สรรพสามิตพร้อมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ปี 2566 ด้วยกลยุทธ์ “EASE Excise” มุ่งสู่การเป็นผู้นำการจัดเก็บภาษี สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน พร้อมรักษาผลประโยชน์ชาติ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รักษาเสถียรภาพการคลัง และวางรากฐานให้สังคม
ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า “ในปัจจุบันมี 4 เทรนด์ที่ท้าทายต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานของกรมสรรพสามิต ได้แก่ 1. การฟื้นตัวจากโควิด-19 ท่ามกลางสงครามการค้าและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคธุรกิจและผู้บริโภค 3. สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้ธุรกิจด้านสุขภาพมีการเติบโตมากขึ้น และ 4. ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกทาให้ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้มาตรการทางภาษีเป็นตัวขับเคลื่อน
จะเห็นได้ว่า บทบาทของกรมสรรพสามิตนอกจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมาตรฐานและผลักดันในเรื่องดังกล่าวผ่านมาตรการภาษีสรรพสามิต ทั้งในด้านการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เติบโต หรือในขณะเดียวกันก็สามารถใช้มาตรการภาษีในการช่วยลดการบริโภคในสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยภาษีสรรพสามิต โดยมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน” เพื่อให้ การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืนสอดคล้องตามนโยบายภาพใหญ่ของกระทรวงการคลังและภาครัฐ
“ภายใต้การเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ ปี 2566 นี้ กรมได้ทำตามกลยุทธ์ ‘EASE Excise’ ซึ่งหมายถึงการเป็นกรมสรรพสามิตที่ยืดหยุ่นมีความคล่องตัว มุ่งสู่การเป็นผู้นำการจัดเก็บภาษี สิ่งแวดล้อม สังคม และมี ธรรมาภิบาล เพื่อเดินหน้าสู่ความยั่งยืน โดยจะมุ่งดาเนินงานภายใต้ 4 เสาหลัก (Pillar) ได้แก่
เสาที่ 1 ESG/BCG Focus คือการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมศักยภาพให้กับสินค้า/บริการ ในกลุ่ม ESG/BCG เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2065 โดยกรมสรรพสามิตมีแนวทาง ในการสนับสนุนการนาเอทานอลบริสุทธิ์มาใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bio Plastic) เชื้อเพลิงชีวภาพอากาศยาน (Bio Jet) ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในขั้นตอนการผลิตสินค้า อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้นอีกด้วย
การปรับโครงสร้างภาษีแบตเตอรี่ที่จะให้ความสำคัญกับกระบวนการรีไซเคิลเพื่อลดปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น นอกจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม กรมสรรพสามิตยังให้ความสำคัญในแนวทางการใช้มาตรการภาษีในการลดผลกระทบเชิงสังคม โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพ เพื่อเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน ความมั่นคงของประเทศด้วย
เสาที่ 2 Agile way of working คือการทำงานที่เน้นความคล่องตัว พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะหลากหลายและจำเป็นต่อการปฏิบัติงานยุคใหม่ อาทิ Digital Skill, Data Skill เป็นต้น รวมถึงระบบการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ การใช้ระบบการทางานแบบ Agile และการนำกระบวนการ Design Thinking มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้รวดเร็ว คล่องตัว และสร้างสรรค์ เพื่อเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว
เสาที่ 3 Standardization คือการปรับเปลี่ยนกระบวนงานในทุกมิติเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) และนำประสบการณ์ของผู้เสียภาษีมาสร้างมาตรฐานการให้บริการ (Service Standard) รวมทั้งการนำระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่คำนึงถึงสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล (ESG) มาใช้ในกรมสรรพสามิต
เสาที่ 4 End-to-End Customer-Centric Service บริการผู้เสียภาษีตั้งแต่ต้นจนจบในทุกช่องทางแบบไร้รอยต่อ (Omni Channel) สร้างต้นแบบหน่วยงานบริการแบบไร้กระดาษ (Paperless) มุ่งสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการสู่ความยั่งยืน
“ด้วยยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่กรมสรรพสามิตตั้งใจจะขับเคลื่อนนี้ จะเป็นการวางรากฐานให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน สร้างเศรษฐกิจให้เติบโต ส่งเสริมสังคม และสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยกรมสรรพสามิตจะเน้นการเป็นกลไกสำคัญของประเทศที่ส่งเสริมให้สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจมั่นคงเข้มแข็งและมีเสถียรภาพ พร้อมทั้งช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศให้มีมาตรฐานสากล สร้างประโยชน์สูงสุด และความยั่งยืนให้กับประชาชนและประเทศชาติต่อไป”
Category:
Tags: