Categories: News

PwC เผยนักลงทุนทั่วโลกให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหา Climate Change

  • 44% ของนักลงทุนที่ถูกสำรวจกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรเป็นภารกิจสำคัญห้าอันดับแรกของบริษัทต่าง ๆ

  • 78% ของนักลงทุนเชื่อว่า ‘การฟอกเขียว’ หรือการอ้างเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและรักษ์โลก แต่ไม่ได้มีการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจริง กำลังแพร่หลายในการรายงานความยั่งยืนขององค์กร

  • การให้ความสำคัญกับสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นวาระสำคัญสำหรับนักลงทุน โดยเกือบสองในสามกล่าวว่าผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น คือ แรงจูงใจที่สำคัญ

  • รายงานความยั่งยืนที่ได้มาตรฐานในประเทศไทย ยังคงจำกัดอยู่ในบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศเท่านั้น

PwC เผยผลสำรวจ Global Investor Survey ประจำปี 2565 ของ PwC ระบุว่า นักลงทุนกำลังจัดการกับภารกิจสำคัญหลายอย่างด้วยข้อมูลที่มีจำกัด โดยแม้ว่าเงินเฟ้อ (67%) และความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค (62%) ถือเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดที่พวกเขามองว่า ธุรกิจจะต้องเผชิญในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่นักลงทุนเกือบครึ่งหนึ่ง (44%) ที่ถูกสำรวจเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรเป็นภารกิจสำคัญห้าอันดับแรกสำหรับธุรกิจ ตรงกันข้ามกับเปอร์เซ็นต์การจัดอันดับที่ต่ำกว่าของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เช่น การปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน (27%) และการปรับปรุงความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของกำลังแรงงาน (25%) ขณะที่ลำดับความสำคัญสูงสุดสำหรับธุรกิจที่นักลงทุนระบุ คือ นวัตกรรม (83%) ตามมาด้วยการเพิ่มผลกำไร (69%)

.

ประเด็นปัญหาความน่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ดี นักลงทุนกำลังเผชิญกับสภาพแวดล้อมด้านข้อมูลข่าวสารที่ยุ่งยาก และมีระดับความน่าเชื่อถือในการรายงานความยั่งยืนขององค์กรที่ต่ำ นักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่า รายงานขององค์กรประกอบด้วยการกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์เกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท โดยสามในสี่ (78%) กล่าวว่า ‘คำกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์’ มีอยู่ในระดับปานกลาง มาก หรือมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นเป็น 87% เมื่อรวมผู้ที่กล่าวว่า มีข้อมูลในระดับจำกัด และมีเพียง 2% เท่านั้นที่กล่าวว่า การรายงานขององค์กร ไม่มีคำกล่าวอ้างที่ไม่มีหลักฐานพิสูจน์เกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

.

นาย ชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า ‘จริงอยู่ว่า นักลงทุนไทยเริ่มให้น้ำหนักกับรายงานความยั่งยืนกันมากขึ้น และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ประกอบการพิจารณาการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในช่วงของการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน แต่อย่างไรก็ดี รายงานความยั่งยืนของบริษัทไทยที่ได้มาตรฐาน ยังจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจ หรือเป็นคู่ค้ากับต่างประเทศเท่านั้น ดังนั้น การได้รับการตรวจสอบ ESG Assurance จากหน่วยงานหรือผู้สอบบัญชีที่น่าเชื่อถือ จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับรายการที่บริษัทได้ทำการเปิดเผยให้แก่นักลงทุน’

.

นอกจากนี้ ข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้าน ESG ก็ไม่ได้เติมเต็มช่องว่างของความน่าเชื่อถือนี้ โดยมีเพียง 22% ของนักลงทุนที่ถูกสำรวจที่กล่าวว่า พวกเขาใช้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่มาก หรืออย่างมาก

.
นาง นาดจา พิคาร์ด หัวหน้ากลุ่มธุรกิจการรายงานทั่วโลก PwC ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า
‘เมื่อนักลงทุนเกือบแปดในสิบบอกเราว่า พวกเขาสงสัยว่าจะมีการฟอกเขียว[1] ในรายงานความยั่งยืนขององค์กร บริษัทและหน่วยงานกำกับดูแลควรต้องตระหนักในเรื่องนี้ การขาดความไว้วางใจกำลังเป็นเป็นปัญหา เนื่องจากข้อมูลด้านความยั่งยืนมีความสำคัญมากขึ้นต่อการตัดสินใจของทั้งนักลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ จึงมีความจำเป็นที่บริษัทต่าง ๆ จะต้องปรับปรุงข้อมูล ระบบ และการกำกับดูแลของตนเอง ในส่วนของหน่วยงานกำกับดูแล ควรมุ่งเน้นไปที่การรายงานและมาตรฐานการรับรองรายงานที่สอดคล้องกันทั่วโลกและทำงานร่วมกันได้’

.

