วย สำหรับรูปแบบของเว็บไซต์ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ GetKaset ก็ได้ออกแบบมาเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้งานได้ง่ายดายมากที่สุด ภายในเว็บไซต์ประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
ในขณะเดียวกันนอกจากการพัฒนาระบบและเทคโนโลยีของโครงการสตาร์ทอัพ GetKasetแล้ว เจ้าของโครงการก็ต้องมีการลงพื้นที่ไปพบปะเกษตรกรเพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ ในการซื้อขายสินค้าผ่านตลาดเกษตรออนไลน์ให้เป็นที่รู้จัก ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในเรื่องของรายได้ เพื่อให้เกษตรกรสนใจเข้ามาใช้เว็บไซต์ GetKaset เป็นศูนย์กลางในการค้าขายผลผลผลิต และช่วยพัฒนาศักยภาพให้เกษตรกรสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อนำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้ตัวเองและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
ไม่เพียงการเป็นผู้บุกเบิกตลาดสร้างเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างเกษตรกับผู้ซื้อเท่านั้น แต่ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ GetKaset ก็มีแผนที่จะพัฒนา GetKasetในรูปแบบแอพพลิเคชั่นเพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้ามาใช้งานพื้นที่ส่วนกลางแห่งนี้ได้ง่ายดายยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันเกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีผ่านมือถือได้มากขึ้น รวมถึงเจ้าของโครงการก็มีจะต่อยอด พัฒนาเนื้อหาของเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจ เพิ่มจำนวนสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลายคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ รวมถึงยังมีไอเดียในการนำเกษตรกรที่ใช้สินค้าจริงมารีวิว เพื่อเป็นการสร้างคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจ นำไปสู่การต่อยอดสร้างเป็นพื้นที่โฆษณาของเว็บไซต์ในอนาคต
นอกจากการสร้าง GetKaset.com ให้เป็นตลาดออนไลน์ในการซื้อขายสินค้าทางการเกษตร ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ GetKaset ยังมองเห็นถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดอื่น ๆ ของเกษตรกร ได้แก่ ปัญหาการขนส่งเรื่องโลจิสติกส์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดข้อจำกัดสำหรับในการขายและส่งสินค้าจากเกษตรกรไปยังผู้ซื้อ ซึ่งในอนาคตต่อไปการหาพาร์ทเนอร์เพื่อมาสนับสนุนธุรกิจในเรื่องของการขนส่งก็ถือเป็นการบ้านที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรไทยเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงเรื่องของแหล่งเงินทุน ที่ถึงแม้ว่า GetKaset จะเป็นสตาร์ทอัพที่เน้นการพัฒนาสังคม โดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนมากกว่าการแสวงหาผลกำไร แต่หากโครงการมี Funding มากขึ้นก็แน่นอนว่าย่อมมีแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาพัฒนาระบบและเทคโนโลยีของเว็บไซต์ให้ดี และสอดคล้องกับการใช้งานของเกษตรกรได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
สินค้าเกษตรไทย… จะไปทางไหน? ในตลาดออนไลน์ ต้องบอว่าการแปรรูป และการเพิ่มมูลค่าสินค้านั้นคือทางออก รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์การบรรจุ หีบห่อ การมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม ง่ายต่อการขนส่งทางไปรษณีย์ เพราะการตลาดออนไลน์กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเกษตรในประเทศไทย
ที่มา: kasetkaoklai.com
กว่าสตาร์ทอัพ GetKaset จะเป็นที่รู้จักและเริ่มมีเครือข่ายของผู้ซื้อถึงจำนวน 1 ล้านผู้ใช้งาน และมีผู้ขายเข้ามาใช้งานจริงกว่า 3,000 ราย ผู้ก่อตั้งก็ต้องอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูล การลงพื้นที่ อาศัยความร่วมมือจากผู้นำเกษตรกร เพื่อให้โครงการเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จได้ โดยเป้าหมายสูงสุดของ GetKaset ก็คือการเชิญชวนให้เกษตรกรไทยเข้ามาใช้พื้นที่ส่วนกลางนี้เป็นตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร นำไปสู่รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน
มองเห็นโอกาสการต่อยอดในอนาคต เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.