Categories: Journey UpdateSUSTAIN

ไอเดียรักษ์โลก เปลี่ยนขยะเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

ผลิตภัณฑ์ชีวภาพถือเป็นสินค้าที่กำลังได้รับความสนใจ และเป็นที่ต้องการของกลุ่มคนรักสิ่งแวดล้อม วันนี้เราจะมาดู 2 งานวิจัยฝีมือคนไทยที่จะมาช่วยเปลี่ยนขยะให้เป็นรายได้

เปลี่ยนกากกาแฟเหลือทิ้ง เป็นพลาสติกย่อยสลายได้

มาดูงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ได้นำกากกาแฟเหลือทิ้งมาต่อยอดเป็นพลาสติกย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ ในชื่อแบรนด์ “NU Bio Bags” จนได้กลายเป็นบรรจุภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้ที่มีใจรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อลดขยะให้กับโลกกันครับ

ผู้ดูแลงานวิจัย “NU Bio Bags” นี้คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรารัตน์ มหาศรานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากจำนวนขยะในอุสาหกรรมการเกษตร  อย่างถุงดำที่ใช้ใส่กล้าไม้ หลังจากเรานำต้นไม้ลงดินเพื่อปลูกแล้ว ถุงดำเหล่านี้ก็จะกลายเป็นขยะที่ไร้ประโยชน์ หากกำจัดไม่ถูกวิธีก็จะสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก จึงได้ทำการทดลองนำ “กากกาแฟ” มาทำการวิจัยให้ได้เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การทดลองเบื้องต้นได้นำกากกาแฟที่จากร้านคาเฟ่ต่างๆ ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งจัดว่าเป็นขยะเหลือทิ้ง มาแปลรูปเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

โดยนำกากกาแฟ มาผสมกับ “พอลิแลคติกแอชิด” ซึ่งสารนี้ก็มาจากกระบวนการหมักแป้งและน้ำตาล หลังจากการผสมแล้วก็จะนำมาขึ้นรูปด้วยกระบวนการเป่าฟิล์มด้วยเครื่องเป่าฟิล์ม (blow film extruder) จนเป็นฟิล์มบาง ซึ่งพลาสติกที่ได้มานี้ เป็นพลาสติกที่ใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติปราศจากการใช้สารเคมี และสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ 100% ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน

นอกจากจะนำไปผลิตเป็นถุงเพาะกล้าไม้แล้ว ก็ยังได้มีการนำไปต่อยอดเป็นบรรจุภัณฑ์อื่นๆ อีก ซองใส่อาหาร หรือใส่อุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากสีธรรมชาติของพลาสติกคือสีชา สามารถช่วยในเรื่องการกรองแสงได้ การนำมาใส่ สินค้าทางการเกษตร เช่น ชา ผลไม้อบแห้ง เมล็ดพืช ก็ตอบโจทย์การรักษาคุณภาพได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการนำไปใส่อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งทางโครงการได้ร่วมมือกับทางโรงแรมที่มีนโยบายลดขยะ ในการนำไปใส่อุปกรณ์เครื่องใช้แทนการใช้พลาสติกธรรมดาทั่วไป ก็สามารถช่วยลดปัญหาในเรื่องขยะพลาสติกให้กับทางโรงแรมได้อีกด้วย

แปลงเศษอาหารสู่สารบำรุงพืชชีวภาพ

เนื่องจากขยะมูลฝอยเป็นหนึ่งในปัญหามลพิษอันดับต้นๆ ของประเทศไทย จากการสำรวจโดยกรมควบคุมมลพิษ พบว่าขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นจากชุมชนทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2560 มีปริมาณมากถึง 27.37 ล้านตัน หรือ 74,998 ตันต่อวัน

ดร.ธัญญพร วงศ์เนตร อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมชีวโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี ผู้ดูแลโครงการ “BioVIS สารบำรุงพืชชีวภาพ” มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากเศษอาหาร ทางโครงการจึงได้จัดทำโครงการ “ขยะเพิ่มทรัพย์” โดยร่วมกับทีมวิจัยและนิสิต ด้วยการนำเศษอาหารจากโรงอาหารภายในพื้นที่ของสถาบันวิทยสิริเมธี มาทำการหมักด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ และได้เกิดผลลัพธ์เป็นเพื่อให้ได้สารบำรุงพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หลังจากที่ได้ทำการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องสารชีวภาพที่ได้จากเศษอาหาร ทางโครงการจึงได้นำสารที่ได้มานั้นต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงพืชในชื่อ BioVIS

BioVIS  ส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ circular economy เปลี่ยนสิ่งที่ไม่มีมูลค่าอย่างเศษอาหารให้เป็นสารบำรุงพืชที่มีคุณภาพด้วยกระบวนการทางชีวภาพ โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ทั้งแบบใช้อากาศและไม่ใช้อากาศ  โดยกระบวนการผลิตช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการขยะอินทรีย์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม  เนื่องจาก สารบำรุงพืชชีวภาพ BioVis ถูกผลิตจากขยะเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทาน ไม่มีการเติมสารเคมีลงในผลิตภัณฑ์ รวมถึงกระบวนการผลิตที่ใช้จุลินทรีย์ตามธรรมชาติในการย่อยขยะเศษอาหาร เพื่อผลิตเป็นสารบำรุงพืชที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และช่วยจัดการกับปัญหาขยะเศษอาหารได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

Sakaorat

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.