Categories: NewsTRENDTREND

แนวโน้มการปรับตัวของธุรกิจหลังพ้น COVID-19: เมื่อโลก Offline เชื่อมโยงเข้ากับโลก Online อย่างลงตัว

4.6 / 5 ( 8 votes )

ก่อนหน้านี้กระแส Digital Disruption เป็นที่พูดถึงและถูกจับตามองอย่างมากในแวดวงธุรกิจ ว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในทางธุรกิจอย่างไร ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีที่รุดหน้าและนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้น ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งส่งผลในทางลบต่อธุรกิจที่ปรับตัวตามไม่ทัน กระนั้นก็ยังมีจุดที่ธุรกิจต่าง ๆ สามารถผลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หากจับทิศทางของตลาดถูกและเห็นช่องทางพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคได้

แต่แล้วก็มีตัวแปรใหม่ที่ไม่มีใครคาดคิดเกิดขึ้น นั่นคือการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่กำลังแพร่ขยายทั่วโลก กระทบกับทุกอย่างกันถ้วนหน้า ความเป็นปกติของชีวิตต้องเปลี่ยนไป เรียกได้ว่าพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ธุรกิจร้านค้า ร้านอาหาร และบริการต่าง ๆ ต้องปิดตัวชั่วคราวเพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสตามมาตรการของรัฐบาล เราจำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคม Social Distancing ระหว่างกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ อะไรที่ทำให้ต้องเจอะเจอกันดูจะเป็นเรื่องต้องห้ามในช่วงนี้

จุดนี้เองที่ผลักดันให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น มันช่วยเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กัน พูดง่าย ๆ ว่าเจ้าไวรัส COVID-19 ได้เร่งรัดให้เกิด Digital Disruption ขึ้นเร็วและรุนแรงกว่าเดิม จากปกติที่หลายองค์กรมองว่า Digital Transformation ยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน แต่ตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำเพื่อเอาตัวรอด passion gen เกาะตามการเปลี่ยนคลื่นระลอกใหญ่ในครั้งนี้ มาดูกันว่าภาคส่วนไหนได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

E-Commerce จะไม่ใช่เรื่องใหม่

ในยุคปัจจุบันการค้าขายทาง Online หรือ E-Commerce เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะ Shopee, Lazada หรือการขายของผ่านเฟสบุ๊ค ไอจี หรือทวิตเตอร์ แต่ COVID-19 ได้บังคับให้ธุรกิจต่าง ๆ ที่ไม่เคยมองเรื่องออนไลน์ต้องปรับตัวมาค้าขายทางออนไลน์แทนการเปิดหน้าร้านขายตามปกติ มีการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญมากมายว่าเมื่อผู้คนเริ่มชินกับการซื้อขายสินค้าและบริการในโลก Online แล้ว การค้าปลีกแบบเดิมในโลก Offline จะถูกแทนที่และหายไปในที่สุด แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เช่นนั้น

จุดแข็งของการซื้อสินค้า Online คือ ความสะดวกสบายในการเลือกซื้อและสามารถเปรียบเทียบราคากับเจ้าอื่นได้ง่าย ๆ แต่จุดอ่อนที่ยังไม่อาจเทียบกับการซื้อแบบ Offline ได้แน่ ๆ คือประสบการณ์ในการซื้อ (Buyer Experience) ที่ไม่อาจหาได้จากช่องทาง Online

แม้ว่าเราจะซื้อสินค้ากันได้ง่าย ๆ เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส อยากได้ อยากกินอะไร ก็มีบริการส่งมาให้ถึงบ้าน แต่สำหรับสินค้าบางอย่างเราจะรู้สึกสะดวกใจมากกว่าถ้าได้ไปซื้อด้วยตัวเอง เช่น สินค้าที่มีราคาสูง สินค้าที่จะต้องตรวจสอบคุณภาพของสินค้าก่อนซื้อ หรือสินค้าที่เสี่ยงต่อการปลอม

