BANPU Greener, Smarter & Faster ธุรกิจสีเขียวต้องสร้าง EBIDA เกินกว่า 50% ในปี 2025

นับจากปี 2015 ที่บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เริ่มก้าวสู่กระบวนการปรับตัวครั้งใหญ่จากพลังงานดั้งเดิมบนพื้นฐานของฟอสซิลและถ่านหิน สู่พลังงานสีเขียวและพลังงานสะอาด จากวันนั้นถึงวันนี้ บ้านปู ก้าวสู่แผน Greener & Smarter แผนที่ 2 ที่มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากการเพิ่มสัดส่วนโครงสร้างของพลังงานสะอาดให้มากขึ้น โดยมีเป้าหมาย การเพิ่ม EBIDA ให้มากกว่า 50% ภายในปี 2025

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ กับการปรับโครงสร้างของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของไทย เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามอย่างยิ่ง Passion Talk ฉบับนี้จึงไม่รอช้า… ที่จะสัมภาษณ์ผู้บริหารหญิงแกร่ง สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพื่อไขปริศนาการ Transform องค์กรพลังงานยักษ์ใหญ่แห่งนี้

Greener & Smarter คืออะไร มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบ้านปูอย่างไร

คำถามนี้ก็เป็นคำถามที่พี่เองก็ตอบตัวเองมาเป็น 10 ปีเหมือนกัน คือถ้าเราย้อนหลังไปสมัยปีประมาณ 2012-2013 เป็นช่วงที่บ้านปูลำบากมาก เพราะเราอยู่ในธุรกิจที่เป็นโภคภัณฑ์  และเป็นธุรกิจที่ถูกมองว่าสร้างมลภาวะ เรื่องของคาร์บอนไดออกไซด์ และก็เรื่องภาวะโลกร้อน พอปี 2015 Banpu จึงตั้งหลักใหม่ว่า การที่บ้านปูจะอยู่ไปแบบยั่งยืนบน Sustainability Policy เราจะต้องปรับตัวให้เป็นไปตามทิศทางของโลก ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปใน 3 เมกะเทรนด์หลัก ได้แก่ 1.Decarbonization  คือ  ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ 2. Digitalization  การที่จะเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น และ 3.Decentralization เนื่องจากบ้านปู อยู่ในธุรกิจพลังงาน ถ้ามองในบริบทของประเทศต่างๆทั่วโลก ส่วนมากรัฐบาลเป็นคนขายไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าก็ผลิตไฟฟ้าใช้เอง รวมถึงขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับรัฐ หรือการเปลี่ยนจาก Consumer หรือผู้บริโภคไฟฟ้าเป็น Prosumer ก็คือทั้งผลิตและก็ทั้งบริโภค

.

เมกะเทรนด์นี้เป็นความท้าทายของ “บ้านปู” ที่ต้องก้าวไปตามเทรนด์ของโลก เราจึงเริ่มขยับจากการที่เรามีเหมือนถ่านหินขนาดใหญ่มากๆ ขยับไปหาธุรกิจที่เป็น Fossil Fuel น้อย นั่นก็คือ ธุรกิจแก๊ส ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่ในกระแสที่ยังมีความต้องการใช้อีกนาน จึงเป็นที่มาของคำว่า “Greener”

.

โลกเราก็ยังคงจะต้องมีการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานดั้งเดิมอยู่ เราก็เลยคิดแค่ขั้นตอนปี 2015 เนี่ยว่าเป็น Greener แล้วก็เพิ่มธุรกิจแก๊สที่อเมริกา เพิ่มพลังงานหมุนเวียนไม่ว่าจะเป็น Solar Farm, Wind Farm และ Energy Technology”

.

เมื่อทำด้าน Energy Technology ก็เริ่มเข้าใกล้กับคำว่า Smarter มากขึ้น เลยเป็นที่มาของ แผนกลยุทธ์ Greener & Smarter ที่เราใช้ในระหว่างปี 2015-2020 โดยแผนนี้สิ่งที่เราเดินหน้าคือ ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจเหมืองถ่านหินเพิ่มเติมเลย เงินลงทุนที่มีลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด แล้วก็เติมธุรกิจแก๊สที่อเมริกา เพราะว่ามีขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อการผลิตไฟฟ้า และเติมธุรกิจที่เป็น Eco System platform Business โดยบริษัทลูกอย่าง Banpu NEXT ก็ สร้างพลังงานให้อยู่ในรูปของ Solution ที่เราเรียกว่าเป็น Energy Solution for the Future ที่เป็นแพลตฟอร์มในการออกแบบโซลูชันด้านพลังงานที่สอดคล้องกับ Pain Point ให้ลูกค้า

.

