Financial Inclusion แก้หนี้นอกระบบ “ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย”

“หนี้นอกระบบ” เป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ประชาชนจำนวนมากต้องพึ่งพาหนี้นอกระบบในการดำรงชีวิต จากข้อมูลโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 พบว่า ผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้นอกระบบมีจำนวนกว่า 1.25 ล้านราย คิดเป็นยอดหนี้รวม 68,003.43 ล้านบาท เฉลี่ยต่อรายจำนวน 54,094.15 บาท นำมาซึ่งความไม่มั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน จากการถูกเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกว่ากกฎหมายกำหนด รวมถึงปัญหาความรุนแรงจากการทวงหนี้
.
แม้ว่าหนี้นอกระบบจะมีความเสี่ยง แต่หลายครัวเรือนยังตัดสินใจกู้เงินนอกระบบ  เพราะมีความจำเป็นต้องใช้เงินเร่งด่วน ขณะที่การกู้เงินจากสถาบันการเงินในระบบมีขั้นตอนซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการดำเนินการ ทำให้ไม่สามารถรอได้  โดยมีครัวเรือนจำนวนไม่น้อย  ที่ไม่สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินในระบบ รวมถึงเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานอื่นๆได้

.

ทั้งนี้ เราแบ่งกลุ่มที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. Unbanked Person หรือกลุ่มที่ไม่เข้าถึงบริการการเงินในระบบได้เลย 2. Underserved Person หรือกลุ่มที่เข้าถึงได้บางบริการ จากบริการขั้นพื้นฐาน 4 บริการ คือ บริการโอนเงิน ชำระเงิน ฝากเงิน และกู้เงิน โดย “สินเชื่อ” เป็นบริการทางการเงินที่คนไทยเข้าถึงน้อยที่สุด สาเหตุหลักมาจากปัญหา รายได้น้อย ไม่รู้ และ อยู่ไกล   นำมาสู่ปัญหาหนี้นอกระบบ และเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

แนวคิด Financial Inclusion หรือ การเพิ่มโอกาสทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน จึงถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ และปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยไม่จำกัดว่าต้องทำผ่านธนาคารเท่านั้น เพื่อให้คนที่อยู่พื้นที่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน และบริหารจัดการการเงินของตัวเองได้ ผ่านตัวแทนธนาคาร หรือ Banking Agent ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน ทั้งธุรกรรมฝากเงิน ถอนเงิน โอน จ่าย และให้สินเชื่อ แทนธนาคาร
.
ปัจจุบันตัวแทนธนาคารมีทั้งร้านสะดวกซื้อ ไปรษณีย์ และเคาน์เตอร์เซอร์วิส นอกจากนี้ ยังพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) เพื่อให้สามารถทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ลดต้นทุนการทำธุรกรรม และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการได้ดียิ่งขึ้น
.
หนึ่งในพัฒนาการด้าน FinTech ที่โดดเด่นของไทยคือ การพัฒนามาตรฐาน QR Code เพื่อการชำระเงิน ที่ช่วยเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment) ให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ช่วยขยายช่องทางการรับชำระค่าสินค้าและบริการให้กับร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็ก ทำให้ร้านค้ามีต้นทุนลดลง
.
ในอนาคต FinTech จะเข้ามามีส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน ผ่านธุรกิจสินเชื่อผู้บริโภค (Consumer Finance) ด้วยการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะธนาคารเท่านั้น ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ มุ่งมั่นนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง โปร่งใส และเท่าเทียม ภายใต้แนวคิด Invisible Banking ทั้งการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม Krungthai NEXT รวมถึงแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยบริษัท อินฟินิธัส บายกรุงไทย ให้เป็น Thailand Open Digital Platform เปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามาใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทย พร้อมจับมือกับพันธมิตรทุกกลุ่ม ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อยกระดับบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นในทุกวัน
.
“เป๋าตัง” เป็นกลไกสำคัญในการส่งต่อมาตรการความช่วยเหลือของให้ถึงมือประชาชนอย่างทั่วถึง โปร่งใส เท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งมาตรการคนละครึ่ง มาตรการเราชนะ ม.33 เรารักกัน ยิ่งใช้ยิ่งได้ และเราเที่ยวด้วยกัน อีกทั้งยังมีส่วนปฏิวัติการลงทุน ผ่านบริการวอลเล็ต สบม. ให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลได้สะดวก รวดเร็ว รวมถึงบริการซื้อขายหุ้นกู้ดิจิทัล และบริการ Gold Wallet เป็นต้น
.
นอกจากนี้ ยังพัฒนาแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” เพื่อให้ร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็กใช้เป็นช่องทางในการรับชำระเงินโครงการภาครัฐ และการใช้จ่ายจากประชาชนทั่วไปผ่าน QR Code เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้า พร้อมจับมือกับพันธมิตร ทั้ง AIS บางจาก และ KTC ให้สามารถนำคะแนนสะสม มาใช้จ่ายในร้านค้าถุงเงินแทนเงินสดได้ เพิ่มโอกาสในการขายสินค้ากับร้านค้าขนาดเล็กได้อีกทางหนึ่ง
.
ธนาคารกรุงไทยเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกมิติไปพร้อมๆกับการนำนวัตกรรมทางการเงินมาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่ความยั่งยืน

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.