Categories: NewsSUPPORT

‘ไทยเด็ด’ ตัวช่วยพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อท้องถิ่นไทย จาก โออาร์

5 / 5 ( 2 votes )

จะไปว่าท้องถิ่นไทยนั้นก็มีของดีของเด่นอยู่มากมาย ด้วยทรัพยากรหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่มีอยู่มาก ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้านได้

เราจะเห็นการรวมกลุ่มของชาวบ้านตามชุมชนต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนที่ร่วมกันผลิตสินค้าและบริการด้วยทุนของท้องถิ่นเอง (เงิน ทรัพยากร ผลผลิต ภูมิปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม) และชุมชนต่างเป็นเจ้าของร่วมกัน

วิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ จากข้อมูลของกรมการเกษตร ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้มากกว่า 2.55 หมื่นล้านบาทต่อปี จากวิสาหกิจชุมชนกว่า 8.5 หมื่นแห่ง สมาชิกกว่า 1.4 ล้านคน

จะเห็นได้ว่าวิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศ ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนซึ่งเป็นรากฐานของประเทศจะช่วยสร้างความเข้มแข็งโดยรวมให้กับเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังนั้นการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ให้มีศักยภาพมากขึ้น ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี การจัดการที่เป็นระบบ นอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้มากขึ้นแล้ว ยังจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยได้อีกทางหนึ่ง

 

หนึ่งในหน่วยงานมากมายที่เข้ามาสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น คือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) ซึ่งล่าสุดได้จัดงาน “โครงการไทยเด็ด แมชชิ่ง เดย์ ครั้งที่ 5” เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ณ สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น บริษัท ไอเอสเค บิสซิเนส จำกัด จ.กาญจนบุรี โดยมีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยนายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ โออาร์ เข้าร่วมพิธีเปิด

“ไทยเด็ด แมชชิ่ง เดย์” เป็นกิจกรรมที่จะเชิญผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมันฯ จากจังหวัดต่าง ๆ มาคัดเลือกผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปวางจำหน่าย ณ “มุมไทยเด็ด” ภายในสถานีบริการน้ำมันฯ ของตนเอง เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สร้างโอกาสในการขยายตลาด และสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ดำเนินโครงการฯ ตามเจตนารมณ์ของ โออาร์ ที่จะทำให้สถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศ เป็นพื้นที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมชุมชน ตลอดจนร่วมพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน เพื่อช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีความเข้มแข็ง พร้อมเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

นางสาวจิราพร กล่าวว่า โออาร์ ดำเนินธุรกิจโดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มได้ร่วมออกแบบรูปแบบทางธุรกิจร่วมกับ โออาร์ เพื่อช่วยกันสร้างประโยชน์ให้กับสังคมชุมชน รวมถึงการสร้างคุณค่าร่วมให้เกิดแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล โออาร์ จึงดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น ด้วยแนวคิด ลีฟวิ่ง คอมมิวนิตี้ (Living Community) เพื่อให้สถานีบริการน้ำมันฯ ที่มีจำนวนกว่า 1,900 แห่งทั่วประเทศ เป็นศูนย์กลางของชุมชนในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชน โดยได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และผู้ประกอบการธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น จัดตั้งโครงการไทยเด็ดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2561

“ไทยเด็ด” สื่อถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นของดีของเด็ดในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศที่เกิดจากการร่วมกันพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการสร้างวิสาหกิจชุมชนให้มีศักยภาพพึ่งพาตนเองได้ โดย โออาร์ ได้คัดสรรผลิตภัณฑ์ไทยเด็ดมาวางจำหน่ายในร้านขายของฝากภายใต้ชื่อ “มุมไทยเด็ด” อีกทั้งยังได้จัดสรรพื้นที่ภายใน สถานีบริการน้ำมันฯ เพื่อเปิดเป็นพื้นที่สำหรับ “ตลาดไทยเด็ด” ให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ นำผลิตผลทางการเกษตร อาหาร และสินค้าหัตถกรรมงานฝีมือที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาจำหน่าย

ปัจจุบันมีวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 147 ราย และมีสถานีบริการน้ำมันฯ เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 177 แห่ง โดยเป็นสถานีบริการน้ำมันฯ ในภาคตะวันตก จำนวน 13 แห่ง สินค้าไทยเด็ดที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ ในช่วงที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค เป็นการสร้างโอกาส สร้างอาชีพ และสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชน เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนโดยรอบพื้นที่ที่ โออาร์ เข้าไปดำเนินธุรกิจ

ในอนาคตปั้มน้ำมันจะไม่ใช่แค่ที่ที่เราเอาไว้เติมน้ำมัน เข้าห้องน้ำ หรือพักผ่อนก่อนเดินทางต่อเท่านั้น แต่จะกลายเป็นสถานที่ที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน เป็นที่ที่เราสามารถไปเลือกซื้อของดีของเด็ดจากชุมชนท้องถิ่นได้อย่างสะดวก กลายเป็นที่ที่จะช่วยให้ชาวบ้านได้มีเงินมากขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านให้ได้ลืมตาอ้าปาก ทำให้ลูกหลานในชุมชนไม่ต้องเดินทางเข้าเมืองกรุงเพื่อหางานทำ แต่จะได้ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนกับครอบครัว

และนี่คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศจากฐานรากอย่างยั่งยืน

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.