Categories: SUPPORT

มนุษย์และโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อก้าวสู่ยุคใหม่ “ยุคแอนโทรโพซีน”

สังคมที่แตกแยกผลักให้ผู้คนและสิ่งแวดล้อม สู่เส้นทางแห่งความขัดแย้ง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้กล่าวเอาไว้

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ได้เพิ่มตัวชี้วัดใหม่ ซึ่งแสดงถึงความท้าทายในการขจัด ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ในขณะที่ช่วยลดแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อม

การระบาดของโควิด 19 เป็นวิกฤตการณ์ครั้งล่าสุดที่โลกต้องเผชิญ แต่วิกฤตการณ์ดังกล่าวคงจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย นอกเสียจากว่ามนุษย์จะลดแรงกดดันต่อธรรมชาติ นี่คือผลจากจากรายงานการพัฒนามนุษย์ฉบับล่าสุดของ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งได้มีการรวมเอาดัชนีใหม่ซึ่งวัด ความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์ โดยใช้ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฟุตพริ้นท์วัสดุของประเทศต่างๆ

รายงานฉบับนี้ได้นำเสนอทางเลือกที่ชัดเจนสำหรับผู้นำโลกเพื่อดำเนินการอย่างเด็ดขาดในการลดแรงกดดันมหาศาลอันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ มิฉะนั้นความก้าวหน้าของมนุษยชาติจะต้องหยุดชะงักลง

“มนุษย์มีอิทธิพลต่อโลกใบนี้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ท่ามกลางการระบาดของโควิด 19 อีกทั้งอุณหภูมิโลกที่สูงเป็นประวัติการณ์และความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องใช้อิทธิพลนั้นในการกำหนดความหมายใหม่ของการพัฒนาซึ่งเราจะไม่สามารถปิดบังคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฟุตพริ้นท์ของการบริโภคของ เราได้อีกต่อไป” นาย Achim Steiner ผู้บริหารสูงสุดของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้

“จากรายงานที่ได้นำเสนอนี้ไม่มีประเทศไหนบนโลก ที่บรรลุเป้าหมายการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงได้ โดยไม่สร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม แต่เราสามารถที่จะเป็นคนรุ่นแรกที่จะแก้ไขความผิดพลาดนี้ และนี่คือพรมแดนใหม่แห่งการพัฒนามนุษย์”

เช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยกำลังประสบความท้าทาย ในการที่จะเร่งฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยไม่เพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จากรายงานฉบับนี้ ค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยอยู่ที่ 0.777 ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์อยู่ในระดับสูง ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 79 ของโลก (จาก 189 ประเทศ) ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้าสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก

เมื่อพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งจากปี 2557 จนถึง 2562 อันดับโลกของประเทศไทย ได้เพิ่มขึ้นมาถึง 8 อันดับ สะท้อนถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านอายุขัยเมื่อแรกเกิด จำนวนปีของการศึกษาในโรงเรียน และรายได้ต่อหัว แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าดังกล่าว แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมยังคง เป็นปัญหาใหญ่โดยค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยลดลงไปร้อยละ 16.9 หรืออยู่ที่ 0.646 เมื่อคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

นอกจากนี้ ค่าดัชนีดังกล่าวจะลดลงไปร้อยละ 7.9 หรืออยู่ที่ 0.716 เมื่อคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฟุตพริ้นท์วัสดุเพื่อการบริโภคท่ามกลางภาวะดังกล่าว การระบาดของโควิด 19 ก็ได้เกิดขึ้น ซึ่งผลกระทบของโควิด 19 ต่อการศึกษา สุขภาวะ และรายได้ของประชาชน อาจทำให้การพัฒนามนุษย์ทั่วโลกถดถอยลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ดัชนีการพัฒนามนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จ ในการรับมือกับการระบาดและการควบคุมการติดต่อของโรคโควิด19  แต่รายได้และความเป็นอยู่ของผู้คนก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ส่งผลให้ เกิดความล่าช้าในการบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน นี่จึงเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก จะได้พิจารณาวิถีแห่งการพัฒนาใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกคนรวมทั้งสิ่งแวดล้อม