เรามี Greener & Smarter ในหลายแง่มุม ประการแรก เรา Greener & Smarter Strategy ในการ Transformers Business Portfolio ประการที่สอง Greener & Smarter ในแง่ Digital Transformation นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการต่างๆ และประการที่สาม Greener & Smarter ในมุมของการ Transform คนของบ้านปูให้เป็นคนที่ทันสมัย ฉับไว ว่องไว เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ล้มแล้วลุกไว ไม่ว่าจะเผชิญกี่วิกฤตก็สามารถที่จะยืนหยัดกลับมาได้ใหม่และดีขึ้น

.

กระทั่งจบปี 2020เราก็มาต่อแผนที่สองในปี 2021-2025 ที่ยังคงคำว่า Greener & Smarter และเติมคำว่า Faster ต่อท้ายอีกคำ เป็น Greener Smarter & Faster”

แผน 2021-2025 แตกต่างจากแผนในปี 2015-2020 อย่างไร

ช่วง 5 ปีแรก 2015-2020 เป็นช่วงที่เรากำลังค้นหาตัวเอง เพราะธุรกิจถ่านหินของ Banpu มีขนาดใหญ่มาก สร้างกำไรสูงมาก เป็นกระแสเงินสดสำหรับจ่ายคืนให้ผู้ถือหุ้น คืนให้กับสถาบันการเงิน และเอามาสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ หากเราจำเป็นต้องลดธุรกิจถ่านหินลงไปเลน ก็อาจจะส่งกระทบกับการเติบโต กำไรบริษัทจะไม่โต กระแสเงินสดจะไม่โต ตรงนี้อาจจะทำให้ผู้ถือหุ้นรู้สึกไม่สบายใจ เราจึงอยู่ในช่วงที่ค้นหาว่า ถ้าจะลดธุรกิจถ่านหิน อะไรจะเป็นธุรกิจทดแทนได้  ซึ่งเราได้ค้นพบคำตอบว่า ธุรกิจแก๊สที่อเมริกามีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะสามารถสร้างผลกำไรได้มาชดเชยได้ ทำให้เราเริ่มลงทุนในธุรกิจแก๊สที่อเมริกา

ส่วนที่สอง  การเริ่มเข้าไปหาประสบการณ์ในประเทศใหม่ๆ เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม  ประเทศจีน แม้ประเทศเหล่านี้เราจะเข้าไปทำธุรกิจนานแล้ว แต่เราเริ่มเข้าไปหาโอกาสด้านพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือว่าเป็นพลังงาน Mini Hydro Power Plant ในอินโดนีเซีย ดังนั้นช่วง 5 ปีแรกเนี่ยเป็นช่วงของการค้นหาและค้นพบ ใช้งบลงทุนไปบางประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐลงทุนในธุรกิจแก๊ส และอีก 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐลงทุนในพลังงานสะอาด

.

พอปี 2021- 2025  เป็นช่วงของการเติบโต พนักงานรู้ถึงเป้าหมายบริษัทมีเป้าหมายร่วมกัน เราไป Greener & Smarter  ด้วยกัน Go Green Together มี One Dream One Goal และก็มี Banpu HEART ประกอบไปด้วย Passion, Innovation Commitment

.

Passion ทำให้เราวิ่งไป Greener Smarter ได้เร็วขึ้น Innovation เพราะว่าเราอยู่ในพลังงาน ดังนั้น เราจะต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยี และ Commitment ที่มีอยู่ใน DNA ของคนบ้านปูว่า “ทำอะไรแล้วเราต้องทำให้สำเร็จ”

ภาพในอนาคตของบ้านปูจะเป็นอย่างไร

ตั้งแต่ปี 2015  เรารู้แล้วว่า “Banpu จะเติบโตต่อไปได้ จะต้องโตอยู่บนความยั่งยืน” เราจึงมี Sustainability Policy ซึ่ง Sustainability Policy ของ Banpu จะยึดหลัก 3 ประการ

.

หลักที่หนึ่ง คือ ธุรกิจของ Banpu ต้องเป็นธุรกิจที่ไปได้ดี มีกำไร มีผลตอบแทนพอสมควร

.

หลักที่สอง ก็คือ ด้านสิ่งแวดล้อม เราจะต้องดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในธุรกิจที่เราทำอยู่ ต้องมีวิธีที่ทำธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

.

หลักที่สาม คือ การดูแลชุมชน ใน 10 ประเทศที่บ้านปูทำธุรกิจเราจะเติบโตไปพร้อมกัน

.

นั่นคือ จุดที่เรายึดมั่นว่า ต้องเติบโตแบบยั่งยืน บนกลยุทธ์ Greener & Smarter โดยมี ESG เป็นนโยบายหลักที่นำเราไปในอนาคต จะเป็นบ้านปู Net Zero หรือ Banpu Carbon neutral เป็นจุดที่บ้านปูจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแบบมั่นใจว่า เราจะเป็นบริษัทหนึ่งในใจของนักลงทุน และสถาบันการเงินต่างๆ ว่า Banpu เป็น Conscious Company ที่มีความชัดเจนในการผลิตพลังงานที่ยั่งยืน ในราคาเหมาะสม มีความต่อเนื่อง มีความมั่นคง และเป็นพลังงานสะอาด

เราวางเป้าหมายอย่างไร ในสิ้นปี 2025

ในเรื่องของ Greener & Smarter เราตั้งเป้าหมายโดยมี Commitment ร่วมกันจากทางทีมผู้บริหาร และพนักงานของบ้านปูทั้ง 10 ประเทศว่า ภายในสิ้นปี 2025  กระแสเงินสดหรือ EBITDA ที่เราทำได้จะมาจากธุรกิจที่เป็น Greener & Smarter มากกว่าร้อยละ 50  ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เป็นตัววัดที่ดีว่าเราเป็น “Greener”

ส่วน “Smarter”  การทำ Digital Transformation ตั้งแต่ปี 2018 การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน มี Energy Technology มี Eco System platform มี Smart Energy Solution for the Future เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า เราได้ใส่เรื่อง Smarter เข้าไปมากแล้ว

ทราบมาว่า Banpu ทำ CSR เยอะมาก

คุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ ท่านเป็น CEO คนแรก และปัจจุบันเป็นประธานบริษัท ท่านเป็นคนที่ทำอะไรจะนึกถึงพนักงานมาเป็นที่หนึ่ง เพราะสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุดของบ้านปูคือ “คน” ท่านจึงปลูกฝังพวกเราให้เป็นคนที่มี Passion Innovation  และ Commitment  เป็นที่มาของ Banpu HEART ที่เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและใช้ใน 10 ประเทศที่บ้านปูเข้าไปลงทุน  การที่คนที่แตกต่างกันว่า 20 เชื้อชาติ จะมาอยู่ร่วมกันได้ ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน มีวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน Banpu HEART จึงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้เราทำอะไรไปด้วยกัน บนวิธีการ บนการดำเนินงานบนนโยบายความยั่งยืน ที่มีการดำเนินงานที่สอดคล้องทั้งในแง่มุม ธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ทำให้เรามีใจในเรื่องของจิตอาสา และ Banpu ก็อยู่ใน DJSI (Dow Jones sustainability index) ตั้งแต่ปี 2014 เราได้รับ ESG Rating ระดับ Aจาก MSCI และเป็น 1 ใน 70 ประเทศ ที่ได้รางวัล SD Report ที่ดีที่สุด นั่นเป็น Commitment ในเรื่องของความยั่งยืนที่บ้านปู ทำให้โลกประจักษ์ว่าเรา Transform ไปสู่ Greener & Smarter โดยมี Banpu HEART เป็นหัวใจที่เราใส่ใจสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

.

บ้านปูจะอายุครบ 40 ปีในปี 2566 ซึ่งเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง 40 ปีที่ผ่านมา บ้านปูเริ่มต้นด้วยการดูแลชุมชน ในทุกที่ที่เราไปลงทุนเราต้องอยู่กับชาวบ้าน เพราะฉะนั้นใจเราเนี่ยอยู่กับชาวบ้านอยู่กับชุมชน จึงกลายเป็นการปลูกฝัง เรื่อง การดูแลชุมชนมาตั้งแต่ในอดีต  พอช่วงหลังมีคำว่า CSR (Corporate Social responsibility) เราก็เดินหน้า เน้นในเรื่อง การสร้างอาชีพให้กับคนที่อยู่ในชุมชนล้อมรอบธุรกิจของเราทุกประเทศ

.

ประการที่สอง ที่เราเน้นมากๆ คือ เรื่องของการศึกษา เพราะเราเชื่อว่า การศึกษาจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา  Banpu ทำโครงการ CSR ช่วยเหลือชุมชนหลายสิบโครงการ โครงการที่เห็นได้ชัดเจน เช่น Power Green Camp ทำร่วมกับทางมหาวิทยาลัย เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีความรู้สึกรักในธรรมชาติกับการรักษ์โลก และความหลากหลายทางชีวภาพ โครงการนี้เราทำมาเกิน 10 ปี

.

อีกโครงการหนึ่งที่ทำมาเกิน 10 ปีเช่นกัน คือ Banpu Champions for Change เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็น  Social Enterprise ที่เราได้ให้ผู้ประกอบการ Start Up เข้ามาประกวดแข่งขันและได้รับ Seed Money ไปผลักดันให้ไอเดียนั้นเป็นธุรกิจ

.

นอกจากนี้ยังมี โครงการ บ้านปูเทเบิลเทนนิสหาเพชรเม็ดงามไปแข่งขัน “ระดับเยาวชน” รวมถึงการสร้างโค้ช หรือที่ทางภาครัฐมีนโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนประชารัฐ บ้านปูเองก็รับมา 30 โรงเรียน ในภาคอีสาน โดยที่พนักงานบ้านปู เป็นจิตอาสาไปทำงานกับโรงเรียนเหล่านั้น เมื่อครบโครงการก็เลือกโรงเรียนเข้าโครงการรุ่นใหม่ และให้โรงเรียนที่จบโครงการแล้วมาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งเราคาดหวังว่า การศึกษาถ้าเราทำได้ดี ประเทศก็จะพัฒนาได้

ด้านกีฬา บ้านปูก็มีการสนับสนุนเช่นเดียวกัน ใบบ้านปูเอง มีสปอร์ตเดย์เป็นประจำ และเราสนับสนุนกีฬามาสม่ำเสมอ Special Olympics Thailand ก็เป็นอีกโครงการที่เราสนับสนุนมาโดยตลอด ซึ่ง Special Olympics Thailand เป็นกีฬาสำหรับคนพิเศษ ที่เมื่อเราได้สัมผัสแล้วพบว่า เป็นโชคดีของเรามากๆที่ได้ไปสัมผัสกับพวกเขา คนพิเศษเหล่านี้ เขามีความสามารถ เขามีความฉลาด มีความน่ารักอยู่ในตัวเอง กีฬาที่เราดูว่ายาก แต่เขาไปซ้อมไปแข่งแล้วดูเป็นเรื่องง่าย  นั่นเป็นความประทับใจ ความภาคภูมิใจของเราที่ได้สนับสนุน บ้านปูจึงสนับสนุนมาตลอด

.

หรืออย่างในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ตอนนั้นบ้านปูก็ตั้งกองทุนขึ้นมามูลค่า 500 ล้านบาทเดือนมีนาคมปี 2020 ช่วยทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ในการสร้างตึก สร้างห้องความดันลบ เครื่องช่วยหายใจ หลายโรงพยาบาลในหลายจังหวัด จนเงินกองทุนหมด เราก็เติมเงินทุนเพิ่มอีก 500 ล้านบาทในรอบที่สอง เน้นการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ เรื่องถุงยังชีพ เรื่องปากท้องประชาชน มีครั้งหนึ่งไปที่พัทยา มีโอกาสได้ช่วยเหลือกลุ่มนักแสดงทิฟฟานี่ อัลคาซ่า ซึ่งไม่เคยมีความช่วยเหลือที่ไปถึงเขาเลย ตอนโควิดระบาดเขาก็ไม่มีงานแสดง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก เราเข้าไปช่วยเหลือเขาดีใจมาก ได้เห็นน้องๆ มีความสุข เป็นความประทับใจของเรา สร้างความสุขให้พนักงาน Banpu

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.