สร้างสรรค์โลก – ด้วยไอเดีย

3 / 5 ( 1 vote )

หมดยุคของการทำ CSR แล้วนะรู้ยัง ?

เชื่อว่านักบริหารและนักธุรกิจหลายๆท่านคงจะทราบดีถึงแนวคิด “การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน” (Sustainable Management) ซึ่งมีความนิยมมากขึ้นในช่วง 10 กว่าที่ผ่านมาจนถึงขนาดทุกวันนี้แนวคิดนี้ก็ถูกบรรจุอยู่ในตำราการเรียนการสอนของบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัยดัง ๆ ในต่างประเทศซึ่งแนวคิดนี้เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าธุรกิจนั้น ๆ เป็น “ธุรกิจที่เป็นมิตร” ทำให้แบรนด์และองค์กรธุรกิจนั้น ๆ สามารถเข้าถึงและเชื่อมโยงกับผู้บริโภคได้ง่ายมากยิ่งขึ้นซึ่งแบรนด์ธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ จะหันมาลดความเป็นทุนนิยมในตัวเองลงบริหารงานและประกอบการแบบไม่มุ่งเน้นกำไรแต่อย่างเดียวอีกต่อไปแต่จะต้องหันมาใส่ใจสังคมและเริ่มทำประโยชน์ให้ส่วนรวมหรือ “คืนกำไรให้สังคมบ้าง” จะต้องรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นจากแนวคิดนี้ทำให้เกิดแนวคิดการทำกิจกรรมการตลาดที่อิงการกุศลขึ้นมา (Cause Marketing) ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบกิจกรรมขององค์กรธุรกิจต่าง ๆ ในรูปแบบใหม่ขึ้นมานั่นคือการทำ CSR (Cooperate Social Responsibility) เป็นรูปแบบการทำกิจกรรมเพื่อสังคมแนวคิดนี้ตื่นตัวอยู่สักระยะส่งผลดีต่อองค์กรธุรกิจอยู่พักหนึ่งและแล้วในที่สุดผู้บริโภคก็เกิดจับไต๋องค์กรธุรกิจบางรายได้มองว่าองค์กรธุรกิจเหล่านั้นทำเพื่อ “สร้างภาพลักษณ์” ที่ดีให้กับแบรนด์ของตนเท่านั้น “หาใช่ความจริงใจไม่” ความเข้าใจในทำนองนี้เผยแพร่ออกไปในโลกโซเซียลอย่างรวดเร็วในระยะเวลาต่อมาการทำ CSR จึงทำให้ผู้บริโภครู้สึกเฉยชาและมองว่าไม่ได้มีคุณค่าและประโยชน์อย่างแท้จริงต่อพวกเขาเลยเมื่อเวลาล่วงมาถึงปัจจุบันทำ CSR จึงเรียกว่าแทบจะไร้ความหมายเพราะทำไปก็แทบจะไม่ได้ช่วยให้ “ภาพลักษณ์” ของแบรนด์ดีขึ้นจริงยอดขายก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้นความภักดีของผู้บริโภคก็ไม่ได้มีมากขึ้นด้วยเรียกว่าเวลานี้เป็นยุคโรยราของการทำ CSR ก็ไม่ผิดนัก

ถึงเวลาคืนกำไรสังคมอย่างจริงใจแล้ว

ผู้ประกอบการยุคใหม่จึงควรจะตระหนักได้แล้วว่า CSR ในยุคนี้ไม่ได้ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จมากขึ้นเพราะผู้บริโภคติดภาพ “การทำประโยชน์ให้สังคมแต่ซ่อนคมในการแสวงหาผลกำไร” กันไปแล้วอีกทั้งรูปแบบและขั้นตอนการทำ CSR ผู้ประกอบการบางรายก็ค่อนข้างจะไม่ถูกหลักไม่ค่อยสะดวกทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดหรือไม่สนใจไปเลยอย่างการ “ลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ต” เพื่อแสดงความประสงค์ในการบริจาคเงินหรือการขอตัดบัตรเครดิตเป็นรายเดือนรายปีเพื่อสมทบเข้าองค์กรการกุศลซึ่งบางทีขั้นตอนนี้ดันไปผูกอยู่กับการซื้อขายหรือการรับบริการจากลูกค้าซึ่งออกแนวมัดมือชกแบบนี้ลูกค้าก็ไม่ค่อยปลื้มอยู่แล้วจึงทำให้การทำ CSR ไม่ประสบความสำเร็จ

แต่แล้วก็มีคนไอเดียเยี่ยงนั่นคือ ไมเคิลยูจีนพอร์เตอร์ (Michael Eugene Porter) ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผุดแนวคิดใหม่คือ CSV (Creating Shared Value) ขึ้นมาเป็นแนวคิดที่จะช่วยให้การทำธุรกิจกับสังคมมีความสมดุลและได้สัดส่วนต่อกันมากขึ้นเป็นการทำให้การทำธุรกิจกับสังคมท้องถิ่นเอื้อประโยชน์ต่อกันและกันซึ่งจะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากกว่าการทำ CSR โดย CSV มีหลักการอยู่ที่ว่าองค์ธุรกิจจะร่วมลงทุนเพื่อคืนกำไรให้สังคมด้วยไม่ใช่แค่ขอแรงสนับสนุนจากฝ่ายลูกค้าเพียงอย่างเดียวแบบที่เคยเป็นมา

