เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เตรียมความพร้อมก้าวสู่การพั ฒนาพื้นที่ในเฟสสาม มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองยกระดั บความปลอดภัย ติดตั้งและทดลองใช้ 5G ในตำบลบ้านฉางเพื่อบูรณาการสู่ เมืองต้นแบบสมาร์ตซิตี พร้อมอบรมความรู้ชุมชนยกระดับทั กษะบุคลากรภาคการท่องเที่ ยวยกระดับ 12 ชุมชนใน อีอีซี สร้างโมเดลการท่องเที่ยววิถีชุ มชนยั่งยืน
ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับเขตพัฒนาพิ เศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ในบทบาทของการพัฒนาโครงสร้างพื้ นฐาน ทั้งรถไฟความเร็วสูง เมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบั งและมาบตาพุด แต่อีอีซียังมีพันธกิ จและบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุ ตสาหกรรมเป้าหมายควบคู่กับการพั ฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่อีอีซีให้ ความสำคัญในปีนี้
นาง ชลจิต วรวังโส วีรกุล ผู้ช่วยเลขาธิการด้านเศรษฐกิ จมหาภาค สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพั ฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เล่าว่า โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวั นออกหรือ อีอีซี แบ่งงานออกเป็น 3 ส่วนหลักได้แก่ งานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมื องการบินภาคตะวันออก โครงการส่วนต่อขยายของท่าเรื อมาบตาพุดและท่าเรือแหลมฉบัง งานยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 12 อุตสาหกรรม และงานพัฒนาคุณภาพชีวิ ตและความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น งานด้านการศึกษา สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันเมื่อการลงทุ นโครงสร้างพื้นฐานคืบหน้าไปได้ ตามเป้าหมายแล้ว ในปี 2564 นี้ อีอีซี จึงมุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน
การพัฒนาชุมชนตามแนวทางของอีอี ซีมีงานที่สำคัญในหลายส่วนด้ วยกัน หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาโครงข่าย 5G และการนำร่องการประยุกต์ใช้ 5G ที่ตำบลบ้านฉางเป็นพื้นที่เมื องต้นแบบ สมาร์ทซิตี้เมืองน่าอยู่ที่มีการวางแผนการจัดการให้ทุ กฝ่ายอยู่ร่วมกันได้อย่างมี ความสุข
นายปรมินทร์ แสงศักดิ์สิทธารถ รองปลัดเทศบาลตำบลบ้านฉาง ให้ข้อมูลว่า ตำบลบ้านฉางเป็นเมืองที่อยู่คู่อุตสาหกรรม เพราะมีนิคมอุตสาหกรรมเอเชี ยและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอยู่ ด้านทิศตะวันออก จึงมีปัญหาเรื่องมลพิษ จึงเป็นความท้าทายในการยกระดั บให้ตำบลเป็นเมืองน่าอยู่ เมื่อปี 2562 มีการจัดทำบ้านฉางโมเดลเพื่อเป็ นเมืองต้นแบบและได้รับการสนั บสนุนจากอีอีซีและ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) ในการติดตั้ง 5G ช่วยให้การทำสมาร์ตซิตีเกิดขึ้ นได้จริง
เทศบาลตำบาลบ้านฉาง มีการติดตั้งระบบ 5G และ เสาอัจฉริยะที่สามารถเก็บข้อมู ลต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม คุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ การจราจร โดยระบบเซ็นเซอร์บันทึ กภาพและกล้องวีดิโอ เพื่อเฝ้าระวังติดตามความปลอดภั ยและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงนำข้อมูลที่ได้รั บประมวลผลบริหารจัดการให้เมื องมีความน่าอยู่มากขึ้น ที่ผ่านมามีเคสที่เกิดขึ้นจริง และได้ใช้ข้อมูลจากเสาอัจฉริ ยะในการคลี่คลายคดีอุบัติเหตุ และคดีอื่นๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีนี้เมื่อติดตั้งเสาอั จฉริยะครบ 146 จุด จะทำให้การทำงานของเมืองอัจฉริ ยะชัดเจนยิ่งขึ้น
