Categories: News

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ S Curve ที่ 12 หนึ่งในโอกาสอุตสาหกรรม ทำรายได้หมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 20-21 มีนาคม พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา สมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ (สอป.) ได้จัดงานแสดงเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ครั้งที่ 1/ 2566 เพื่อแสดงถึงความพร้อมของภาครัฐและภาคเอกชน ในการผลักดันอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ New S Curve ที่ 12 ให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย

.

อุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญแห่งอนาคตที่ประเทศไทย กำหนดเป้าหมายให้เป็นอุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S Curve ที่มีส่วนสำคัญในการนำรายได้เข้าประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีงบประมาณในการจัดซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์ปีละกว่า 50,000 ล้านบาท ขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างก็มีงบประมาณในการจัดหายุทธภัณฑ์ปีละหลายล้านล้านบาท จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศในการพัฒนายุทธภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก ซึ่งเทคโนโลยีเพื่อการป้องกันประเทศของไทยนั้น มีความโดดเด่นและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ไม่แพ้ประเทศชั้นนำ

พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรม เพื่อการป้องกันประเทศ (สอป.) กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการส่งเสริมสนับสนุน โดยในส่วนของต้นน้ำนั้นภาครัฐมีแนวทางในการขับเคลื่อนอยู่แล้ว เช่น ในเรื่องความมั่นคง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  แต่สิ่งที่ต้องสนับสนุนกับคือ ด้นากลางน้ำของอุตสาหกรรม ซึ่งการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดได้นั้น จะต้องมีกลไกที่ช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเดินหน้าได้อย่างแท้จริง เช่น  การส่งเสริมการลงทุน การจัดเก็บภาษี การสนับสนุนการเงิน การศึกษาวิจัย การขึ้นบัญชีนวัตกรรม และการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์

.

ที่ผ่านมาภาครัฐมุ่งเน้นการซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศ ซึ่งอาจจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงวกับความต้องการ แต่ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมภายในประเทศ ส่งผลให้เอกชนไม่เกิดการวิจัยและพัฒนา ทำให้อุตสาหกรรมภายในประเทศไม่แข็งแกร่ง หากภาครัฐต้องการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศเป็นหนึ่งใน New S Curve จริง ควรจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากเอกชนในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมเดินหน้าได้ เกิดการพัฒนา เกิดการวิจัย ทำให้ผลิตภัณฑ์ดีขึ้น สามารถส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศได้ ซึ่งเป็นทางออกในการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง

ดร.นพรัตน์ กุลหิรัญ รองประธาน บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด หรือ มาดามรถถัง กล่าวว่า ชัยเสรี ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2511 จากการรับซ่อมยานยนต์ให้กับกองทัพ กระทั่งปัจจุบันเป็นบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ และรถหุ้มเกราะที่มีการส่งออกไปยัง 44 ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่างประเทศยอมรับในด้านคุณภาพของสินค้าจากประเทศไทย ดังนั้นภาครัฐควรจะมีบทบาทในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ผลักดันให้เกิดการใช้งานภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นการอ้างอิงที่ดีให้กับภาคเอกชนในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ และภาครัฐควรจะผลักดันในการแก้ไขกฎหมายต่างๆที่เป็นอุปสรรคกับภาคอุตสาหกรรม เช่น เรื่องภาษีการนำเข้าวัตถุดิบ กฎหมายควบคุมในการผลิต และการส่งออก ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนมีความคล่องตัวมากขึ้น

.

อุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของไทยที่มีศักยภาพสูง แต่ที่ผ่านมายังขาดการส่งเสริมอย่างจริงจังจากภาครัฐ อย่างไรก็ตามการผลักดันให้ อุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ เป็นหนึ่งใน News S Curve นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังต้องอาศัยการผลักดันและความร่วมมือจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะการผลักดันที่สำคัญจากภาครัฐ

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.