Categories: News

จะอยู่อย่างไรกับเงิน 5000 บาท

4.7 / 5 ( 10 votes )

เพื่อนๆ ที่คุ้นเคยกับการกินบุฟเฟต์ชาบู หรือบุฟเฟต์ปิ้งย่าง แล้วคิดว่ามันคุ้มค่ามากๆ ซึ่งก็เป็นความจริงกับช่วงที่ยังมีรายได้จากการทำงานประจำอยู่ แต่หากใครต้องออกจากงาน ถูกเลิกจ้าง คงกำลังอยู่ในสภาวะหนักอก หนักใจ ว่าจะก้าวเดินไปกับชีวิตนี้อย่างไร โดยเฉพาะเพื่อนๆ ที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีกำหนดว่าจะมีรายได้เข้ามาอีกครั้งเมื่อไหร่…

แต่ก็นั่นแหละ…ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น แต่ชีวิตก็ยังต้องดำเนินต่อไปบนวิถีทางที่เราอยากให้เป็น ถ้ายังมีลมหายใจ อย่างไรเสียก็ยังต่อสู้ดิ้นรนกันไป…

สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐ 5000 บาท เป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก…แต่ก็ไม่น้อยสำหรับใครอีกหลายๆ คนที่กำลังประสบปัญหาขาดรายได้ในช่วงที่ภาระเศรษฐกิจกำลังตกต่ำเช่นนี้ มาดูกันว่าเราจะกินจะอยู่อย่างไร ให้เงิน 5000 บาทนี้พาเรารอดไปถึงสิ้นเดือน…

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกินอยู่ การใช้เงิน

การจะอยู่ได้ด้วยเงิน 5000 บาทนั้น ไม่ใช่เรื่องยากอันใดเลย..เพียงแต่เพื่อนๆ จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินที่กินอยู่และใช้เงินอย่างสบาย มาเป็นการกิน การอยู่ และการใช้เงินแบบประหยัด…อะไรที่เป็นเหตุของการใช้เงินจำนวนมาก็ลดลงเสีย เรียกว่า ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ฟุ่มเฟือยทั้งหมดออกไป กินง่ายอยู่ง่าย จากเคยทานข้าวมื้อละหลายร้อยบาท ก็อาจจะลดลงเหลือเพียงมื้อละไม่กี่สิบบาท

ลองคำนวณเล่นๆ ว่า หากเราลดรายจ่ายในการรับประทานอาหารลงจากมื้อละร้อย เหลือเพียงมื้อละ 50 บาท หนึ่งวันจะใช้เงิน 150 บาท ใน 1 เดือนเราจะใช้เงินเพียง 4,500 บาทเท่านั้น เริ่มเห็นวี่แววแล้วใช่ไหมครับว่า…เราจะอยู่อย่างไรกับเงิน 5,000 บาท ทีนี้ถ้าเราลดมื้อเช้าลงสักนิดทุกอย่างก็จะลงตัว “เฟอร์เฟค”  เพราะเพื่อนๆส่วนใหญ่ชอบทานมื้อเช้าแบบเบาๆ กันอยู่แล้ว

2. คำนวณรายจ่าย ยืดหนี้ พักหนี้

ในเดือนหนึ่งๆ เรามักจะมีค่าใช้จ่ายหลากหลายรายการที่จะต้องใช้จ่ายเงิน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานที่ต้องเกิดขึ้น  นอกจากนี้ยังมีหนี้ระยะสั้น เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล และหนี้ระยะยาวทั้งหนี้บ้านและหนี้รถ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงข้าวของเครื่องใช้จำเป็นในช่วงนี้ ทั้งหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ รวมถึงเฟซชิลด์ ดูแล้วช่างชุลมุนวุ่นวายเสียเหลือเกิน ลำพังเงินห้าพันจะพอได้อย่างไร

