Categories: Journey UpdateSUSTAIN

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุค COVID-19

การระบาดของ COVID-19 ที่ยังไม่รู้ว่าจะอยู่กับเราไปอีกนานเท่าไรนั้น ได้สร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมไม่น้อย แต่ถึงอย่างนั้นปัญหาที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 อาจไม่ใช่สาเหตุหลักของการละเมิดสิทธิมนุษยชน

พบหน้ากากอนามัยในมูลเต่าทะเล

แม้สถานการณ์การโรคระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศจะเริ่มดีขึ้น แต่อีกปัญหาที่น่ากังวลคือการจัดการขยะติดเชื้อทั้งหลาย ล่าสุดนักวิจัยญี่ปุ่นพบหน้ากากอนามัยในอุจจาระของเต่าทะเลบริเวณชายฝั่งภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งสร้างความกังวลถึงการปนเปื้อนและทำลายระบบนิเวศทางทะเล

เรามักได้ยินข่าวว่าพบพลาสติกอยู่ในท้องของเต่าทะเล  แต่เต่าทะเลตัวดังกล่าวถูกพบติดอยู่กับอวนบริเวณทะเลของจังหวัดอิวาเตะ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และภายหลังการตรวจสอบยืนยันว่าในอุจจาระของมันมีพลาสติกชนิดโพลีโพรพิลีนปนอยู่

ในงานวิจัยร่วมกันของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีแห่งโตเกียว และมหาวิทยาลัยโตเกียวที่ตีพิมพ์ลงในวารสารระบบนิเวศทางทะเล Marine Pollution Bulletin ระบุว่า หน้ากากอนามัยที่ขายอยู่ในท้องตลาดมีส่วนผสมของสารชนิดหนึ่ง ที่ทำให้มันคงตัวแม้ถูกรังสี UV จากดวงอาทิตย์ ซึ่งในทางกลับกัน สารชนิดนี้สามารถเข้าไปในร่างกายเราและส่งผลต่อระบบฮอร์โมนของอวัยวะต่างๆ ได้

ฮิเดชิกะ ทากาดะ หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยกล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้สะท้อนว่า สิ่งมีชีวิตทางทะเลได้รับสารเคมีในขยะเข้าไปในร่างกาย ผ่านการย่อยสลายขยะพลาสติกโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้น เมื่อเรายังต้องใช้หน้ากากอนามัยอยู่ “เราต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบการจัดการขยะให้ดีและเหมาะสมขึ้น”

ปัญหามลพิษเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าการระบาดของ COVID-19

เว็บไซต์ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เผยแพร่รายงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ระบุว่า ปัญหามลพิษที่เกิดจากยาฆ่าแมลง พลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง ทำให้มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรอย่างน้อย 9 ล้านคนต่อปี

ขณะที่โควิด-19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 5 ล้าน 9 แสนคน ซึ่งนายเดวิด บอยด์ ผู้แทนรายงานพิเศษของสหประชาชาติ ระบุว่า เป็นความล้มเหลวของการจัดการมลภาวะและสารพิษ จึงเรียกร้องให้ทางการของประเทศต่างๆ มีคำสั่งห้ามใช้สารเคมีอันตรายบางชนิดในทันที

สำหรับรายงานฉบับนี้ จะมีการนำเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ในเดือน มี.ค. (2022) ซึ่งจะมีการประกาศให้ “สิ่งแวดล้อมสะอาด” เป็นสิทธิมนุษยชน พร้อมระบุข้อเรียกร้องห้ามใช้สารโพลีฟลูออโรอัลคิล (Polyfluoroalkyl) และเพอร์ฟลูออโรอัลคิล (Perfluoroalkyl) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่มีการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนแบบไม่ติดกระทะ อุปกรณ์กีฬากันน้ำ เครื่องสำอาง บรรจุภัณฑ์อาหารที่ทนต่อความมัน และโฟมดับเพลิง ที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และมะเร็ง ทั้งถูกเรียกว่าเป็นสารเคมีที่จะคงอยู่ตลอดไปเพราะสลายตัวยาก

นางมิเชล บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกการคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมว่าเป็นความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และมีคดีความเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้ ปัญหาขยะประเภทสารเคมียังถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้ ซึ่งจะมีการเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน คล้ายกับคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

Sakaorat

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.