รายงานฉบับนี้ ระบุว่า ทั้งมนุษย์และโลกได้ก้าวสู้ยุคใหม่ คือ ยุคแอนโทรโพซีน หรือยุคของมนุษย์ ถึงเวลาแล้วที่ทุกประเทศจะออกแบบเส้นทางใหม่สู่การพัฒนา โดยคำนึงถึงอันตรายต่อโลกที่มนุษย์ได้สร้างไว้ และสลายความไม่สมดุลทางอำนาจและโอกาสที่จะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

เปิดตัวรายงานการพัฒนามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2563 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจน องค์กรพัฒนาเอกชน ได้ให้ความสนใจในการร่วมงานครั้งนี้

เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวคิดดังกล่าว รายงานการพัฒนามนุษย์ฉบับครบรอบ 30 ปีนี้ ซึ่งมีชื่อว่า สู่พรมแดนใหม่:การพัฒนามนุษย์ในยุคแอนโทรโปซีน ได้มีการนำเสนอ มุมมองใหม่ต่อดัชนีการพัฒนามนุษย์ คือ Planetary pressures-adjusted HDI (PHDI) หรือ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยตัวชี้วัดเพิ่มอีก 2 ตัว ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และค่าฟุตพริ้นท์วัสดุ (Material Footprint) และดัชนี PHDI จะช่วยให้เห็นภาพรวมของโลกในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีความสวยงามน้อยลงแต่ชัดเจนมากขึ้น ในการประเมินความก้าวหน้าของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ดัชนีนี้ชี้ให้เห็นว่ามากกว่า 50 ประเทศหลุดออกจากกลุ่มประเทศ ที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงหรือระดับสูงมากหากคำนึงถึงการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและการเกิดฟุตพริ้นท์ วัสดุจากประเทศของตน

พรมแดนใหม่แห่งการพัฒนามนุษย์จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ ไม่ใช่การทำลายธรรมชาติโดยมี การแปลงเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยมรวมถึงแรงจูงใจของรัฐบาลและมาตรการจูงใจด้านการเงินไปพร้อมกัน

รายงานฉบับนี้กล่าวต่อไปว่าการลดแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยให้มนุษย์ทุกคนสามารถเจริญก้าวหน้าในโลกยุคใหม่ ต้องอาศัยการสลายความไม่สมดุลทั้งทางอำนาจและทางโอกาสอันเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงมาตรการของ ภาครัฐสามารถช่วยแก้ไขความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ โดยมีตัวอย่างเช่น การเพิ่มอัตราภาษีแบบก้าวหน้าและการทบทวนการ ให้เงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลจนถึงการส่งเสริมการพัฒนาบนพื้นฐานของธรรมชาติและการดูแลคุ้มครอง ชุมชนตามชายฝั่งต่างๆ

รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงโครงการอนุรักษ์ชุมชนป่าชายเลนในบ้านบางลาเพื่อปกป้องระบบนิเวศน์ตามชายฝั่งเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ UN Equator เมื่อปี พ.ศ. 2560 นี่เป็นตัวอย่าง ของการพัฒนาบนพื้นฐาน ของธรรมชาติซึ่งช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์และปกป้องความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ไปพร้อมกัน นอกจากนั้น การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนสำคัญของแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจาก สถานการณ์โควิค-19 ซึ่งกำหนดกรอบนโยบายเพื่อการฟื้นฟูประเทศไทย

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ได้ให้การสนับสนุนการฟื้นฟูที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การส่งเสริมการจ้างงานซึ่งคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนเขตกันชนต่างๆ ตลอดจนการติดตาม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในเมืองเป้าหมายและการจัดทำยุทธศาสตร์ทางการเงิน เพื่อสนับสนุนแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติปี พ.ศ.  2566 ถึง พ.ศ. 2569

การระบาดของโควิด 19 ได้แสดงถึงความท้าทายต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ก็นับเป็นโอกาสในการที่จะสร้างอนาคตให้ดีขึ้นด้วย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกในหนทางแห่งการฟื้นฟูที่สามารถปรับตัวได้ดีและเข้มแข็ง เพื่อไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ความพยายามร่วมกันของทุกฝ่ายนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น มากกว่าครั้งไหน ๆ เพื่อให้การพัฒนามนุษย์ได้ก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนสังคมและโลกของเราไปพร้อมๆ กัน

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.