สังคมที่แตกแยกผลักให้ผู้คนและสิ่งแวดล้อม สู่เส้นทางแห่งความขัดแย้ง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้กล่าวเอาไว้

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ได้เพิ่มตัวชี้วัดใหม่ ซึ่งแสดงถึงความท้าทายในการขจัด ความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ในขณะที่ช่วยลดแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อม

การระบาดของโควิด 19 เป็นวิกฤตการณ์ครั้งล่าสุดที่โลกต้องเผชิญ แต่วิกฤตการณ์ดังกล่าวคงจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย นอกเสียจากว่ามนุษย์จะลดแรงกดดันต่อธรรมชาติ นี่คือผลจากจากรายงานการพัฒนามนุษย์ฉบับล่าสุดของ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งได้มีการรวมเอาดัชนีใหม่ซึ่งวัด ความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์ โดยใช้ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฟุตพริ้นท์วัสดุของประเทศต่างๆ

รายงานฉบับนี้ได้นำเสนอทางเลือกที่ชัดเจนสำหรับผู้นำโลกเพื่อดำเนินการอย่างเด็ดขาดในการลดแรงกดดันมหาศาลอันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ มิฉะนั้นความก้าวหน้าของมนุษยชาติจะต้องหยุดชะงักลง

“มนุษย์มีอิทธิพลต่อโลกใบนี้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ท่ามกลางการระบาดของโควิด 19 อีกทั้งอุณหภูมิโลกที่สูงเป็นประวัติการณ์และความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องใช้อิทธิพลนั้นในการกำหนดความหมายใหม่ของการพัฒนาซึ่งเราจะไม่สามารถปิดบังคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฟุตพริ้นท์ของการบริโภคของ เราได้อีกต่อไป” นาย Achim Steiner ผู้บริหารสูงสุดของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้

“จากรายงานที่ได้นำเสนอนี้ไม่มีประเทศไหนบนโลก ที่บรรลุเป้าหมายการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงได้ โดยไม่สร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม แต่เราสามารถที่จะเป็นคนรุ่นแรกที่จะแก้ไขความผิดพลาดนี้ และนี่คือพรมแดนใหม่แห่งการพัฒนามนุษย์” 

เช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยกำลังประสบความท้าทาย ในการที่จะเร่งฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยไม่เพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จากรายงานฉบับนี้ ค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยอยู่ที่ 0.777 ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์อยู่ในระดับสูง ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 79 ของโลก (จาก 189 ประเทศ) ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้าสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก

เมื่อพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งจากปี 2557 จนถึง 2562 อันดับโลกของประเทศไทย ได้เพิ่มขึ้นมาถึง 8 อันดับ สะท้อนถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านอายุขัยเมื่อแรกเกิด จำนวนปีของการศึกษาในโรงเรียน และรายได้ต่อหัว แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าดังกล่าว แต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมยังคง เป็นปัญหาใหญ่โดยค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยลดลงไปร้อยละ 16.9 หรืออยู่ที่ 0.646 เมื่อคำนึงถึงความเหลื่อมล้ำ

นอกจากนี้ ค่าดัชนีดังกล่าวจะลดลงไปร้อยละ 7.9 หรืออยู่ที่ 0.716 เมื่อคำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และฟุตพริ้นท์วัสดุเพื่อการบริโภคท่ามกลางภาวะดังกล่าว การระบาดของโควิด 19 ก็ได้เกิดขึ้น ซึ่งผลกระทบของโควิด 19 ต่อการศึกษา สุขภาวะ และรายได้ของประชาชน อาจทำให้การพัฒนามนุษย์ทั่วโลกถดถอยลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่ดัชนีการพัฒนามนุษย์ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จ ในการรับมือกับการระบาดและการควบคุมการติดต่อของโรคโควิด19  แต่รายได้และความเป็นอยู่ของผู้คนก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ส่งผลให้ เกิดความล่าช้าในการบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน นี่จึงเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก จะได้พิจารณาวิถีแห่งการพัฒนาใหม่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่จะสร้างประโยชน์ให้กับทุกคนรวมทั้งสิ่งแวดล้อม

