ในที่สุดวันนี้ เรือสำราญเวสเทอร์ดัม ของบริษัท ฮอลแลนด์ อเมริกา ไลน์ สัญชาติอเมริกัน-อังกฤษ ก็ได้รับอนุญาตให้เข้าเทียบท่าที่เมืองสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชา หลังจากถูกปฏิเสธเข้าเทียบท่าในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ กวม และที่แหลมฉบังของไทย สะท้อนให้เห็นว่านานาประเทศยังคงหวาดกลัวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือชื่อใหม่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกว่า Covid-19 ซึ่งล่าสุดมีผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมดแล้วกว่า 4 หมื่นคน และเสียชีวิตไปแล้วเกิน 1 พันคน

หากมองสองมุม การอยู่บนเรือสำราญเป็นเวลานานๆ อาจมีความปลอดภัยสูงกว่าการเดินทางอื่น หากแน่ใจว่าไม่มีผู้ติดเชื้ออยู่บนเรือลำนั้น หรือตรงข้ามอีกมุมจะเป็นอันตรายมากหากเชื้อระบาดบนเรือเพราะเป็นพื้นที่ปิด ส่วนการเดินทางอื่นๆไม่ว่าจะเป็นรถสาธารณะ เครื่องบิน หรือรถไฟ กลายเป็นที่เสี่ยงขั้นสูงไปแล้วเพราะคนใช้บริการเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จากความกังวลนี้ทำให้หลายประเทศออกมาตรการการเดินทางเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด Covid-19 นี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรือเวสเตอร์ดัมเรือเวสเทอร์ดัม (Westerdam)

เริ่มจาก WHO ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ หรือ Public Health Emergency of International Concern; PHEIC ไปแล้วตั้งแต่ 30 มกราคม การประกาศของ WHO ดังกล่าวส่งผลให้มีการปิดด่านพรมแดนหลายประเทศ ที่มีพรมแดนติดกับจีน เช่น รัสเซีย เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ลาว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ขณะที่ไต้หวันได้สั่งห้ามชาวจีนจากทุกมณฑลในจีนเข้าไต้หวันหากมีประวัติเดินทางไปจีน ฮ่องกง และ มาเก๊า โดยจะถูกกักตัวเพื่อสังเกตอาการที่บ้านพักด้วยตนเองเป็นเวลา 14 วัน (ผู้ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อทุกคน จะถูกกักตัวเพื่อดูอาหารหรือรักการรักษาเบื้องต้นเป็นระยะเวลา 14 วัน)

แม้แต่ชาวจีนเองก็จำกัดการเดินทางเข้าประเทศ หากมีประวัติการเดินทางผ่านประเทศจีนภายใน 14 วัน เช่นเดียวกับฮ่องกงและมาเก๊า ที่ได้ระงับกิจกรรมต่างๆภายในประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โดยเฉพาะมาเก๊ายังสั่งปิดคาสิโนและธุรกิจบันเทิงต่างเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ขณะที่รัฐบาลฮ่องกงประกาศปิดด่านรถไฟเข้าออกฮ่องกงทั้งหมด

ขณะเดียวกัน หลายประเทศได้งดการอนุมัติวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีน เช่น มาเลเซีย สาธารณรัฐเช็ค ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ หรือการยกเลิก Visa on arrival สำหรับนักท่องเที่ยวจีน เช่น บังคลาเทศ อินโดนีเซีย เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการยกเลิกเที่ยวบินระหว่างจีนชั่วคราว เช่น เวียดนาม และหลายสายการบินในยุโรป เช่น British Airways, KLM, Lufthansa, Finnair, EL AI, Scandinavian Airlines, Swiss, Austrian Airlines, American Airlines, Air Canada, Eva Air, Air Seoul, Indonesia’s Lion Air, Air India เป็นต้น

อเมริกาประกาศห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศชั่วคราว หากเดินทางไปประเทศจีน (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) ในช่วง 14 วันเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยกเว้นผู้ถือกรีนการ์ด ผู้ที่มีคู่สมรสเป็นชาวอเมริกัน ผู้ที่ถือวีซ่าทางการทูต นอกจากนี้ ได้กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ (Secretary of Homeland Security) จัดให้มีการตรวจคัดกรองทางการแพทย์สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าสหรัฐ รวมทั้งกำหนดให้มีการกักกันผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อไวรัส (Quarantine) ส่วนสายการบิน United Airline and American Airline ยกเลิกเที่ยวบินเดินทางเข้าและออกฮ่องกง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโรคนี้

ที่อินเดียก็มีการประกาศยกเลิกการทำ E-Visa ชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวจีนและคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน นอกจากนี้ ผู้โดยสารที่เดินทางมาอินเดีย จากประเทศสิงคโปร์ และประเทศไทย ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยบริเวณสนามบินนานาชาติในอินเดีย

ทางด้านสายการบินแควนตัสและแอร์นิวซีแลนด์ประกาศยกเลิกเที่ยวบินทุกเส้นทางเข้าประเทศจีน ขณะที่รัฐบาลออสเตรเลียยกระดับมาตรการคุมเข้ม โดยผู้ที่เดินทางจากจีนหรือผ่านจีนจะถูกปฏิเสธการเข้าเมือง

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย หากปัญหาคลี่คลายเร็วคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวชาวจีนจะกลับมาช่วงเดือนมิถุนายนนี้ แต่หากสถานการณ์ยึดเยื้ออาจทำให้ชะลอการเดินทางจนถึงเดือนช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้

อย่างไรก็ดี ทุกคนควรปรับตัวครั้งสำคัญเพื่อก้าวสู่มาตรฐานการดำเนินชีวิตแบบใหม่ เริ่มตั้งแต่การดูแลตัวเองแบบง่ายๆ เช่น การใส่หน้ากากเมื่อต้องอยู่นอกบ้านหรือต้องอยู่ใกล้ผู้คนจำนวนมาก การดูแลความสะอาดอย่างเข้มข้น กินอาหารปรุงสุก ใช้ช้อนกลางตักอาการ รวมถึงใส่เสื้อผ้าและของใช้ที่สะอาด หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยรถสาธารณะ รถไฟ เรือ และเครื่องบินที่มีคนจำนวนมาก ควรงดการเดินทางโดยเครื่องบินหากไม่จำเป็น เพื่อลดโอกาสที่จะติดเชื้อและเลี่ยงการถูกปฏิเสธการเข้าออกเมือง รวมถึงการเลี่ยงถูกกักตัวเพื่อรอดูอาการซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 14 วัน

 

Category:

Passion in this story