ถ้าอยากจะซื้อปลาสักตัวมาทำอาหาร คุณพ่อบ้านแม่บ้านอาจจะต้องการไปเดินตลาด เลือกปลาที่ตาใส เหงือกแดง และมั่นใจว่าสดแน่ ๆ มากกว่าจะกดสั่งทางออนไลน์ หรือถ้าเราอยากจะซื้อโทรศัพท์สักเครื่อง การไปซื้อที่ร้านเพื่อลองจับดูสักหน่อย เช็คความสมบูรณ์ของเครื่องว่าไร้รอยขีดข่วนหรือไม่ น่าจะเป็นทางเลือกอันดับแรก ๆ มากกว่าเลือกช็อปปิ้งในหน้าเว็บที่ทำได้แค่ดูรูปผ่าน ๆ และรอรับอยู่ที่บ้าน

นี่คือ Buyer Experience ที่การซื้อขายทางออนไลน์ไม่อาจตอบสนองต่อลูกค้าได้ ประสบการณ์บางอย่างที่เราได้จากการไปเห็นด้วยตาและสัมผัสด้วยมือก่อนจะเลือกซื้อสินค้าและบริการใด ๆ อย่างไรก็ตาม การอุบัติขึ้นอย่างไม่คาดฝันของ COVID-19 ทำให้เราต้องเลือกระหว่างสุขภาพและชีวิตกับ Buyer Experience

ประสบการณ์เสมือนจริงในการซื้อ

ในวันที่ผู้คนไม่สามารถออกไปเดินซื้อของข้างนอกได้เหมือนปกติ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องการที่จะเห็นสินค้าด้วยตัวเอง ผู้คนยังต้องการ Buyer Experience ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกสะดวกและอุ่นใจที่จะซื้อสินค้า ดังนั้นในช่วงเวลาต่อจากนี้ ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องปรับตัวขนานใหญ่ ซึ่งจะเร่งรัดให้ E-Commerce กลายเป็นเพียงแค่อดีต จากการผสานรวมประสบการณ์ในการซื้อแบบออฟไลน์เข้ากับจุดแข็งของการซื้อแบบออนไลน์ กลายเป็นโมเดลที่เรียกว่า O2O หรือ Online to Offline

วันนี้ passion gen จะขอนำทุกท่านมองไปยังโลกอนาคต ไปพบกับตัวอย่างการปรับตัวของแวดวงธุรกิจที่น่าสนใจ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างประสบการณ์เสมือนจริงในการซื้อขายสินค้า

กลุ่มแรก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

          เมื่อก่อนทุกคนจะคิดว่าเวลาที่เราจะเลือกซื้อบ้านงาม ๆ สักหลัง หรือคอนโดดี ๆ สักห้อง จะต้องไปซื้อถึงที่เท่านั้น แต่ปัจจุบันวงการอสังหาริมทรัพย์ก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัวด้วยเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นแสนสิริ, AP Thailand หรือ อนันดา ได้เปิดบริการให้ลูกค้าเยี่ยมชมโครงการและห้องตัวอย่างผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การ Video Call ให้ลูกค้าได้ดูบ้านหรือคอนโดโดยไม่จำเป็นต้องมาพื้นที่จริง ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเสริม Buyer Experience ที่การซื้อแบบออนไลน์ขาดหาย ช่วยให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าจริง ๆ และได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับการไปเลือกซื้อด้วยตัวเองมากที่สุด

กลุ่มที่สอง ธุรกิจเครื่องแต่งกาย/เครื่องสำอาง

ในต่างประเทศแบรนด์เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายใหญ่ ๆ เช่น Converse ได้มีบริการแอปพลิเคชันที่ให้ลูกค้าสามารถนำภาพรองเท้าจากคลังมาส่องที่เท้า เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นว่าถ้าใส่แล้วจะดูดีหรือไม่ โดยใช้เทคโนโลยี AR จำลองภาพขึ้นมาให้เห็นกันชัด ๆ

หรือแบรนด์เครื่องสำอางอย่าง L’Oreal ก็ใช้เทคโนโลยี AR เพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองแต่งหน้าผ่านแอปพลิเคชัน ช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางของแบรนด์ได้เร็วขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้าน

