Categories: SUPPORT

จับตา NPS ธุรกิจยืนหนึ่งด้านพลังงาน แข็งแกร่ง มั่นคง และน่าลงทุน

ภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจทั่วโลกเผชิญกับสภาวะถดถอย อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

“ธุรกิจโรงไฟฟ้า” กลับเป็นธุรกิจหนึ่งที่นอกจากจะไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แล้ว ยังเติบโตสวนกระแสอีกด้วย เนื่องจากชีวิตประจำวันของมนุษย์ยุคปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในตอนนี้ที่กระแสความนิยมใช้พลังงานหมุนเวียนแทนที่พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมีการเติบโตในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับนโยบายภาครัฐเองส่งเสริมให้เอกชนทำธุรกิจโรงฟ้ามากขึ้น ตามแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ปี พ.ศ.2558-2579 ส่งผลให้ธุรกิจไฟฟ้ากลายเป็นธุรกิจที่น่าจับตามองสวนกระแสเศรษฐกิจซบเซาจากพิษโควิด-19 อย่างเห็นได้ชัด

บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ NPS ถือเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจพลังงานและพลังงานหมุนเวียนที่มีชื่อยืนหยัดอยู่ในวงการมายาวนานกว่า 30 ปี ปัจจุบัน NPS มีโรงไฟฟ้าทั้งหมด 10 โรง กำลังการผลิตไฟฟ้ากว่า 700 เมกกะวัตต์ และรายได้รวมมากกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท วันนี้เราจะมาบอกเล่าเหตุผลที่ทำให้ NPS เติบโตอย่างแข็งแกร่ง มั่นคง และน่าลงทุน

1. มีรายได้แน่นอน เพราะมีลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน

เกณฑ์วัดความมั่นคงของธุรกิจโรงไฟฟ้าว่ามีความมั่นคงทางรายได้หรือไม่ คือ “การมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบระยะยาว (Firm Contract) กับภาครัฐ” ซึ่ง NPS เป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับภาครัฐ รวมถึงมีการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับกลุ่มลูกค้าในสวนอุตสาหกรรม 304 อีกไม่น้อยกว่าร้อยราย ที่สำคัญคือมีแนวโน้มที่ลูกค้าบางส่วนจะขอเพิ่มปริมาณการใช้ไฟมากขึ้นด้วย ฐานลูกค้าเหล่านี้ถือเป็นจุดแข็งที่สร้างความยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาวให้กับ  NPS ได้เป็นอย่างดี

2. มีการวิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลชนิดใหม่อย่างต่อเนื่อง

โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นธุรกิจที่มีความยากในการบริหารจัดการวัตถุดิบและเชื้อเพลิง โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลหลายๆ โรงเพื่อลดปัญหาดังกล่าว NPS จึงให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจอยู่เสมอ โดยบริษัทมีการจัดตั้งหน่วยวิเคราะห์และพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อสนับสนุนให้เกิดเสถียรภาพในการจัดหาเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น โครงการใช้ไม้สับและรากไม้ซึ่งมีค่าความร้อนสูงเป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ลดการใช้ใยมะพร้าวและทลายปาล์มที่มีค่าความร้อนต่ำลงได้มาก ทั้งนี้ในส่วนของผู้ค้าเชื้อเพลิง NPS ก็มีคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับบริษัทมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจาก NPS มีระบบการตรวจรับสินค้าที่โปร่งใสและการชำระเงินที่รวดเร็ว ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงความสามารถในการบริหารต้นทุน และไม่หยุดที่จะแสวงหาศักยภาพใหม่ๆ จากสิ่งที่มีอยู่ เพื่อเปิดโอกาสและสร้างธุรกิจใหม่ให้กับ NPS ต่อไปในอนาคต

3. มีการปรับตัวพร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

Digital Disruption เป็นปัญหาอย่างมากกับหลายธุรกิจ แต่ไม่ใช่กับ NPS เพราะในช่วงปี 2561-2563 NPS ได้เปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาส โดยการจัดโครงการบริหารงานภายใน และทำ Digital Transformation กับระบบงานขององค์กรทั้งหมด มีการนำ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ จัดตั้งศูนย์บัญชาการ (Control Center) และเลือกทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องมาพิจารณาตัดสินใจในสิ่งที่ตนเองถนัดที่สุดเพื่อสร้างความมั่นใจในการบริหารจัดการ นำระบบ Predictive Maintenance มาใช้ในการวางแผนซ่อมบำรุงเพื่อช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ส่งผลให้ NPS มีระบบการทำงานที่ดีขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของขั้นตอนต่างๆ สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้เป็นจำนวนมาก และยังมีความพร้อมรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย

4. ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและชุมชน

NPS เน้นการส่งเสริมปลูกพืชพลังงานแก่เกษตรกรในพื้นที่เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และเพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกรในการบริหารการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการดูแลคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ด้วยการจัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าภายใต้แนวคิดสร้างอาชีพ ให้การศึกษา ดูแลสุขภาพ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเลือกใช้เทคโนโลยีเตาเผาแบบหมุนเวียน CFB (Circulating Fluidized Bed) ซึ่งมีระบบการเผาไหม้เชื้อเพลิงแบบสมบูรณ์ ช่วยลดและกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยเถ้าที่ได้หลังกระบวนการเผาไหม้ยังถูกนำไปผลิตปูนซีเมนต์จึงไม่มีของเหลือทิ้ง ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่ยึดมั่นอยู่เสมอส่งผลให้ NPS ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานต่างๆ มากมาย

เหตุผลทั้ง ประการถือเป็นเครื่องยืนยันถึงการเป็นหนึ่งในผู้นำวงการโรงไฟฟ้าชีวมวล และยังเป็นสิ่งบ่งชี้สำคัญอีกด้วยว่า เหตุใด NPS จึงเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจผ่านหุ้นกู้อยู่เป็นประจำ และหุ้นกู้ทุกชุดก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะนอกจากนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอแล้ว

ที่สำคัญที่สุดคือ การได้รับความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอีกชั้นหนึ่งจากการที่ทริสเรทติ้งได้เพิ่มอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ของ NPS จากระดับ BBB- เป็น BBB อันสะท้อนถึงผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นโดยตลอดแบบไม่สนกระแสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทำเศรษฐกิจทั่วโลกซบเซาอยู่ในตอนนี้เลยแม้แต่น้อย สำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาช่องทางการลงทุนในโรงไฟฟ้า NPS มีแผนเปิดขายหุ้นกู้ในปีนี้ เตรียมความพร้อมศึกษาข้อมูลเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการลงทุนเอาไว้ได้เลย

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.