สำหรับบริบทในสังคมของมนุษย์นั้น ย่อมประกอบด้วยความหลากหลาย แม้มองไปที่หน่วยเล็กที่สุดของสังคมอย่างครอบครัวของตัวเอง ยังคละเคล้าไปด้วยคนหลากหลายวัย หลากหลาย Generation แน่นอนว่าแนวคิดคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่าย่อมมีความแตกต่างกัน นั่นก็ทำให้ครอบครัวมีชุดความคิดหรือ Mindset ที่หลากหลาย แต่นั่นมันครอบครัว ทุกอย่างยังพอหยวน ๆ กันได้ แต่ในสังคมของที่ทำงานล่ะ การมีคนต่าง Gen มาทำงานร่วมกัน มันช่างเป็นเรื่องที่น่าปวดใจเสียเหลือเกิน เพราะบังเอิญผู้ใหญ่มักไม่เข้าใจคน Gen เรา ทำให้ Mindset ของคนรุ่นเก่ามักมองพวกเราว่า “สุดโต่ง” แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน พวกเราซึ่งเป็นคน Gen ใหม่เองก็มองคนรุ่นเก่าในแง่ลบเหมือนกัน (พอ ๆ กันแหละเนอะ) แล้วเราจะปรับเปลี่ยนความคิดอย่างไรดี การทำงานถึงจะมีความสุขได้
[divider]คุณจะได้เรียนรู้อะไร[/divider]
ทำความเข้าใจ Mindset ของแต่ละ Generation เพื่อทำงานร่วมกันได้อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย โดยไม่นำประเด็นความแตกต่างทางทัศนคติมาปิดกั้นศักยภาพการทำงานตัวเอง และผู้อื่น เมื่อคุณอ่านบทความนี้จบเชื่อได้เลยว่า คุณจะทำงานร่วมกับทุกช่วงวัยอย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ
อยากแสวงหาความก้าวหน้าในบริษัทที่มีผู้ใหญ่ทำงานอยู่เพียบ ก็ต้องปรับเปลี่ยนทั้งแนวคิด และการปฏิบัติตัว เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นแยกประเภทของผู้ใหญ่ในที่ทำงานของเรากันก่อน โดยส่วนมากแล้วในบริษัทต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นมานาน มักจะมีคนที่เรียกว่า “เก๋า” ในงานอยู่สองยุคนั่นคือ
คนในยุค Baby Boomer รุ่นนี้จะเกิดในช่วงหลังสงครามโลก อายุก็จะประมาณเท่า ๆ กับพ่อแม่ของเรา หรือบางคนก็แก่กว่านั้น ส่วนใหญ่แล้วรุ่นนี้ก็เป็นผู้บริหารระดับสูง หรือเจ้าของกิจการกันหมดแล้ว Mindset ของคนยุคนี้จะเชื่ออะไรที่มั่นคง มีแก่นสาร พวกเขายอมสละชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายในวันนี้ เพื่อวันข้างหน้าที่มั่นคง ฉะนั้น นิยามความก้าวหน้าของชีวิตการทำงานในบริษัทก็คือ “ทุ่มเท” Work – Life Balance ของคนยุคนี้เหมือนจะไม่ค่อยมีความหมาย เพราะอะไร? อย่าลืมว่า พวกเขาเกิดมาท่ามกลางวิกฤตของโลก ช่วงนั้นเศรษฐกิจเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว ทุกอย่างดูไม่มีอะไรที่แน่นอน คนยังหวั่นเกรงสงคราม Mindset ของพวกเขาจึงเชื่อมั่นเช่นนั้น ทัศนคติในการทำงานการใช้ชีวิตจึงมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อสร้างครอบครัว ผู้หญิงในยุคนั้นยังไม่ได้รับสิทธิ์ทางสังคมเหมือนผู้ชายนัก ภาระในการสร้างฐานะของครอบครัวจึงหนักไปที่ผู้ชาย สภาพแวดล้อมที่ลำบากจึงเคี่ยวกรำพวกเขาให้เป็นแบบนี้