การมุ่งเน้นด้านสภาพภูมิอากาศ เป็นภารกิจสำคัญเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ นักลงทุนที่ถูกสำรวจเห็นว่า การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยสองในสาม (64%) กล่าวว่า การมุ่งเน้นการลงทุนด้าน ESG นั้น มาจากความปรารถนาที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน และ 68% กล่าวว่า การปกป้องผลตอบแทนจากการลงทุนก็เป็นแรงจูงใจเช่นกัน ขณะที่นักลงทุนมากถึง 82% กล่าวว่า เป็นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

.

ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึง การตระหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นในฐานะความเสี่ยงที่สำคัญที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ โดยหนึ่งในห้า (22%) เชื่อว่า บริษัทต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นอย่างมากที่จะเผชิญกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในอีก 12 เดือนข้างหน้า และเมื่อมองไปในช่วงเวลาห้าปีข้างหน้า ตัวเลขดังกล่าว ยังสูงขึ้นเป็น 37% ซึ่งเท่ากับความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (37%) และยังพบว่า ในช่วงระยะเวลาสิบปี การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน (50%) เกือบจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (53%) เนื่องจากเป็นแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัย หรือมีนัยอย่างมากต่อความสามารถในการทำกำไร

.

นอกจากนี้ นักลงทุนยังสนับสนุนมาตรการนโยบายสาธารณะที่สำคัญเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยส่วนต่าง 28 คะแนน พวกเขามีแนวโน้มที่จะคิดว่า การจัดเก็บภาษีสำหรับกิจกรรมที่ไม่ยั่งยืนจะ ‘มีประสิทธิภาพ’ มากกว่า ‘ไม่มีประสิทธิภาพ’ ในการโน้มน้าวให้องค์กรต่าง ๆ ให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืน ขณะที่ส่วนต่างสำหรับการสนับสนุนให้มีข้อกำหนดการรายงานที่แข็งแกร่งอยู่ที่ 34 คะแนน และการให้เงินสนับสนุนเฉพาะกลุ่มอยู่ที่ 20 คะแนน
.

ขณะที่นักลงทุน (66%) กล่าวว่า บริษัทต่าง ๆ ควรเปิดเผยมูลค่าทางการเงินของ ‘ผลกระทบจากการดำเนินงานหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม หรือสังคม’ เนื่องจากจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เข้าใจถึงผลทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ของการตัดสินใจทางธุรกิจของพวกเขา และมีเพียง 13% เท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ เกือบสามในสี่ (73%) ของนักลงทุน ต้องการให้บริษัทต่าง ๆ รายงานต้นทุนเพื่อให้เป็นไปตามพันธสัญญาด้านความยั่งยืนที่พวกเขาได้ตั้งเป้าไว้

การฟอกเขียว (Greenwashing) คือ การทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดด้วยการโฆษณาสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเชื่อว่า สินค้า เป้าหมาย และนโยบายขององค์กร มีความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ด้านนาย วิล แจ็คสัน-มัวร์ หัวหน้ากลุ่มธุรกิจ ESG ทั่วโลก PwC ประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวว่า
‘แม้ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย นักลงทุนเกือบครึ่งหนึ่งมองว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุดห้าอันดับแรกสำหรับธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ถือเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการบรรลุความสำเร็จทางการค้าและการดึงดูดเงินทุน นักลงทุนคาดหวังให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่จะช่วยเพิ่มผลกำไร สร้างความไว้วางใจ และส่งมอบผลลัพธ์ที่ยั่งยืนได้’

.

ทั้งนี้ ความน่าเชื่อถือในการรายงานความยั่งยืน ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุน ในเรื่องของการตรวจสอบและให้การรับรอง สามในสี่ (75%) ของนักลงทุนกล่าวว่า การให้การรับรองรายงานที่สมเหตุสมผล (ระดับที่ระบุในงบการเงิน) จะให้ความมั่นใจแก่พวกเขาในการรายงานความยั่งยืนขององค์กร นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องการจากผู้ให้การรับรองรายงาน โดยเจ็ดในสิบ (72%) กล่าวว่า สิ่งสำคัญ คือ ผู้ให้การรับรองจะต้องมีความเป็นอิสระและมีมาตรฐานทางจริยธรรม และ 73% เน้นย้ำถึงความสำคัญของการตั้งข้อสังเกตและสงสัยของผู้ประกอบวิชาชีพ โดยการมีความรู้เกี่ยวกับประเด็นเรื่องการตรวจสอบ ถือเป็นคุณสมบัติอันดับแรก (78%) ที่นักลงทุนต้องการจากผู้ให้การรับรอง

.

นาย เจมส์ ชาลเมอร์ส หัวหน้าสายงานตรวจสอบบัญชีทั่วโลก PwC ประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวว่า
‘ข้อมูลที่แสดงความมั่นใจได้โดยอิสระ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุนและผลการดำเนินงานของบริษัทในประเด็นสำคัญ ๆ เช่น ความยั่งยืน แต่การสร้างความไว้วางใจอย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจสอบจะต้องมีคุณภาพสูง ด้วยมาตรฐานวิชาชีพที่แข็งแกร่ง และการผสมผสานระหว่างการตรวจสอบบัญชีและความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง’

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.