KTAM แนะทางเลือก PVD 4 กลุ่ม ยืดหยุ่น ตอบรับไลฟ์สไตล์ลงทุนได้ทุกรูปแบบ เพิ่มความมั่นคงหลังเกษียณ
KTAM แนะปรับแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เหมาะสม รับเทรนด์ และสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน แนะนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยมั่นคง มาสเตอร์พูล ฟันด์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กับ 16 นโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ตอบรับไลฟ์สไตล์ลงทุนได้ทุกรูปแบบ
.
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันระดับการออมของประชากรไทยยังอยู่ในระดับต่ำและกระจุกตัวในวงจำกัด รวมถึงการออมเพื่อการเกษียณอายุผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งถือว่าเป็นอีกแหล่งเงินที่สำคัญในยามเกษียณ นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงควรให้ความสำคัญ ใส่ใจดูแล พร้อมปรับพอร์ตเพื่อให้เข้ากับสภาวการณ์ และควรสร้างวินัยในการออมเพื่ออนาคตที่มั่นคง
.
“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะสมทบเงินจำนวนหนึ่งเข้ากองทุนทุกเดือน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันให้พนักงานในยามเกษียณอายุหรือลาออกจากงาน จึงเป็นกองทุนที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของพนักงาน และด้วยสภาวะที่ข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ หน่วยงานหรือองค์กร ควรเลือกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เหมาะสม มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายลงทุนให้สอดคล้องและตอบโจทย์ทางเลือกในการลงทุนที่เปลี่ยนไป เพื่อรักษาเงินลงทุนให้มีโอกาสงอกเงยสม่ำเสมอ นอกจากนี้ จะต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้สมาชิกให้เข้าใจถึงการลงทุน เพื่อให้สมาชิกเลือกแผนการลงทุนที่ตรงกับความต้องการภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างแท้จริง” นางชวินดา กล่าว
.
KTAM จึงแนะนำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไทยมั่นคง มาสเตอร์พูล ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว โดยกองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนให้เลือกลงทุนถึง 16 นโยบาย ภายใต้ 4 กลุ่มนโยบายหลัก ได้แก่ กลุ่มนโยบายตราสารหนี้ กลุ่มนโยบายผสม กลุ่มนโยบายตราสารทุน และกลุ่มนโยบายทางเลือก โดยนายจ้างและพนักงานสามารถกำหนด และเลือกแผนการลงทุนได้ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ซึ่งนโยบายการลงทุนทั้ง 16 นโยบายนี้ มีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย อาทิเช่น การลงทุนในทองคำ ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมตราสาร กองทุนรวมแบบผสม และกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ เป็นต้น
.
อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินออมระยะยาว ที่สมาชิกจะได้ไว้ใช้ในตอนเกษียณอายุหรือตอนออกจากงาน ดังนั้นการจะเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะสมนั้น ควรขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ยอมรับได้ในปัจจุบัน รวมถึงการประเมินเป้าหมายการใช้เงินหลังเกษียณว่ามีความต้องการใช้เงินต่อเดือนเท่าไร เพื่อประเมินเบื้องต้นได้ว่า ควรจะต้องออมเงินเท่าไร และควรมีผลตอบแทนเท่าไร จึงจะเพียงพอกับเป้าหมายในการลงทุน
.
นอกจากแผนการลงทุนที่เลือกและปรับเปลี่ยนได้แล้ว KTAM ยังมีผู้ช่วยในการลงทุน “KTAM PVD Fund Application” ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ 24 ชั่วโมง ทั้งการข้อมูลสมาชิก สรุปยอดเงินในกองทุน เงินนำส่งรายเดือน รายละเอียดนโยบายการลงทุน สับเปลี่ยนแผนการลงทุน โปรแกรมคำนวณการวางแผนการเกษียณ รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารข้อมูลกองทุน รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนทั้งรายเดือนและรายสัปดาห์ได้ตลอดเวลา
.
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือ http://bitly.ws/sJFR
.
คำเตือน ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.