รายงานฉบับนี้ ระบุว่า ทั้งมนุษย์และโลกได้ก้าวสู้ยุคใหม่ คือ ยุคแอนโทรโพซีน หรือยุคของมนุษย์ ถึงเวลาแล้วที่ทุกประเทศจะออกแบบเส้นทางใหม่สู่การพัฒนา โดยคำนึงถึงอันตรายต่อโลกที่มนุษย์ได้สร้างไว้ และสลายความไม่สมดุลทางอำนาจและโอกาสที่จะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้

เปิดตัวรายงานการพัฒนามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2563 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ตลอดจน องค์กรพัฒนาเอกชน ได้ให้ความสนใจในการร่วมงานครั้งนี้

เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวคิดดังกล่าว รายงานการพัฒนามนุษย์ฉบับครบรอบ 30 ปีนี้ ซึ่งมีชื่อว่า สู่พรมแดนใหม่:การพัฒนามนุษย์ในยุคแอนโทรโปซีน ได้มีการนำเสนอ มุมมองใหม่ต่อดัชนีการพัฒนามนุษย์ คือ Planetary pressures-adjusted HDI (PHDI) หรือ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยตัวชี้วัดเพิ่มอีก 2 ตัว ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และค่าฟุตพริ้นท์วัสดุ (Material Footprint) และดัชนี PHDI จะช่วยให้เห็นภาพรวมของโลกในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีความสวยงามน้อยลงแต่ชัดเจนมากขึ้น ในการประเมินความก้าวหน้าของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ดัชนีนี้ชี้ให้เห็นว่ามากกว่า 50 ประเทศหลุดออกจากกลุ่มประเทศ ที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงหรือระดับสูงมากหากคำนึงถึงการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและการเกิดฟุตพริ้นท์ วัสดุจากประเทศของตน

พรมแดนใหม่แห่งการพัฒนามนุษย์จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับธรรมชาติ ไม่ใช่การทำลายธรรมชาติโดยมี การแปลงเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคม ค่านิยมรวมถึงแรงจูงใจของรัฐบาลและมาตรการจูงใจด้านการเงินไปพร้อมกัน

รายงานฉบับนี้กล่าวต่อไปว่าการลดแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยให้มนุษย์ทุกคนสามารถเจริญก้าวหน้าในโลกยุคใหม่ ต้องอาศัยการสลายความไม่สมดุลทั้งทางอำนาจและทางโอกาสอันเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงมาตรการของ ภาครัฐสามารถช่วยแก้ไขความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ โดยมีตัวอย่างเช่น การเพิ่มอัตราภาษีแบบก้าวหน้าและการทบทวนการ ให้เงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลจนถึงการส่งเสริมการพัฒนาบนพื้นฐานของธรรมชาติและการดูแลคุ้มครอง ชุมชนตามชายฝั่งต่างๆ

รายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงโครงการอนุรักษ์ชุมชนป่าชายเลนในบ้านบางลาเพื่อปกป้องระบบนิเวศน์ตามชายฝั่งเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ UN Equator เมื่อปี พ.ศ. 2560 นี่เป็นตัวอย่าง ของการพัฒนาบนพื้นฐาน ของธรรมชาติซึ่งช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์และปกป้องความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ไปพร้อมกัน นอกจากนั้น การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนสำคัญของแผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจาก สถานการณ์โควิค-19 ซึ่งกำหนดกรอบนโยบายเพื่อการฟื้นฟูประเทศไทย

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ได้ให้การสนับสนุนการฟื้นฟูที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การส่งเสริมการจ้างงานซึ่งคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชนเขตกันชนต่างๆ ตลอดจนการติดตาม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในเมืองเป้าหมายและการจัดทำยุทธศาสตร์ทางการเงิน เพื่อสนับสนุนแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติปี พ.ศ.  2566 ถึง พ.ศ. 2569

การระบาดของโควิด 19 ได้แสดงถึงความท้าทายต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ก็นับเป็นโอกาสในการที่จะสร้างอนาคตให้ดีขึ้นด้วย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกในหนทางแห่งการฟื้นฟูที่สามารถปรับตัวได้ดีและเข้มแข็ง เพื่อไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ความพยายามร่วมกันของทุกฝ่ายนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็น มากกว่าครั้งไหน ๆ เพื่อให้การพัฒนามนุษย์ได้ก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนสังคมและโลกของเราไปพร้อมๆ กัน

 

Category:

Passion in this story