Categories: SUPPORT

นายกฯ เกาะติด EEC เดินหน้าปั้นธุรกิจเด่น

วันนี้ (5 ตุลาคม) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพื่อติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินงาน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน 3 โครงการที่ได้เอกชนร่วมลงทุนพร้อมเริ่มดำเนินการแล้ว คือ

1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน การดำเนินงานเป็นไปตามแผนคณะทำงานเร่งรัดโดยช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนดำเนินงานเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 ช่วงดอนเมือง-พญาไทจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนดำเนินงานเดือนมกราคม 2565  ในส่วนงานแอร์พอร์ต เรลลิงก์ บริษัทเอกชนคู่สัญญาได้เริ่มดำเนินการในช่วงระยะที่ 1 แล้ว คือการปรับปรุงคุณภาพบริการและปรับปรุงความสามารถการเดินรถ

2. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก บริษัทเอกชนได้ส่งแผนแม่บทฉบับเบื้องต้นโครงการ (Preliminary Master Plan) และกองทัพเรือ ได้ส่งร่างรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มาตรการป้องกันและแก้ไข ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) ให้แก่ สกพอ.เพื่อพิจารณา โดยปัจจุบันคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบูรณาการโครงการ ฯ เพื่อให้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตามเป้าหมายในปี 2567

3. โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3  คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาผู้แทนจาก สกพอ. และ กนอ. ได้พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคและขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างนำเสนออนุมัติว่าจ้างที่ปรึกษาต่อ กพอ. เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ ต่อไป

ทั้งนี้ เหลือโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 3 โครงการ ยังคงดำเนินการต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ท่าเทียบเรือ F จะลงนามสัญญากับเอกชนได้ภายใน 2563 นี้ โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) รอความชัดเจนแผนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย และโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) อยู่ระหว่างจัดทำร่างประกาศเชิญชวนเอกชนรับเอกสารข้อเสนอ (Request for Proposal: RFP) ฉบับใหม่

เดินหน้าโครงการต่อเนื่อง

สำหรับการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ปัจจุบันยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง และมีความคืบหน้าหลายโครงการ เกิดการลงทุนจากงบบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โครงสร้างพื้นฐานรัฐร่วมเอกชน (PPP) และการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ มีมูลค่าสูงถึง 1,582,698 ล้านบาท (ณ กันยายน 2563)  แบ่งเป็น

  1. งบบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (โครงสร้างพื้นฐาน) อนุมัติแล้ว 67,687 ล้านบาท มูลค่าการลงทุนระหว่างปี 2561–2564 มูลค่า 50,757 ล้านบาท และเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง ปี 2565–2567 มูลค่า 16,930 ล้านบาท
  2. โครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน หรือ PPP ได้ผู้ลงทุน 3 โครงการ ทำสัญญาแล้วรวม 527,603 ล้านบาท โดยจะมีการลงทุนในปี 2563 มูลค่า 2,565 ล้านบาท ในปี 2564 มูลค่า 55,783 ล้านบาท และลงทุนตลอดระยะเวลาโครงการ 469,255 ล้านบาท
  3. ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ส่งเสริมการลงทุนให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ อีอีซี ตั้งแต่ปี 2560–เดือนมิถุนายน 2563 รวมเป็นมูลค่าการลงทุน 987,408 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนของภาคเอกชนทั้งสิ้น

ดึงนักลงทุนต่างชาติ

นอกจากนี้ สกพอ. ได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงต่างประเทศ เพื่อชักจูงนักลงทุนผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานของไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศต่าง ๆ ที่มีกลุ่มนักลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย

โดยได้ดำเนินการประชุมทางไกลร่วมกับหน่วยงานกระทรวงต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตกว่า 50 คน พร้อมจัดส่งรายชื่อบริษัทและเจ้าของเทคโนโลยี เพื่อชักชวนให้เกิดการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ซึ่งเบื้องต้นได้จัดประชุมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) เจาะลึก และจัดส่งข้อมูลการลงทุนให้กับเอกอัครราชทูตประจำประเทศนั้น ๆ แล้ว ได้แก่ สหราชอาณาจักร 2 บริษัท สิงคโปร์ 1 บริษัท สหรัฐอเมริกา 2 บริษัท และฝรั่งเศส 2 บริษัท

ขับเคลื่อน 3 ธุรกิจเด่น

ส่วนแนวทางการส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี สกพอ. ได้สร้างกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นสนับสนุน 3 แกนนำกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพสูง ได้แก่

1) กลุ่มธุรกิจสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี ต่อยอดจากอุตสาหกรรมเป้าหมายการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เน้นเทคโนโลยีระบบการแพทย์แม่นยำ จีโนมิกส์

2) กลุ่มดิจิทัลและเทคโนโลยี 5G ต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และยานยนต์สมัยใหม่ เน้นเทคโนโลยีระบบ 5G การพัฒนา Platform บนพื้นฐาน 5G

3) ระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart logistics) ต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมาย การบินและด้านโลจิสติกส์  อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เน้นเทคโนโลยีระบบจัดการเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงกับสนามบินอู่ตะเภา

ยกระดับบุคลากรการศึกษา 

ในขณะเดียวกัน สกพอ. ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะบุคลากรตรงตามความต้องการ Demand driven ภาคเอกชนร่วมจ่าย (อีอีซีโมเดล) โดยประมาณความต้องการบุคลากรในพื้นที่อีอีซี ระยะเวลา 5 ปี (2562–2566) จำนวน 475,000 อัตรา พร้อมพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมทักษะบุคลากร 200 หลักสูตรใหม่

ทั้งนี้ แผนดำเนินการ อีอีซีโมเดล ปี 2564 มีเป้าหมายพัฒนาทักษะบุคลากรให้ได้ 20,000–30,000 คน แบ่งเป็น

1) อีอีซีโมเดล Type 1 : ภาคเอกชนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด 100%  หลักสูตรอาชีวศึกษา พร้อมค่าใช้จ่ายรายเดือนให้ผู้เรียนระหว่างที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงรับนักศึกษาเข้าทำงาน ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว 2,516 คน

2) อีอีซีโมเดล Type 2 : ภาครัฐและเอกชนสนับสนุนร่วมกัน 50 : 50 ฝึกอบรมระยะสั้น (Short Courses) เพื่อผลิตกำลังคน ปรับทักษะ (Re skill) เพิ่มทักษะ (Up skill) ในระยะเร่งด่วน และได้ทำงานทันที ซึ่งได้มีการอนุมัติหลักสูตร Short Courses แล้ว 89 หลักสูตรจาก 200 หลักสูตร ปัจจุบันได้ดำเนินการแล้ว 6,064 คน และได้รับงบประมาณเพื่อเตรียมดำเนินการเพิ่มอีก 13,350 คน

นอกจากนี้ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 สกพอ. ได้ขับเคลื่อน “โครงการฝึกอบรมเพื่อชะลอการว่างงานและยกระดับทักษะตรงกับงานในอนาคต อุตสาหกรรมยานยนต์” ภายใต้ พ.ร.บ.เงินกู้ 400,000 ล้านบาท นำหลักสูตร Short Courses เพิ่มทักษะให้บุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ให้ถูกปลดจากงาน สร้างรายได้เพิ่ม 9,500 คน


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.