Categories: INSPIRENews

Ookbee จาก Tech Startup น้องใหม่ไฟแรง สู่แพลตฟอร์ม e-book อันดับ 1 ของประเทศ

3.9 / 5 ( 17 votes )

 

ปัจจุบันสตาร์ทอัพถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจและรูปแบบการทำงานที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากคนยุคใหม่ อีกทั้งหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หน่วยงาน องค์กร ไปจนถึงบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่หลายแห่งก็ได้มองเห็นความก้าวหน้าในการสนับสนุนสตาร์ทอัพเหล่านี้เพื่อเป็นการกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างตลาดใหม่ให้กับประเทศ รวมถึงหน่วยงานรัฐบาลยังเปิดให้มีการขอทุนทำธุรกิจ เพื่อช่วยให้บริษัทเปิดใหม่มีความพร้อมด้านแหล่งเงินทุน นำไปสู่ความสามารถในการพัฒนา และต่อยอดช่วยให้ก้าวกระโดดออกไปแข่งขันกับนานาประเทศได้

[divider]คุณจะได้เรียนรู้อะไร[/divider]

วันนี้เราจึงได้นำเอาหนึ่งตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากไอเดียเล็ก ๆ นำไปสู่การพัฒนาเป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี ที่สอดคล้องกับธุรกิจและการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน จึงทำให้ Ookbee ธุรกิจน้องใหม่ไฟแรงเดินหน้าสู่ประตูแห่งความความสำเร็จ และสามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งธุรกิจ e-book อันดับ 1 ของประเทศได้

“Startup ต้องมีความอึด ต้องไม่ล้มเลิกความตั้งใจ เพราะถ้าล้มเลิกทุกอย่างก็จบ แต่ถ้าไม่ล้มเลิกก็ยังมีโอกาสสำเร็จ ” คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์

จุดเริ่มต้นสตาร์ทอัพความเป็นมาและเคล็ดลับความสำเร็จของ Ookbee

  • จุดเริ่มต้นและความเป็นมาของ Ookbee

Ookbee เริ่มต้นมาจากการที่คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง มองเห็นช่องว่างของการทำตลาดผ่านสื่อดิจิทัล ในช่วงที่แอปพลิชันได้เริ่มเข้ามาเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ใช้ในประเทศไทย แต่ยังไม่มีธุรกิจสตาร์ทอัพหรือบริษัทไหนริเริ่มทำ e-book ออกสู่ตลาดมากนัก หรือแม้แต่ e-book ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Amazon และ Kindle ก็ยังไม่มีการทำ e-book เป็นภาษาไทย เลยได้เกิดไอเดียบวกกับการที่คุณหมูมีประสบการณ์และความรู้ในเรื่องของ IT และการเขียนโปรแกรมอยู่แล้ว จึงได้มีการนำเสนอไอเดียนี้ให้กับสำนักพิมพ์ และได้มีการติดต่อไปยังบริษัทและภาคเอกชนต่าง ๆ เพื่อขอทุนทำธุรกิจจนได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากบริษัทอินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และมีการริเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2553 จนได้มีการนำ Ookbee ออกสู่ตลาดเพื่อเปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาใช้งานจริงได้ตั้งแต่ปี 2554

  • เคล็ดลับความสำเร็จของ Ookbee

Ookbee เป็นสตาร์ทอัพที่ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มนำเสนอสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า e-book ให้กับผู้อ่าน ซึ่งต้องอาศัยแผนธุรกิจที่ต้องมุ่งเน้นการให้ความสำคัญใน 2 ส่วนหลัก คือการเป็นตัวกลางนำเสนอคอนเทนต์จากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ ไปยังกลุ่มผู้อ่านหรือกลุ่มลูกค้า ซึ่งเคล็ดลับความสำเร็จที่ทำให้ Ookbee ก้าวขึ้นเป็นสตาร์ทอัพด้าน e-book อันดับ 1 ของประเทศได้ก็คือ การทำความเข้าใจในกลุ่มผู้ใช้งาน และการใส่ใจ ให้ความสำคัญกับบริษัทคู่ค้าของธุรกิจประเภทหนังสือ ซึ่งก็คือโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง

