ทินกร เหล่าเราวิโรจน์ Web3.0 เปลี่ยนโลก คนไทยจะก้าวอย่างไร? | Passion Talk EP037
2565 จะเป็นปีที่เริ่มต้นของหลายสิ่ง โดยเฉพาะการเบ่งบานของ Big Data, Internet of Things, AI, Blockchain และ Cryptocy ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานของ Web 3.0 และเมื่อนำมาผนวกกับเทคโนโลยี VR และ AR จะทำให้เกิดโลกเสมือนหรือ Metaverse
ซึ่งเจ้า Web.30 และ Metaverse นี้ จะเป็นเทคโนโลยีเปลื่อนโลก ที่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่การใช้ชีวิต วิธีคิด วิธีการทำงาน และการทำธุรกิจ เรียกว่าเป็นโลกใหม่กันเลยทีเดียว Web.30 และ Metaverse สำคัญอย่างไร? วันนี้ passiongen ได้รับเกียรติจาก ทินกร เหล่าเราวิโรจน์ CEO และนักพัฒนาซอฟแวร์บริษัท นายเน็ต จำกัด และอดีตนายกสมาคมซอฟต์แวร์ไทย ที่จะมาเปิดโลกเทคโนโลยีให้เราเข้าใจว่า ชีวิตในโลกใหม่จะเป็นอย่างไร
อยากให้แนะนำตัวเอง แนะนำธุรกิจ
ผมทินกร เหล่าเลาวิโรจน์ เป็นผู้บริหาร บริษัท นายเน็ต จำกัด บริษัทเราเป็นดิจิทัล โซลูชัน โพรวายเดอร์ ในเมืองไทย เราทำซอฟต์แวร์ในการจัดการโปรแกรมจัดการคลินิก คลินิกทันตกรรม คลินิกผิวหนัง และโปรแกรมจัดการร้านค้า ร้านอาหาร และล่าสุดเราออกโซลูชันที่เป็น แพลตฟอร์มนามบัตรดิจิทัลชื่อ YourQR และใช้ในผู้ใช้งานทั่วโลก เราเป็นบริษัทคนไทย นักพัฒนาไทย ปัจจุบันฐานลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในเมืองไทยประมาณ 5000 รายในธุรกิจหลากหลายและปีนี้เรากำลังมีแผนก้าวสู่ตลาดโลกผ่าน แพลตฟอร์มนามบัตรดิจิทัลชื่อ YourQR
บทบาทของสมาคมซอฟต์แวร์ไทย
สมาคมซอฟต์แวร์ไทยชื่อย่อว่า ATSI เป็นจุดศูนย์รวมของคนที่ทำดิจิทัลโซลูชันต่าง ๆ เป็นจุดศูนย์รวมที่ใช้ในการพูดคุยประสานงานกับทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการใช้งานในด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีในสังคมไทยมากขึ้น
พูดถึงเทคโนโลยีแล้ว มองเทรนด์อย่างไร
เทคโนโลยีมีหลากหลาย แต่ผมอยากจะโฟกัสตัวที่น่าสนใจที่สุด ผมมองว่าเป็น Web 3.0 ถามว่าคืออะไร? ถ้าเราไปดูตั้งแต่ยุค Web 1.0 เหมือนเอาหนังสือไปอยู่บนออนไลน์ เปิดให้ใครอ่านก็ได้ พอถึงยุค Web 2.0 มีการเชื่อมต่อ โต้ตอบกันมากขึ้นเป็นโซเชียลมีเดีย ตัวอย่าง เช่น google Facebook เราก็มีคอนเท็นท์ของเราขึ้นไปอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้