กลุ่มที่สาม ธุรกิจสายสุขภาพ

กลุ่มธุรกิจสายสุขภาพดูจะเป็นกลุ่มที่ลูกค้าต้องการ Buyer Experience มากที่สุด ด้วยความที่เรื่องสุขภาพถือเป็นเรื่องใกล้ตัวและค่อนข้างจะเซนซิทีฟ แม้ในต่างประเทศจะมีกระแสการซื้อยาทางออนไลน์กันบ้าง แต่ผู้บริโภคหลายคนยังมองว่าไม่มีความน่าเชื่อถือสักเท่าไหร่ และยาบางประเภทก็ต้องได้รับการวินิจฉัยจ่ายยาจากเภสัชกรถึงจะซื้อได้ แถมการไปซื้อยาที่ร้านค้านอกจากจะได้ยาแล้ว ยังได้รับกำลังใจ คำแนะนำ คำปรึกษาในการดูแลสุขภาพจากเภสัชกรอีกด้วย

ปัจจุบันจึงเริ่มมีเทรนด์การปรึกษาแพทย์ทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยให้สามารถติดต่อกับแพทย์ได้มากขึ้น ทั้งการ Video Call หรือ Streaming ให้ลูกค้าได้พูดคุยแบบเห็นหน้ากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะซื้อยาทางออนไลน์ เพื่อสร้าง Buyer Experience ให้กับลูกค้า ได้ทั้งคุยกับแพทย์หรือเภสัชกร และได้ซื้อยาโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน

โลกยุคใหม่ที่รอเราอยู่

สิ่งหนึ่งที่คนมักจะหลงลืมกัน คือ เวลาที่เราซื้อของอะไรสักอย่าง เราไม่ได้ซื้อเพียงแค่สินค้านั้น ๆ แต่เรายังซื้อประสบการณ์ บริการ ความประทับใจ หรือเรื่องราวอะไรบางอย่างจากของชิ้นนั้นด้วย

เรากินข้าวแกงร้านป้าแป๋วหน้าปากซอยทุกวัน เพราะนอกจากอร่อยแล้ว ป้าแป๋วยังคุยสนุกจนสนิทกัน และกลายเป็นลูกค้าประจำในที่สุด เราชอบมาซื้อแผ่นเสียงร้านพี่เท่ซอย 3 เพราะเห็นกันมาตั้งแต่เด็ก เพลงไหนดี เพลงไหนเพราะ ไม่ว่าจะเพลงเก่าหรือเพลงใหม่ พี่เท่ก็บอกได้หมด

สิ่งเหล่านี้คือ Buyer Experience ที่ไม่สามารถหาได้จากการซื้อของแบบออนไลน์ แม้จะมีสินค้าเหมือน ๆ กัน แต่จะมีอะไรบางสิ่งที่เราหาแบบนี้ได้จากร้านนี้เท่านั้น สิ่งสำคัญอีกอย่างที่หาได้จากการไปซื้อที่หน้าร้านคือ Customer Engagement ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนขายกับลูกค้าที่จะเปลี่ยนจากลูกค้าขาจรให้กลายเป็นขาประจำได้นั่นเอง

ผู้บริโภคมองหาประสบการณ์เสมือนจริงในการซื้อสินค้ากันมากขึ้น เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็น AR, VR หรือ Video Call ช่วยอุดช่องโหว่ของการซื้อของแบบออนไลน์ สร้างประสบการณ์ในการซื้อและสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแบบนี้ COVID-19 ได้บีบบังคับให้ Digital Transformation กลายเป็นความจำเป็นที่ต้องเลือก ไม่ใช่แค่ทางเลือกที่ไม่สำคัญอีกต่อไป และนี่คือโลกที่จะเปลี่ยนไปของยุค COVID-19 ที่เราต้องเผชิญหน้า

 

อ้างอิง

https://blog.arincare.com/2019/04/21/o2o-for-pharmacy/

https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/thai-consumer-behaviour-changed-in-covid-19-situation-and-business-guideline-for-7-industry-in-thailand/

https://www.terrabkk.com/articles/197757/แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคหลังพ้น-covid-19-กับธุรกิจที่เปลี่ยนไป

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.