Ookbee ดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจในการเป็นแพลตฟอร์มที่มีการสร้างเทคโนโลยี ด้วยการเขียนโปรแกรมเป็นของตัวเอง จึงทำให้มีอำนาจต่อรองกับคู่ค้าในตลาดได้ ส่วนการชำระเงินของลูกค้าที่ซื้อหนังสือกับ Ookbee เจ้าของธุรกิจก็ได้วาง Business Model เพื่อรองรับไว้อย่างครบวงจร โดยลูกค้าสามารถชำระเงินค่า e-book ได้ผ่านหลายช่องทาง ได้แก่ การชำระผ่านบัตรเครดิต, เพย์พาล, จ่ายผ่าน AIS บริษัทผู้ให้การสนับสนุนธุรกิจ เป็นแหล่งเงินทุนให้แก่ Ookbee และการชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสใน 7-11

“ความเร็วกับไอเดียใหม่ ๆ ที่ส่งตรงสู่ลูกค้าอยู่ตลอดเวลา” คือจุดแข็งของ Ookbee การศึกษาพฤติกรรมของผู้อ่าน และเรียนรู้การอยู่ร่วมกันกับคู่ค้า จะทำให้มีไอเดียที่หลากหลายและสดใหม่ตลอดเวลา อีกทั้งการทำทุกอย่างให้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งการโหลด การชำระเงิน จะยิ่งทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายจนปิดการขายได้แทบจะทันที”

แนะนำบทความน่าอ่าน

ธุรกิจ บริการ หัวใจของการตลาดและการต่อยอดธุรกิจในอนาคต

  • ธุรกิจ บริการ และหัวใจการตลาดของ Ookbee

ปัจจุบัน Ookbee ดำเนินแผนธุรกิจโดยมีช่องทางในการนำเสนอ e-book ให้กับลูกค้าในหลายแพลตฟอร์มทั้งเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน รวมถึงยังมีการทำตลาดผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ไลน์ และอินสตาแกรม และเปิดให้ดาวน์โหลดหนังสือผ่านช่องทางแอปพลิเคชันในทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่สำคัญของสตาร์ทอัพ Ookbee

หลากหลายช่องทางที่ Ookbee ได้นำเสนอเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงและดาวน์โหลด e-book กันได้อย่างง่ายดาย ได้แก่

  • Ookbee แอปพลิเคชันที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้ในหลากหลายแพลตฟอร์ม ทั้ง iOS, แอนดรอยด์, และวินโดว์ ซึ่งถือเป็นแอปพลิเคชันในรูปแบบของร้านหนังสือดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหมวดหมู่และประเภทของหนังสือให้เลือกมากมาย อาทิเช่น แมกกาซีน พ็อกเก็ตบุ๊ค นวนิยาย ออดิโอบุ๊ค หนังสือพิมพ์ และ e-book อีกมากมายจากหลากหลายโรงพิมพ์
  • Ookbee Me เป็นแอป e-book ที่ใช้ Business Model เปิดให้กลุ่มผู้อ่านสามารถเลือกอ่านหนังสือได้แบบบุฟเฟต์ ด้วยราคาเริ่มต้นที่ค่าบริการ 3 บาท/วัน
  • AIS Bookstore จากการที่ Ookbee ได้รับการสนับสนุนธุรกิจจากบริษัทอินทัช โฮนดิงส์ จำกัด AIS Bookstore จึงเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่นำเสนอ e-book จาก Ookbee ให้กับผู้อ่าน

หัวใจในการทำตลาดของธุรกิจสตาร์ทอัพ Ookbee สืบเนื่องมาจากแนวคิดของเจ้าของธุรกิจ ที่เห็นว่า e-book ต้องมุ่งเน้นการทำความเข้าใจกับกลุ่มลูกค้าซึ่งก็คือผู้อ่าน Ookbee จึงเน้นให้มีตัวเลือกของหนังสือเยอะ ๆ มีการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา มีหนังสือจากสำนักพิมพ์ชื่อดังอัพเดทให้กับลูกค้าตลอด และนอกจากจะต้องทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าแล้ว การจะมีตัวเลือกของหนังสือให้ลูกค้าเลือกเยอะ ๆ ได้นั้น ต้องมีแผนธุรกิจในการทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์โดยการอำนวยความสะดวก ช่วยแปลงรูปแบบของหนังสือจากกระดาษมาเป็นไฟล์ดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับการอ่านได้

“ถ้าเราไม่อัพเดทข่าวสาร แค่ 6 เดือนก็ตามคนอื่นไม่ทันแล้ว” คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์