ใจเย็นๆ ครับ มีสติสักนิด ทุกปัญหามีทางออกเสมอ ปัจจุบันรัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในหลายมาตรการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ มาตรการผ่อนผันการชำหนี้กันสถาบันการเงินทั้งเงินผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล passion gen แนะนำว่าให้ลองโทรคุยกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อยืดหนี้และพักหนี้ออกไปก่อนอย่างน้อยสัก 3 เดือน ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้หลายหมื่นบาทนี้กลายเป็นศูนย์ ช่วยต่อลมหายใจของเพื่อนๆ ออกไปได้อีกระยะหนึ่ง ส่วนบัตรเครดิตที่ยืดหนี้ไม่ได้ ธนาคารของรัฐเช่น ออมสิน ก็มีแพคเกจไฟแนนซ์เพื่อรวมหนี้บัตรเครดิตภายใต้ดอกเบี้ยต่ำ และผ่อนระยะยาวได้ถึง 4 ปี ทำให้เพื่อนๆ ยืดหนี้ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการทำตามข้อกำหนดการใช้ไฟฟรี และการขอใช้อินเทอร์เน็ตเอื้ออาทรในช่วงนี้ด้วย

สำหรับข้าวของเครื่องใช้นั้นให้ซื้อที่จำเป็นและมีอายุการใช้งาน เช่น หน้ากากอนามัยนั้น หากไม่มีความจำเป็นแนะนำให้ใช้หน้ากากแบบผ้า ซึ่งปัจจุบันราคาไม่แพงและหลายองค์กรยังมีการแจกฟรี ข้อดีของหน้ากากผ้าคือ สามารถซักแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่วนเจลล้างมือให้ซื้อตามร้านค้าที่ภาครัฐสนับสนุน ซึ่งมีจำหน่ายในราคาไม่แพง  และแนะนำว่า ให้ใช้แต่พอเหมาะ ถ้าเลือกได้ให้ล่างมือด้วยน้ำและสบู่จะช่วยฆ่าไวรัสได้ดีกว่า แล้วยังประหยัดอีกด้วย

3. วางแผนการใช้จ่ายเงิน

ถ้าลองทำตาม 1 และ 2 แล้ว เพื่อนๆ น่าจะเริ่มเห็นทางออกว่าจะอยู่อย่างไรกับเงิน 5,000 บาท ถ้าเพื่อนๆ เอร็ดอร่อยกับการทานข้าวไข่เจียว และมาม่าใส่หมูสับ passion gen เชื่อว่า ในแต่ละเดือนๆ เพื่อนๆ ยังคงมีเงินเหลือไว้ทำอย่างอื่นอีกสักเล็กน้อย เงินที่เหลือนั้นไม่ต้องใช้ให้หมดนะครับ เหลือเก็บไว้ก่อน เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน…

พูดถึงฉุกเฉินแล้ว สิ่งหนึ่งที่ช่วยเพื่อนๆ ได้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ คือการวางแผนการใช้จ่ายเงิน การวางแผนจะทำให้เรารู้ว่าเงินที่มีอยู่จะพอใช้หรือไม่ ทำให้เรารู้สถานะก่อนที่จะเริ่มใช้เงินและที่สำคัญ เมื่อวานแผนแล้วต้องปฏิบัติตามแผนกันด้วยนะจ๊ะ

หากวางแผนแล้วยังพอมีเงินเหลือถือว่าเพื่อนๆ โชคดี แต่หากวางแผนแล้วเงินไม่เหลือ เพื่อนๆ อาจจะต้องซีเรียส กับการซื้อของมากขึ้น เช่น อาจจะต้องซื้อข้าวสารมาหุงเองแทนที่จะซื้อข้าวถ้วยมาทานทุกวัน หรือเลือกซื้อไข่ทีละแผง ซึ่งถูกกว่าการซื้อทีละฟอง แต่สุดท้ายแล้วหากรายจ่ายยังเกินกว่าเงินที่มีอาจจะต้องพิจารณาขายสมบัติที่สะสมไว้บางส่วนออกไป เพื่อให้มีเงินใช้อย่างเพียงพอ ซึ่งปัจจุบันการขายของสมบัติสามารถทำผ่าน Facebook และ Market Place ได้อย่างไม่ยากเย็น

ในทุกวิกฤตมักจะมีโอกาสเสมอ วิกฤตช่วยให้เราได้เรียนรู้ขีดจำกัดของร่างกายและจิตใจว่า เราจะทนทานและผ่านพ้นความยากลำบากไปได้หรือไม่…ในชีวิตคนเราต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตคนละหลายๆ ครั้ง และแต่ละครั้งที่สามารถผ่านไปได้ จะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น มีภูมิต้านทานมากขึ้น…..แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะผ่านพ้นวิกฤตแต่คนที่ผ่านได้ขอให้เป็นเรา


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.