ชื่อเสียงและเสน่ห์ของอาหารไทย ทำให้ชาวต่างชาติหลายต่อหลายคนหลงใหล ยอมลงทุนเดินทางมาถึงประเทศไทย เพื่อสัมผัสอาหารไทยต้นตำรับ รสชาติความอร่อยของอาหารไทยจานแรกบนเครื่องบิน จึงเท่ากับเป็นการเปิดประตูสู่ความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยว
สุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ครัวการบินไทย เป็นหน่วยงานสำคัญของการบินไทย แต่ละปีได้สร้างผลงาน ชื่อเสียงและกำไรอย่างมากมาย โดยปัจจุบัน ทำหน้าที่ผลิตอาหารป้อนการบินไทย ไทยสไมล์ และสายการบินอื่นๆ อีก 64 สายการบิน อาทิ สายการบินเอเอ็นเอ อีว่าแอร์ แอร์ฟรานซ์ เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วนที่ให้บริการสายการบินภายนอกประมาณ 30 เปอร์เซนต์
สำหรับแนวคิดในการขยายตลาด สุเมธมองว่า การบินไทยมีจุดหมายปลายทาง (destination) อยู่ในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชุมทางการบินสำคัญ หากสามารถนำครัวการบินไทยไปเปิดให้บริการสายการบินต่างๆ ที่บินมายังชุมทางเหล่านี้ ก็จะเป็นโอกาสที่ดีในการขยายตลาดของครัวการบินไทย
สุเมธกล่าวว่า ที่ผ่านมาครัวการบินไทย พยายามปรับปรุงและพัฒนาเมนูอาหารบนเครื่อง โดยเฉพาะอาหารไทยให้มีรสชาติอร่อยถูกปากผู้โดยสาร และยอมรับว่า ที่ผ่านมามีเสียงบ่นจากผู้โดยสารในบางไฟลท์ว่า อาหารไทยบนเครื่องไม่อร่อย รสชาติเปลี่ยนไปจากเดิม
“เราไม่ได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหา และการแก้ให้ตรงจุดก็คือ ทำอาหารไทยให้อร่อย เมื่อเร็วๆ นี้ เราจึงเชิญอาจารย์ศรีสมร คงพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญอาหารไทย มาเป็นที่ปรึกษาและช่วยออกแบบไทยสำรับให้กับเที่ยวบินชั้นธุรกิจ ไฟลท์บินจากกรุงเทพฯ ไปยังยุโรป ใน 4 เมืองหลักของเรา คือ ลอนดอน ซูริค แฟรงเฟิร์ต และชาร์ล เดอโก ได้รับคำชมอย่างมาก นี่เป็น 1 ในการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน”
เหตุที่การบินไทยเร่งเดินหน้าปรับปรุงและพัฒนาเมนูอาหารไทยนั้น สุเมธบอกว่าเพื่อให้ผู้โดยสารเกิดการจดจำและบอกต่อคนรู้จักว่า
“ขึ้นเครื่องการบินไทย อาหารไทยอร่อยที่สุด”
แม้ปัจจุบัน เมนูและรสชาติอาหารบนเที่ยวบินที่ได้รับการปรับปรุง จะมีเสียงตอบรับในทางที่ดี และมีเสียงบ่นน้อยลง แต่สุเมธยืนยันว่า ครัวการบินไทยไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาเมนูและรสชาติอาหารให้เป็นที่ยอมรับของผู้โดยสารมากขึ้นอีก โดยในปีนี้ จะเน้นการพัฒนา 3 เรื่องหลักๆ คือ
ดึงมิชลินสตาร์ที่มีชื่อเสียง เข้ามาช่วยพัฒนาและดีไซน์อาหาร ซึ่งขณะนี้ได้คุณวินเซนต์ เธียร์รี่ มิเชลิน 3 ดาว จากโรงแรมเลอบัว มาช่วยดูอาหารยุโรป ส่วนอาหารไทย ได้ เชฟต้น – ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร มิเชลิน 1 ดาว เจ้าของร้านฤดู (Le Du) สีลมซอย 7 มาช่วยดูอาหารไทยให้
ร่วมกับ โรงแรมโอกุระ ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 6 ดาว และมีห้องอาหารที่ได้รางวัลมิเชลิน 2 ดาว มาช่วยดีไซน์อาหารญี่ปุ่น
อาหารทุกจานที่เสิร์ฟบนเครื่องการบินไทยจะต้องมีเรื่องราว และชื่อเชฟผู้ดีไซน์ (Designed by Chef) เพื่อให้ผู้โดยสารทราบว่า เชฟคนไหนเป็นคนดีไซน์ และมีที่มาที่ไปอย่างไรถึงถูกเลือกมาเสิร์ฟบนเครื่อง
ในส่วนของการขยายตลาดธุรกิจเบเกอรี่ “พัฟ แอนด์ พาย” ขณะนี้ได้มีการจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (PTTOR) วางจำหน่ายสินค้าประเภท แซนวิช เบเกอรี่ สลัด และอาหารพร้อมทานกว่า 20 ชนิด ในร้านคาเฟ่ อเมซอน 70 สาขาในปีนี้
สุเมธกล่าวทิ้งท้ายว่า การขยายโอกาสของครัวการบินไทยเพื่อรองรับสายการบินอื่นๆ ที่จะมาใช้ครัวการบินไทยในอนาคต เป็นเรื่องท้าทายและน่าสนใจสำหรับอนาคต ซึ่งการบินไทยขอเป็นส่วนหนึ่งในการเปิดตลาดอาหารไทยสู่ต่างประเทศเพื่อให้คนต่างชาติได้ลิ้มลอง และทำหน้าที่เป็นประตูบานแรกสำหรับนักท่องเที่ยวในการก้าวสู่โลกของอาหารไทย
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.