คน Gen X คนยุคนี้เป็นผลิตผลจากยุค Baby Boomer กล่าวง่าย ๆ ก็เป็นลูก ๆ ของ Baby Boomer นั่นเอง คน Gen X ปัจจุบันก็เป็นหัวหน้าหรือเจ้านายของเรานั่นเอง สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง 2 Gen นี้ก็คือ Gen X เป็นคนที่มีแนวคิดใหม่กว่าคนรุ่นพ่อ เพราะสมัยพวกเขาเป็นยุคคาบเกี่ยวของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ก้ำกึ่งระหว่างแมนนวลกับดิจิทัล ก็เรียกว่ามีความสะดวกสบายในชีวิตระดับหนึ่ง คนกลุ่มนี้จึงอยู่ตรงกลางระหว่าง “พวกเรากับคนรุ่นเก่า” พวกเขาจึงสามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เข้ากับคนทั้ง 2 ยุคได้ พวกเขาได้รับอิทธิพลความคิดจาก Baby Boomer แต่ก็พร้อมรับแนวคิดใหม่จาก Gen Y พวกเราจึงอาจรู้สึกว่า คุยกับหัวหน้าง่ายกว่าคุยกับเจ้าของบริษัท
รุ่นจูเนียร์อย่างเรา มักจะเรียกร้องว่าพวก “ซีเนียร์” ชอบใช้อำนาจ ไม่ยอมเข้าใจพวกเรา ทำให้การทำงานของพวกเราไม่มีความสุขเลย รู้สึกอึดอัดอยากเปลี่ยนงานอยู่เรื่อย ๆ คำถามก็คือ พวกเราล่ะ เข้าใจ Mindset ที่แท้จริงของตัวเองบ้างหรือเปล่า นิยาม Mindset ของตัวเองอย่างไร และธงไหนที่จะปักไว้ว่าคือความก้าวหน้าของการทำงานในบริษัทนั้น ๆ บอกได้เลยว่าพวกจูเนียร์อย่างเรามีไม่น้อย ที่อ้อมแอ้มอ้ำอึ้ง ตกตะลึงตอบไม่ได้ เพราะ Gen Y อย่างเราทุกอย่างมันชิล ๆ ไม่จำเป็นต้องมีกรอบ พวกเรามีแนวคิดอันโลดแล่น โลดโผน และสดใหม่เสมอ และมักจะปรับเปลี่ยนความคิดไปตามสภาวะแวดล้อมและบรรยากาศที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยี สื่อ และโซเชียลมีเดีย คือจุดเปลี่ยนทางความคิดของพวกเรา พวกเราเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่อง Work – Life Balance พวกเรามักจะมีแนวคิดใหม่ที่ว่า “ถ้า Work Hard ก็ต้อง Play Hard” ชีวิตมีต้องใช้ซะ ทำให้เราสนุกและเต็มที่กับการใช้ชีวิตอยู่เสมอ ซึ่งจะเห็นว่า Mindset ของคนรุ่นใหม่ช่างคนละขั้วกับฝั่งผู้ใหญ่โดยสิ้นเชิง เพราะจุดเปลี่ยนของยุคสมัยที่แตกต่าง จุดเปลี่ยนทางความคิดก็เลยต่างกันออกไป
“ชีวิตที่ดีไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการได้เลิกงาน 5 โมงเย็น แล้วไปฟิตเนสเพื่อเล่นโยคะ ก็ถูกต้องนะ แต่นั่นต้องหมายความว่า เวลาทำงานคุณได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มที่จริง ๆ แล้วเท่านั้น นี่ล่ะนิยาม Work – Life Balance บน Mindset ที่ถูกต้อง”
จะพบว่าชีวิตการทำงานในบริษัท ไม่ว่า “ซีเนียร์” หรือ “จูเนียร์” จะมีช่องว่างที่ทิ้งระยะห่างกันอยู่ แต่ถ้าเรามองกันดี ๆ เราจะพบว่า ระหว่างผู้ใหญ่กับคนรุ่นใหม่แม้จะต่างความคิด ต่างทัศนคติ แต่มีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือ ความก้าวหน้าในบริษัท และการเติบโตในอาชีพ สถานะจึงเป็นลักษณะมีจุดร่วม แต่ขอสงวนจุดต่าง ดังนั้นถ้าจะให้ชีวิตการทำงานมีความก้าวหน้าพร้อมเติบโตในบริษัท เราจึงจำเป็นต้องหาจุดเปลี่ยนทางความคิด เราต้องเริ่มจาก “เข้าใจ” ซีเนียร์ให้ดีเสียก่อน เราถึงจะพร้อมปรับเปลี่ยนแนวคิดในการใช้ชีวิตในที่ทำงาน