และในช่วงที่เศรษฐกิจบอบช้ำ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ได้ รับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโควิด-19 อีอีซีได้จัดทำโครงการสนับสนุ นการท่องเที่ยววิถีชุมชน เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ ยวรายได้ดีเป็นหนึ่งในอุ ตสาหกรรมเป้าหมายของอีอีซี และภาคการท่องเที่ยวยังมีมูลค่ าคิดเป็นประมาณ 17% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของ 3 จังหวัด การยกระดับทักษะบุคลากรทางด้ านการท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่ อสถานการณ์โควิดคลี่คลายจึงสำคั ญอย่างมาก
ที่ผ่านมาอีอีซีเข้าไปช่วยเหลื อสนับสนุนชุมชนในหลายรูปแบบทั้ งโครงการสนับสนุนการท่องเที่ ยวผ่านกองทุนอีอีซี รวมถึงโครงการล่าสุดที่อีอีซีจั ดทำโครงการฝึกอบรมระยะสั้นเพื่ อยกระดับทักษะบุคลากรภาคการท่ องเที่ยวและการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งชุมชนตะเคียนเตี้ย เป็น 1 ใน 12 ชุมชนเป้าหมายที่อีอีซีมี แผนการยกระดับพัฒนาทักษะบุคลากร
นาย วันวิวัฒน์ เกศวา รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์ องค์กร สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า อีอีซีเห็นโอกาสในการส่งเสริมพั ฒนาทักษะ อาชีพ และสินค้าชุมชน ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่ งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอย่ างยั่งยืน โดยคัดเลือกชุมชน 12 แห่งเข้าร่วมโครงการพัฒนาชุมชน ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้ นในรูปแบบ Demand Driven โดยจัดหลักสูตรที่สอดคล้องกั บความต้องการของชุมชน เช่น ที่ชุมชนบ้านตะเคียนเตี้ย แม้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชุมชนมีความเข้มแข็ง แต่ก็ยังต้องการอบรมในบางหลักสู ตร เช่น การตลาดและการจัดทำแพ็คเกจท่ องเที่ยว ซึ่งอีอีซีจะเข้าสนับสนุนในจุ ดนี้
ภายใต้กรอบการทำงานของอีอีซี ในปี 2564 จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุ คลากรเป็นลำดับแรก โดย ดร.ชลจิต กล่าวอย่างชัดเจนว่า การพัฒนาคนเป็นหัวใจของการพั ฒนาอีอีซี โครงการต่าง ๆ ที่อีอีซีดำเนินการล้วนแล้วแต่ ช่วยเพิ่มโอกาส ช่วยสร้างรายได้ให้กับชุ มชนในหลากหลายมิติ ทั้งการพัฒนาโครงการพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ ยวเชิงคุณภาพก็ล้วนแล้วแต่เป็ นหนึ่งในการพัฒนาที่มีเป้ าหมายเพื่อยกระดับวิถีชีวิ ตความเป็นอยู่ของคนในอีอีซีทั้ งสิ้น
การสร้างเมืองต้นแบบที่สำเร็จจึ งไม่ใช่แค่เพียงการพัฒนาโครงสร้ างพื้นฐานเพียงอย่างเดียว แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่การพัฒนาคน ยกระดับความรู้ความสามารถ ควบคู่กับการสร้างความสุข ยกระดับจิตใจ ท้ายที่สุดแล้วอีอีซีจะเป็นต้ นแบบการพัฒนา ที่ภูมิภาคอื่นของประเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้อย่ างเหมาะสม เพื่อสร้างพื้นที่แห่งความสุขที่ ทุกภาคส่วนอยู่ร่วมกับได้อย่ างยั่งยืน
Category: