Categories: inspriedNews

Richard Branson – กรณีศึกษาธุรกิจจากผู้ก่อตั้ง Virgin Record

5 / 5 ( 2 votes )

ถ้าคุณเป็นคนที่กำลังหมดไฟในการทำงานอยากลองทำสิ่งใหม่ ๆ อยากก้าวออกจาก comfort zone ไปค้นหาตัวเองแต่ก็ไม่กล้าเพราะมีข้ออ้างในใจมากมาย เช่น อายุมากแล้วภาระเยอะไม่มีเงินทุน ฯลฯ จนสุดท้ายก็ได้แต่นั่งอยู่ในกรอบแคบ ๆ ที่คุณขีดไว้เองเหมือนเดิมวันนี้ Passion Gen อยากให้คุณได้รู้จักกับชีวิตที่ไม่ธรรมดาของ Richard Branson ชายที่ไม่มีแม้กระทั่งวุฒิมัธยมปลายแต่สามารถก้าวผ่านทุกข้อจำกัดในชีวิตมาได้ด้วยแนวคิดใหม่จนก้าวมาเป็นนักธุรกิจพันล้านเจ้าของธุรกิจ Virgin Group ที่ปัจจุบันมีบริษัทในเครือมากกว่า 400 บริษัท แล้วคุณจะได้รู้ว่าไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้…ถ้าใจของคุณไม่ยอมแพ้

วัยเด็กและการเป็นเจ้าของธุรกิจครั้งแรก

ริชาร์ด ชาร์ลส์ นิโคลัส แบรนสัน เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1950 ที่ เซาท์ลอนดอน  ในครอบครัวชนชั้นกลางของอังกฤษในวัยเด็กริชาร์ดชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งและรักในการผจญภัยมากเขาเป็นคนที่เล่นกีฬาได้เก่งมาก แต่ในเรื่องของการเรียนแล้วนั้นเขากลับทำได้ไม่ดีจนถึงขั้นแย่เลยทีเดียวสาเหตุเป็นเพราะเขาเป็นโรค dyslexia หรือโรคความบกพร่องในการอ่านหนังสืออาการของโรคคือ เด็กอาจจะอ่านไม่ออก หรืออ่านได้บ้าง แต่สะกดคำไม่ถูกผสมคำไม่ได้สลับตัวพยัญชนะสับสนกับการผันสระทำให้เขาต้องยุติการเรียนหนังสือด้วยวัยเพียง 16 ปี และนั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาเริ่มสร้างธุรกิจของตนเอง และธุรกิจแรกคือ นิตยสารแจกฟรียี่ห้อStudent’ โดยฉบับแรกเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1966 แจกออกไป 50,000 ฉบับ และใช้กลยุทธ์ธุรกิจนำตัวเลขดังกล่าวมาเสนอแก่เอเจนซี่เพื่อขายโฆษณาทำให้เขาได้ทุนคืนพร้อมกำไรทันทีตั้งแต่ฉบับที่ 2 เป็นต้นมาซึ่งต่อมาเขาได้เห็นช่องทางในการทำธุรกิจแผ่นเสียงจึงได้เริ่มธุรกิจขายแผ่นเสียงผ่านทางไปรษณีย์โดยมีราคาถูกกว่าท้องตลาด 15%

และขยายเปิดหน้าร้านขายแผ่นเสียงและเทปเพลงในปีเดียวกันตั้งชื่อว่า Virgin Records and Tapes โดยสามารถขยายเป็น 12 สาขาภายในปีเดียว แต่แล้วริชาร์ดในวัย 19 ปีก็ได้ถูกจับในข้อหาไม่จ่ายภาษีในการขายแผ่นเสียงถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 1 คืน และเสียค่าปรับจำนวน 60,000 ปอนด์ โดยพ่อแม่ของเขาต้องนำบ้านไปจำนองเพื่อนำเงินมาจ่ายค่าปรับนี้

“You don’t learn to walk by following rules. You learn by doing, and by falling over.”

ตั้งแต่เราเป็นเด็ก เราไม่ได้หัดเดินด้วยการทำตามกฎ แต่เราเรียนรู้ด้วยการลอง และการล้มนับครั้งไม่ถ้วน – Sir Richard Branson

เริ่มต้นใหม่และจุดเปลี่ยนที่พลิกชีวิต

หลังจากผ่านเหตุการณ์เลวร้ายมาได้ ริชาร์ดก็กลับมาลุยธุรกิจอีกครั้งโดยจับมือกับอีกสามหุ้นส่วน ได้แก่ Simon Draper, Nik Powell, และ Tom Newman ก่อตั้งสตูดิโอและค่ายเพลง Virgin Records ในปี 1973 โดยศิลปินคนแรกของ Virgin Records คือ Mike Oldfield กับซิงเกิ้ลแรกชื่อ Tubular Bells ที่ปล่อยออกมาในปี 1973 และกลายเป็นเพลงฮิตติด UK Chart ยาวนานถึง 247 สัปดาห์ ส่งผลให้ Virgin Records ซึ่งเป็นค่ายเพลงน้องใหม่ถูกรู้จักโดยแพร่หลายอย่างรวดเร็วจากนั้นริชาร์ดก็เริ่มเข้าหาศิลปินที่มีชื่อเสียงและจับเซ็นสัญญากับทางค่ายของเขา เช่น Sex Pistols, Culture Club, Rolling Stones, และ Genesis เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบนี้ให้ผลดีมาก ๆ เพราะผลงานของแต่ละคนล้วนประสบความสำเร็จ ส่งผลให้ชื่อเสียงของ Virgin Records พุ่งทะยานกลายเป็น 1 ใน 6 ค่ายเพลงระดับโลกในเวลาต่อมา และถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้ Virgin Records จะตกไปอยู่ในมือของ Universal Music แล้ว แต่ก็ถือได้ว่า Virgin Records เป็นจุดเริ่มต้นที่สร้างความร่ำรวยและมีชื่อเสียงให้แก่ริชาร์ดได้เป็นอย่างมาก

“Business opportunities are like buses, there’s always another one coming.”

โอกาสของการทำธุรกิจก็เหมือนการรอรถประจำทาง เราอาจพลาดบางคันแต่เดี๋ยวมันก็ต้องมีรถคันต่อไปเข้ามาใหม่อยู่ดี – Sir Richard Branson

คลิกเลย! แนะนำบทความน่าอ่าน

จาก Virgin Record ต่อยอดไปอีกหลากหลายธุรกิจ

ริชาร์ด ได้ต่อยอดและขยายธุรกิจไปอีกมากมาย ซึ่งหนึ่งธุรกิจที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากก็คือ ธุรกิจสายการบิน Virgin Atlantic ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เขาต้องเดินทางโดยเครื่องบินเป็นประจำ แต่สิ่งที่พบคืออาหารแช่แข็ง ภาพยนต์ที่มีให้เลือกดูน้อย และพนักงานบริการก็ดูเคร่งเครียดทำให้เขาคิดที่จะทำสายการบินแนวคิดใหม่ที่เต็มไปด้วยความบันเทิงจนกลายเป็นที่มาของสายการบิน Virgin Atlantic ซึ่งถือว่าเป็นคู่ปรับตลอดกาลของสายการบิน British Airways

สัญญลักษณ์ของ Virgin เปรียบเสมือนยานพาหนะอันทรงพลัง ที่นำพาให้ผู้ก่อตั้งอย่าง ริชาร์ด สามารถรุกขยายไปยังกิจการต่างๆ มากมาย อาทิ Virgin Music, Voyager Group Travel, Virgin Atlantic Airline, Virgin Megastores, Virgin Cruise จนมาถึงธุรกิจอวกาศอย่าง Virgin Galactic รวมแล้วมากมายกว่า 400 กิจการ ซึ่งบางกิจการแทบไม่มีความเชื่อมโยงกันได้เลย แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะทำสิ่งใหม่ตลอดเวลา และถึงแม้ว่าจะมีธุรกิจหลายอย่างของเขาที่ล้มเหลวไม่เป็นท่า แต่อีกร่วม 400 บริษัทที่อยู่รอด คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง

“I am prepared to try anything once.”

ผมเตรียมตัวพร้อมสำหรับทุกโอกาสที่เข้ามาอยู่เสมอ – Sir Richard Branson

ชื่อเสียง เกียรติคุณและรายได้มหาศาล

ริชาร์ด มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมากอีกหนึ่งกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นก็คือ เขาสร้างตัวเองขึ้นมาจนตัวเขาเองกลายเป็นแบรนด์ที่มีคนรู้จักและสนใจโดยไม่ต้องจ้างดาราดัง ๆ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้แก่สินค้าของเขาเลยทุกวันนี้เขากลายเป็นคนที่โด่งดังไปแล้วทั่วโลก และเป็นบุคคลที่สื่อทุกประเภทให้ความสนใจอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเท่ากับเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจของเขาไปด้วย

เขาถูกจัดให้เป็นหนึ่งในบุคคลตัวอย่างและนักธุรกิจผู้ทรงอิทธิพลของโลก ได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ Doctor of Technology โดยมหาวิทยาลัย Loughborough University ในปี 1993 จากนั้นในปี 1999 Queen Elizabeth II มีพระประสงค์พระราชทานตำแหน่ง Knight Bachelor ในฐานะผู้มีบทบาทต่อโลกของผู้ประกอบการ ซึ่งการพระราชทาน Knight Bachelor สำเร็จโดย เจ้าฟ้าชาย Charles แห่ง Wales เมื่อ 30 มีนาคม 2000 ณ พระราชวัง Buckingham

ชื่อของ ริชาร์ด ปรากฏอยู่ในลำดับที่ 85 ของ 100 Greatest Britons โดย BBC ในปี 2002 (ซึ่งเป็นการโหวตโดยประชาชนทั่วไป) และต่อมาชื่อของเขาปรากฏใน Top 100 Most Influential People in the World โดย Times Magazine ในปี 2007 สุดท้ายจากการจัดอับดับความมั่งคั่งของ Forbes ในเดือน พฤศจิกายน 2017 Richard Branson มีทรัพย์สินและรายได้สุทธิอยู่ที่ 5,100 ล้านเหรียญสหรัฐ

“If you want to stand out from the crowd, give people a reason not to forget you”

ถ้าคุณอยากเป็นคนที่โดดเด่นจนทุกคนบนโลกต้องจับตามอง จงสร้างความแตกต่างที่ทำให้ผู้คนลืมคุณไม่ลง– Sir Richard Branson

แนวคิดผู้นำเพื่อความสำเร็จ

ริชาร์ดเริ่มต้นธุรกิจแรกตอนอายุ 17 ปี เพื่อเอาชนะความบกพร่องทางด้านการอ่านด้วยการเรียนรู้จากการลงมือทำ และก้าวสู่ความสำเร็จสูงสุดของชีวิตในวัย 58 ปี ความกล้าเดินออกจาก comfort zone กล้าที่จะฉีกกรอบความคิดแบบเก่า ๆ ด้วยแนวคิดใหม่กระโจนเข้าหาทุกโอกาสและมองเป็นความท้าทายนี่แหล่ะคือเคล็ดลับที่ทำให้ผู้ชายคนนี้ประสบความสำเร็จได้อย่างงดงาม….แล้วคุณล่ะ พร้อมที่จะก้าวหรือยัง ?

Passiongen

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.