แต่พอเป็น Web 3.0 เหมือนการเอาอินเทอร์เน็ตมาตีความใหม่ แล้วมีกระบวนการ Decentralize (กระจายอำนาจ) ให้คนทุกคนที่เข้าไปเชื่อมต่อโต้ตอบกับอินเทอร์เน็ตมีความเป็นเจ้าของ หรือได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เช่น จะดีไหมถ้าเราเข้าไปดูเว็บไซต์ ดูโฆษณา แทนที่เราต้องทนดูโฆษณาเช่นปัจจุบัน แต่ทุกครั้งที่เราเห็นโฆษณา เจ้าของแพลตฟอร์มต้องแบ่งรายได้ให้กับเราด้วย ภายใต้ Web 3.0 ทุกครั้งที่เราเข้าไปมีกิจกรรมบนโลกออนไลน์ เราใมใช่แค่เข้าไปทำ แต่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในสิ่งนั้น ดังนั้นเราจึงได้รับประโยชน์จากมันด้วย แนวคิดนี้เป็นคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจ ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้ Web 3.0 เกิดขึ้นคือ การใช้เทคโนโลยีหลากหลายมาผสมผสานกัน ตั้งแต่ AI, Data Analytic, Blockchain ดังนั้นผมมองว่า Web3.0 จะเป็นจุดศุนย์รวมของเทคโนโลยีที่หลากหลายเขาไว้ด้วยกัน
เว็บ 3.0 และ Metaverse แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร
ในมุมมองผมคนสนใจ Metaverse กันเยอะ แต่สำหรับผมมองว่า Metaverse เป็นศัพท์ทางการตลาดมากกว่า เทคโนโลยีมีอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าไปดูเบื้องหลังของ Metaverse ต้องดูว่าใครชวนเราเข้าไป และชวนเราเข้าไปเขาจะได้ประโยชน์หรือเราได้ประโยชน์ ในขณะที่ web3.0 เป็นแนวคิดที่เราทุกคนได้ประโยชน์ แน่นอนแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ คงไม่อยากพูดถึงมากนัก เพราะเป็นแนวคิดของการกระจายอำนาจ ฉะนั้นเราจะเห็นว่าในสื่อต่าง ๆ จะพูดถึง Metaverse มากกว่า Web 3.0 แต่สุดท้ายแล้วถ้าคนเข้าใจเรื่อง Web 3.0 มาก ๆ ก็จะรู้ว่า สุดท้ายเราทุกคนจะได้ประโยชน์จาก web3.0 มากกว่า Web3.0 จะมีช่องทางที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องได้ 2 ทาง เริ่มต้นง่าย ๆ จากที่เราใช้ Web Browser ที่รองรับ Web 3.0 ซึ่ง Web Browser เหล่านี้ทำให้เรามีสิทธิในสิ่งที่เราเข้าไปเชื่อมต่อโต้ตอบด้วย หรือเราเข้าไปมีส่วนในเรื่องของผู้ลงโฆษณา ที่เปลี่ยนช่องทางจากแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ มาเป็นการโฆษณาผ่านช่องทางนี้แทน
Web3.0 จะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
เปลี่ยนเหมือนกับโครงสร้างของสังคมได้เลย แม้ว่าเราจะพูดถึงเรื่องเทคโนโลยี แต่วันนี้เทคโนโลยีใกล้ตัวเรามาก เช่น อินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟนก็เป็นเทคโนโลยีที่อยู่รอบตัวเรา และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีปฏิบัติของเรามากขึ้น ดังนั้น ชีวิตเราก็จะเปลี่ยนไป การสร้างรายได้ การสร้างผลประโยชน์ต่าง ๆ ก็จะเปลี่ยนไป หรือการที่เราไปปฏิสัมพันธ์กับใครอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไป สุดท้ายวิธีการทำธุรกิจก็จะเปลี่ยนไป วิธีการสร้างรายได้ก็จะเปลี่ยนไป เราอาจจะทำอะไรบนโลกออนไลน์ก็ได้ สิ่งนั้นจะนำมาซึ่งรายได้ในรูปแบบของคริปโทเคอเรนซี่ทุกครั้งที่เราไปเชื่อมโยงด้วย ดังนั้น โดยอัตโนมัติที่เราจะเข้าไปสู่ web3.0 ทุกคนเกี่ยวข้องกับคริปโทเคอเรนซี่ทั้งหมด ทุกคนไปสมผัสกับ AI แต่ไมได้สัมผัสเฉพาะในมุมผู้ซื้อสินค้าเหมือนดังปัจจุบัน แต่เหมือนเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นเจ้าของไปด้วย
