Categories: PASSION MARKET

ทำอย่างไร ? เมื่อสินค้าไม่พอขาย

สวัสดีครับทุกคน จากสถานการณ์ LOCKDOWN ที่ไม่สามารถออกไปถ่ายทำรายการได้ตามปกติ PASSION MARKET ขอปรับเนื้อหาโดยขอยกสถานการณ์ที่เกี่ยวกับความต้องการซื้อที่มากกว่าความต้องการขาย หากจะพูดให้เก๋ ๆ ก็คือ สถานการณ์ที่ดีมานด์มากกว่าซัพพลายนั่นเอง ใครที่ยังนึกไม่ออก ว่าเอ๊ะ !!! เจ้าดีมานด์กับซัพพลายคืออะไร จะขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ นะครับ อย่างเช่นปริมาณวัคซีนโควิด–19 ในประเทศกับความต้องการวัคซีนของคนในประเทศที่ไม่สอดคล้องกันนั่นเอง

ทีนี้เรามาดูปัจจัยที่ทำให้ความต้องการซื้อหรืออยากได้สินค้ามีมากขึ้นนะครับ หลัก ๆ ก็จะมาจากเรื่องของรายได้ การเก็งกำไร การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้า อย่างช่วงสิ้นปีที่บริษัทจะมีการแจกโบนัสให้กับพนักงาน ซึ่งโบนัสก้อนนี้เมื่อได้มาคนส่วนใหญ่ก็จะเอาไปซื้อของที่อยากได้ เช่น  โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ กล้องดิจิทัลรุ่นท็อป  หรือใครที่มีหัวการค้าหน่อยก็จะเอาไปซื้อกองทุน ซื้อพันธบัตร ก็อาจทำให้สินค้าขาดตลาด หรือไม่พอกับความต้องการได้

แต่นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ครับ ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ เพื่อน ๆ คงเคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อน อย่างตอนที่โดนัทยี่ห้อดังเข้ามาในเมืองไทยใหม่ ๆ ได้เกิดปรากฏการณ์คนแห่ไปจองคิวไปต่อแถว ขนาดที่ว่าปลายแถวล้นออกมานอกห้าง หรือในช่วงก่อนหน้านี้ที่ประเทศไทยมีมลพิษทางอากาศ ที่ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เยอะ ๆ ก็ทำให้ช่วงนั้น หน้ากากกันฝุ่นเป็นที่ต้องการมากมายเช่นกัน

แล้ววิธีพื้นฐานที่จะแก้ไขสถานการณ์แบบนี้ ง่ายที่สุดที่หลายองค์กรมักนำมาใช้ คือการเพิ่มกำลังการผลิต หรือผลิตสินค้าให้มีปริมาณที่มากกว่าเดิม อาจใช้วิธีสำรวจความต้องการของผู้บริโภคก่อนว่า อยากได้สินค้าประเภทไหน 1, 2, 3 แล้วค่อยผลิตจริง หรือ…อาจจะสอบถามไปยังพ่อค้าคนกลางที่ขายสินค้าให้เราก่อนก็ได้ครับ เพราะคนกลางจะรู้ดีที่สุด เนื่องจากเห็นความต้องการสินค้าแต่ละชนิดว่าผู้บริโภคต้องการสินค้าอะไร ประเภทไหนมากกว่าหรือน้อยกว่ากัน

อีกหนึ่งทางเลือกของการแก้ปัญหานี้  แต่ส่วนตัวผมไม่ค่อยอยากแนะนำเท่าไรนะครับ วิธีการก็คือ การจำกัดจำนวนการซื้อ เหตุผลที่ไม่อยากเลือกวิธีนี้ก็เพราะมันเหมือนการลดความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าของเรา เพราะผู้บริโภคอาจมองว่าบริษัทหรือผู้ผลิตไม่มีความพร้อม ไม่มีการเตรียมตัวในการขายสินค้านั่นเอง ผู้บริโภคอาจเปลี่ยนใจไปซื้อสินค้าจากยี่ห้อที่เป็นคู่แข่งของเราได้ หรือหากมองในแง่ร้าย ผู้บริโภคอาจจะไม่ใช้สินค้าของเราอีกเลย

หลังจากทราบวิธีแก้ปัญหา เมื่อดีมานด์มากกว่าซัพพลายไปแล้วจะขอสรุปหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาสินค้าขาดตลาด จนไม่สามารถส่งให้ผู้บริโภคได้ทันอีกครั้งนะครับหลัก ๆ แล้วก็คือ เรื่องของการสื่อสารนั่นเอง เพราะถ้าแต่ละฝ่ายไม่สื่อสารกัน ต่างคนต่างทำ ตัวใครตัวมัน หรืออาจจะคุยกันแต่ไม่รู้เรื่อง มองเฉพาะงานหรือปัญหาของฝ่ายตัวเองฝ่ายเดียว วิธีแก้ปัญหาก็จะไม่บรรลุผล ดังนั้น หากองค์กรใดต้องการแก้ปัญหานี้ ควรหาแนวทางและวางแผนงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้มีปัญหาสินค้าขาดตลาดน้อยที่สุด

ทั้งหมดที่กล่าวมาก็คือ หลักของการทำ MARKETING ง่าย ๆ ที่นำมาฝากชาว PASSION MARKET นะครับ  ครั้งหน้า PASSION MARKET จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ทางการตลาดเรื่องอะไรที่น่าสนใจ อย่าลืมติดตามชมนะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

Sakaorat

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.