รุ่นใหญ่เขาจะมองรุ่นใหม่อย่างพวกเราว่า “ไม่ทุ่มเท ไม่จริงจัง ไม่มุ่งมั่นและไม่มีความอดทน” เพราะเส้นทางที่พวกเขาผ่านมาจนกว่าจะมายืนอยู่จุดนี้ เขาผ่านความเคี่ยวกรำมาอย่างหนัก มีบททดสอบความทุ่มเท และความอดทนของพวกเขา นับสิบนับร้อย ทุกอย่างกว่าจะทำได้ต้องทำด้วยมือ เอกสารแต่ละฉบับจะได้มา ต้องร่างต้องเขียนต้องพิมพ์แบบแมนนวลทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ จึงเป็นการยากที่จะให้เขาเข้าใจโลกที่เปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือ ซึ่งพวกเราเกิดมาในยุคที่แทบไม่ต้องทำอะไร จะทำแบบฟอร์มอะไรสักอย่าง หาโหลดก็ได้ มีรูปแบบสำเร็จรูปจากโปรแกรมไว้ให้ใช้เลย ไม่ต้องเรียนรู้ไม่ต้องทำอะไร เราจึงมองว่าของมีให้ใช้จะมานั่งทำใหม่ทำไม แค่นี้ก็ทำให้ Mindset ต่างกันแล้ว
ถ้าจะให้ชีวิตการทำงานมีความก้าวหน้าพร้อมเติบโตในบริษัท เราจึงจำเป็นต้องหาจุดเปลี่ยนทางความคิด เราต้องเริ่มจาก “เข้าใจ” เราถึงจะพร้อมปรับเปลี่ยนแนวคิดในการใช้ชีวิตในที่ทำงาน
การปรับเปลี่ยนความคิดจึงสำคัญและต้องจัดการที่เรา รุ่นใหญ่ทั้งหลายน่ะ เขาเหมือนไม้แก่ที่ดัดยากเสียแล้ว การจะไปปรับเปลี่ยนในส่วนของความคิด และการกระทำของพวกเขา คงเป็นเรื่องที่ยากเกินไป แต่สิ่งที่ยังปรับเปลี่ยนและแก้ไขได้ก็คือความคิดของพวกเรา แล้วจะเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดจากจุดไหนดี ถึงจะช่วยให้มีความก้าวหน้าในการทำงานบริษัท มีคำแนะนำง่าย ๆ ดังนี้
อย่าตั้งแง่กับซีเนียร์ แม้เขาจะเริ่มตั้งแง่กับเราก่อน
ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานเสียใหม่ ลองหลอมรวมความคิดผู้ใหญ่และความคิดของเราให้เข้ากันดู จากที่ชิลไปเสียทุกอย่าง ทำงานไปวันๆ ก็ให้ปรับเปลี่ยนแนวคิดมาเป็นจะทำอย่างไรให้ตนเองเจ๋งกว่าคนอื่น เมื่อเรา Win บริษัทก็ Win ด้วย
พิสูจน์สิว่า สิ่งใหม่ตอบโจทย์กว่าสิ่งเก่า สิ่งนี่แหละที่คุณจะสามารถ เข้าไปนั่งในใจซีเนียร์ได้อย่างที่พวกเขาเถียงไม่ออก มันเหมือนจะเอาชนะเขานะ แต่ก็ดีไม่ใช่เหรอ พวกเราชอบความท้าทาย แต่ทำไมไม่ท้าทายกับความก้าวหน้าในบริษัทดูล่ะ เป็นการเพิ่มไฟในการทำงานให้ตัวเองด้วย
อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นซีเนียร์หรือจูเนียร์ หรือจะเป็นคน Gen ไหน จะต่าง Mindset อย่างไรก็ต้องอยู่ร่วมกันในที่ทำงานเดียวกัน ดังนั้น จุดเปลี่ยนชีวิตการทำงานจริง ๆ อยู่ที่การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งถ้ายอมรับกันและกันเพียงแค่นี้ได้ ไม่ว่าจะ Gen ไหน จะพบความก้าวหน้าในบริษัทได้ทั้งสิ้น
คนที่เพิ่งเริ่มทำงาน ย่อมเป็นธรรมดาที่จะต้องรู้สึกอึดอัดกับ Mindset เดิม ๆ ของคนระดับหัวหน้าที่เป็นคนรุ่นเก่าที่มักไม่เข้าใจพวกเรา เราไม่สามารถที่จะไปจัดการปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติในการมองโลกของพวกเขาได้ แต่สิ่งที่พวกเราทำได้คือจัดการปรับเปลี่ยนความคิดของเราเอง ลองวาง Mindset ใหม่ ภายใต้นิยามสั้นว่า “เข้าใจและให้เกียรติ” เราก็จะมีความสุขในชีวิตการทำงานมากขึ้น มองในด้านดีของพวกเขาให้มากขึ้น มองถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ที่คนในยุคก่อนต้องเผชิญมา ลองดูสิ แล้วคุณจะรู้ว่ามันไม่ได้ยากที่จะมีความสุขในที่ทำงาน แค่นี้ความก้าวหน้าในบริษัทก็ใกล้แค่เอื้อมแล้ว
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.