หลายคนมองว่า “การประชุม” เป็นเรื่องน่าเบื่อ โดยเฉพาะเมื่อมีภาพติดตาเป็นห้องสี่เหลี่ยม ที่ผู้เข้าร่วมประชุมต่างนั่งก้มหน้าก้มตาหลบสายตาประธานการประชุมอยู่บนเก้าอี้แคบๆ ซึ่งแม้ขยับตัวสักนิดยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ บรรยากาศกดดันตั้งแต่วินาทีแรกที่เริ่มประชุมเช่นนี้ ส่งผลอย่างยิ่งต่อความมุ่งหวังในการจับประเด็นความคิดที่ตกผลึกจากการประชุม เพื่อนำมาต่อยอดในการทำงาน
ล่าสุด ในการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2562 หรือ PMAC 2019 เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ สสส. หรือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เสนองานศึกษาที่ชวนฮือฮาว่า เราทุกคนสามารถสร้างสรรค์การประชุมรูปแบบใหม่ที่ไม่น่าเบื่อ โดยได้ทั้ง “งาน” และ “สุขภาพ” ไปพร้อมๆ กัน
การศึกษานี้บอกว่า ยืนประชุมทำให้ผู้เข้าประชุมจดจ่ออยู่กับงาน และยืนประชุมเพียง 15 นาที สามารถเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ถึง 35 แคลอรี่เลยทีเดียว
แต่สิ่งสำคัญก่อนอื่นที่ “ต้องเปลี่ยน” คือ รูปแบบโต๊ะประชุม ซึ่งควรออกแบบให้ปรับเปลี่ยนได้ตามสรีระของผู้ใช้งาน โดยบนโต๊ะนั้นอาจมีข้อความแนะนำเคล็ดลับการจัดวางท่าทางขณะยืนเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าขณะประชุมด้วยก็ได้
ประเด็นสำคัญที่ สสส. พยายามนำเสนอเกี่ยวกับการประชุมหรือการทำงานในบริษัท ก็คือ อย่ายึดติดกับการทำงานรูปแบบเก่า และการปรับเปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน เป็นเรื่องที่ผู้บริหารไม่ควรมองข้าม การเพิ่มกิจกรรมสันทนาการภายในที่ทำงาน เช่น ติดตั้งโต๊ะปิงปอง ติดตั้งลู่จักรยานในร่ม หรือจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำได้ไปพร้อมๆ กับสนทนาเรื่องงาน หรือประชุม แทนที่จะต้องรอไปทำหลังเลิกงาน ซึ่งเป็นเวลาที่หลายคนอยากกลับบ้าน หรือจำเป็นต้องรีบกลับบ้านเพราะมีภารกิจที่บ้านรออยู่
อีกประเด็นที่ สสส เน้นสำหรับการประชุมรูปแบบใหม่ “ได้งาน ได้สุขภาพ” คือ เรื่องของอาหารการกิน ที่ส่วนใหญ่หากมีการประชุมหรือสัมมนานอกสถานที่ มักมีอาหารในลักษณะบุฟเฟ่ต์ ซึ่งแม้มีข้อดีที่เลือกตักได้ตามใจชอบ สสส. ก็แนะนำสูตร “2 : 1 : 1″ ให้ท่องไว้ในใจดังๆ ตลอดเวลา
สสส ย้ำว่า ร่างกายของมนุษย์ไม่ต้องการสารอาหารต่อวันมากไปกว่านี้ เราควรเปลี่ยนค่านิยมที่ว่า บุฟเฟ่ต์ต้องทานให้คุ้มให้อิ่ม เป็น บุฟเฟ่ต์ ทำให้เราเลือกบริโภคได้หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า
การออกกำลังและการกินที่เหมาะสมนั้น หากเราปฏิบัติเป็นประจำ จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรค NCDs หรือ non-communicable diseases ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่คนทำงานปัจจุบันเป็นกันมากที่สุด เช่น โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, โรคมะเร็งต่างๆ, โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคอ้วนลงพุง, โรคตับแข็ง และ โรคสมองเสื่อม เป็นต้น
ทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างมาก องค์กรที่มีผู้บริหารใส่ใจบรรยากาศการทำงานเพื่อสุขภาพกายและใจที่ดีของคนทำงาน ย่อมเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนแน่นอน
ติดตามข้อมูลดีๆ ในการทำงาน และเรื่องๆ ของ สสส. ได้จาก www.thaihealth.or.th
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.