ซึ่งเราขอนำแคมเปญตัวอย่างของการทำ CSV ที่น่าสนใจมาให้ Minewater Barcodrop Campaign Film ได้ชมกันดังคลิปข้างต้นไอเดียบรรเจิดจากคลิปดังกล่าวนี้เป็นแคมเปญที่ชื่อว่า “มิเนวอเตอร์ บาร์โคดร็อป” ซึ่งคิดโดย บริษัทซีเจ เชอิล เจดัง ของเกาหลีและแฟมิลี่มาร์ท 2 บริษัทร่วมมือกันแนวคิดนี้เรียบง่ายและไม่เป็นการเบียดเบียนบังคับผู้บริโภครายละเอียดของแคมเปญนี้ก็คือขวดน้ำที่วางขายอยู่ในร้านแฟมิลี่มาร์ทจะมีการติดสติกเกอร์บาร์โค้ดบนขวดน้ำเพิ่มขึ้นมาอีก 1 อันคือก็เท่ากับว่าขวดน้ำหนึ่งๆจะมีบาร์โค้ดสำหรับสแกนอยู่ 2 แถบบาร์โค้ดแรกมีไว้เพื่อบอกราคาสินค้าตามปกติส่วนบาร์โค้ดที่ 2 ที่เพิ่มเข้ามาจะเป็นรูปหยดน้ำมีเอาไว้เพื่อ

การบริจาคเงินเข้าองค์กรยูนิเซฟในการผลิตน้ำดื่มสะอาด 1,620,000 ลิตรให้ผู้คนในทวีปแอฟริกาเนื่องจากว่าที่แอฟริกาประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้อย่างหนักมีการวิจัยลงพื้นที่ไปดูก็พบว่า 23% ของจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 200 กว่าล้านคนในแอฟริกาไม่มีน้ำสะอาดปลอดภัยให้ดื่ม

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าแคมเปญนี้ผู้บริโภคมีสิทธิ์เลือกได้ว่าจะบริจาคหรือไม่บริจาคใครจะบริจาคก็ติดบาร์โค้ดรูปหยดน้ำเอาไว้อย่างนั้นไปจ่ายเงินที่เคาน์เตอร์พนักงานก็จะรู้ทันทีแต่ถ้าใครไม่พร้อมจะบริจาคก็สามารถดึงสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดรูปหยดน้ำออกแล้วค่อยไปจ่ายเงินก็ได้รูปแบบสัดส่วนการบริจาคก็คือสมมุติว่าน้ำขวดหนึ่งเดิมราคา 10 บาทน้ำดื่มที่เข้าร่วมแคมเปญนี้จะถูกเพิ่มราคาขึ้นไปอยู่ที่ 13 บาท (ใครไม่บริจาคก็ซื้อ 10 บาทเหมือนเดิม) เท่ากับว่าเงินที่ลูกค้าจะบริจาคจะอยู่ที่ 3 บาท/ขวด บริษัทซีเจ เชอิล เจดัง และแฟมิลี่มาร์ทก็จะร่วมบริจาคในอัตราที่เท่ากันคือ 3 บาท/ขวดหากมีผู้บริโภคบริจาคกันมากสัดส่วนเงินที่ทาง บริษัทซีเจ เชอิล เจดัง และแฟมิลี่มาร์ทจะร่วมบริจาคก็จะมากขึ้นไปเท่ากันเท่ากับว่าทุกฝ่ายได้บริจากเท่ากันหมดไม่มีใครมากไม่มีใครน้อยซึ่งคุณจะเห็นเลยว่าแนวคิด CSV เป็นอะไรที่ยุติธรรมดีมากและเป็นการทำให้สังคมเห็นความจริงใจของแบรนด์นั้น ๆ อีกทั้งไอเดียเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดการรับผิดชอบต่อสังคมหรือภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรธุรกิจเท่านั้นแต่ยังช่วยสร้างรอยยิ้มและความรู้สึกดี ๆ ให้แก้สังคมอีกด้วยเราจึงขอบอกว่าถ้าคุณมีโอกาสจะทำอะไรเพื่อสังคมจะได้เป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรของคุณออกมาลองใช้แนวคิด CSV ดูสิหาไอเดียดีๆแล้วลงมือทำได้เลย

อุปสรรคและความท้าทาย

ผู้บริโภคยุคใหม่เก่งและรอบรู้มากขึ้นการจะเอากลยุทธ์ CSR มาใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรในยุคปัจจุบันนี้คงไม่ได้ผลอีกต่อไปยิ่งทำก็ยิ่งทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุณไม่จริงใจมุ่งแต่จะใช้วิชามารในการทำกำไรแต่ฝ่ายเดียว

แนวทางการแก้ปัญหา

เปลี่ยนจากการทำ CSR มาเป็นการทำ CSV หาไอเดียที่สอดคล้องกับสภาพธุรกิจและสภาพสังคมในปัจจุบันดูว่าสังคมขาดอะไรและนำสิ่งที่ขาดไปนั้นมาเป็นไอเดีย

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.