ไม่เพียงเท่านั้น แผนธุรกิจของ Ookbee ยังมีการนำเสนอหนังสือในรูปแบบของออดิโอบุ๊ค (Audio Book) หรือหนังสือเสียงให้กับผู้อ่าน โดย Ookbee มีทีมงานที่ทำหน้าที่อ่านและตัดต่อไฟล์เสียง เพื่อให้เหมาะกับการฟังของลูกค้าเองทั้งหมด และด้วย Business Model เหล่านี้นี่เองที่ทำให้ Ookbee ก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการ e-book อันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็น e-book ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 5 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หัวใจในการทำตลาดของ Ookbee คือมีตัวเลือกของหนังสือให้ลูกค้าเลือกเยอะ ๆ ซึ่งการทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์นั้นต้องอำนวยความสะดวกช่วยแปลงรูปแบบของหนังสือจากกระดาษมาเป็นไฟล์ดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับการอ่านได้

  • การต่อยอดทางธุรกิจ

สำหรับการต่อยอดธุรกิจ ล่าสุดเจ้าของธุรกิจ Ookbee ก็ได้มีการต่อยอดแผนธุรกิจ ร่วมกับบริษัท Tencent ยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน เปิดบริษัทใหม่เพื่อดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจด้านคอนเทนต์โดยเฉพาะ ชื่อว่าบริษัท Ookbee U โดย Business Model หลักของ Ookbee U จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ประกอบด้วย 4 หมวดหลัก ๆ ได้แก่

  1. Ookbee Comics : คอนเทนต์เกี่ยวกับการ์ตูน
  2. Fungjai: คอนเทนต์ด้านเสียงเพลงและดนตรี
  3. Storylog : คอนเทนต์ที่นำเสนอประสบการณ์และการแชร์ความคิดเห็นต่าง ๆ ของนักเขียน
  4. Fictionlog : งานเขียนและนวนิยาย

Ookbee U  จะเป็นแหล่งรวมผลงานของนักเขียนที่เกิดขึ้นจากกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปที่เรียกว่า User Generate Content (UGC) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โลกออนไลน์ในปัจจุบันเกิดความเคลื่อนไหว และทำให้เห็นว่าคอนเทนต์ไม่จำเป็นต้องสร้างมาจากภาคธุรกิจอย่างเดียว แต่คอนเทนต์สามารถเกิดขึ้นได้จากคนทั่วไปในโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้แพลตฟอร์มธุรกิจ Ookbee U เป็นช่องทางในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และหารายได้ ไปจนถึงการต่อยอดเกิดเป็นโครงการสตาร์ทอัพหรือบริษัทใหม่ ๆ ได้ในอนาคต

สำหรับคนรุ่นใหม่ที่สนใจทำธุรกิจสตาร์ทอัพหากคุณมีไอเดีย ความมุ่งมั่นตั้งใจ และความทุ่มเท การจะประสบความสำเร็จได้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เนื่องจากหลาย ๆ หน่วยงานในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนล้วนเล็งเห็นความสำคัญในการเป็นแหล่งเงินทุน ให้การสนับสนุนโครงการสตาร์ทอัพที่มีแนวความคิดแปลก ๆ ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพียงแค่คุณมีความตั้งใจจริง วันหนึ่งธุรกิจของคุณอาจจะกลายมาเป็นตัวอย่าง Start up ที่ประสบความสำเร็จอย่างเช่น Ookbee ก็เป็นได้

“ความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการไม่ยอมเสี่ยงอะไรเลย” Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook

จากบทความ ทำธุรกิจส่วนตัวแบบเสี่ยงน้อยที่สุด – ทำได้จริงหรือ?

Key Takeaway :เคล็ดลับความสำเร็จของ เทคสตาร์ทอัพ Ookbee

  1. ศึกษาตลาดจนมองเห็นช่องว่างของการทำการตลาดผ่านสื่อดิจิตอลในรูปแบบ e-book ภาษาไทย
  2. รู้จักการหาแหล่งเงินทุนและนำเสนอไอเดียที่อยู่ร่วมกับคู่ค้าอย่างโรงพิมพ์ได้
  3. มุ่งเน้นทำความเข้าใจในความต้องการของลูกค้า
  4. มีการต่อยอดทางธุรกิจเพื่อให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างและนำเสนอคอนเทนต์

 

Passiongen

View Comments

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.