ที่บอกว่าเล่นเกมแล้วได้เงินเป็นอย่างไร
เล่นเกมแล้วได้เงินเป็นแนวคิดของ play to earn ก็เป็นคอนเซ็ปต์อันหนึ่งของ Web 3.0 ปัจจุบันเราเห็นเยาวชนชอบเล่นเกมกันมาก แต่เล่นเกมแล้วต้องเสียเงินให้กับเจ้าของแพลตฟอร์ม แต่พอเป็น Web 3.0 จะเปลี่ยนแนวคิดตรงนี้ไป เพราะคุณไปใช้เวลากับเกม คุณก็ควรจะได้รับประโยชน์เป็นเงินจากเกมด้วย ถ้ามีคนยินดีจะจ่ายเงิน แล้วคุณเป็นคนที่เข้าไปมีส่วนตรงนั้นเวลาที่ใช้ตรงนั้นทุกอย่างแปลงเป็นเงินได้หมด เล่นมากได้เงินมาก เล่นเก่งได้เงินมาก เหมือนเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ สร้างอาชีพใหม่ อาชีพที่ตอนนี้ก็เริ่มมีแล้วแต่จะเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น นึกถึงว่าคุณใช้ชีวิตออนไลน์กับออฟไลน์ การใช้ชีวิตออฟไลน์คุณอาจจะได้เงินบ้างไม่ได้เงินบ้าง แต่ทุกครั้งที่คุณอยู่บนออนไลน์คุณได้เงิน คุณจะดูโฆษณา คุณจะเล่นเกม คุณจะทำอะไรก็แล้วแต่ เหมือนมันเปลี่ยนลักษณะของสังคมเป็นอีกแบบหนึ่ง
ในมุมธุรกิจ มุมมองในส่วนนี้ไปอย่างไรบ้าง
ผมคิดว่ารูปแบบการขาย ช่องทางการขาย ช่องทางการได้รายได้จะเปลี่ยนไป ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะไม่ได้มองที่ตัวสินค้าอย่างเดียว สินค้าเป็นส่วนหนึ่ง แต่แนวคิดนี้อาจจะมองในเรื่องของเวลา ทำอย่างไรจะทำให้คนมาใช้เวลากับสินค้าของเราหรือบริการของเรามากขึ้น เพื่อให้เราได้รายได้ อาจจะไม่ต้องมีการส่งมอบสินค้าเหมือนเดิมอีกต่อไป ดังนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับ Web3.0 ให้มากขึ้น แล้วหาโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่ จากแนวคิดใหม่ว่า เราและธุรกิจของเราจะไปอยู่ตรงไหน จะเป็นผู้เล่นหรือเป็นผู้สร้าง
"เทคโนโลยีเป็นตัวผลักให้เราทุกคนอยู่นิ่งไม่ได้ อยู่นิ่งคือถอยหลัง เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนรู้ ซึ่งผมว่าทุกคนปวดหัวนะ แต่ว่าถ้ามีเรื่องใหม่แล้วเราตัดสินใจจะหยุด เราจะไม่เรียนรู้ นั่นคือ เราแย่แล้ว"
แต่พอเราตัดสินใจที่จะก้าว ตัดสินใจที่จะเรียนรู้ แรก ๆ อาจจะรู้สึกว่ายาก มีอุปสรรค แต่พอเราเริ่มเข้าใจจะเห็นช่องทางต่าง ๆ และเข้าใจว่าก็เป็นแค่การเปลี่ยนรูปแบบ ซึ่งโอกาสยังแฝงอยู่ในนั้น เพียงแต่เราต้องค้นหามันให้เจอ แล้วพยายามพัฒนาตัวเองให้ไปกับกระแสคลื่นของเทคโนโลยีให้ได้
ผมอยากเชิญชวนคนรุ่นใหม่ให้มองตัวเองเป็น Global Citizen วันนี้เทคโนโลยีเข้าถึงทุกคน คนในต่างประเทศเข้าถึงอะไรได้ เราก็เข้าถึงได้ในเวลาเดียวกัน ประเทศมีเส้นแบ่งน้อยลง คุณเป็นคนไทยแต่คุณก็เป็นคนของโลกพร้อมกัน การทำสินค้าขาย ทำไมไม่ขายคนทั้งโลก วันนี้ช่องทางเปิดแล้ว เทคโนโลยีเปิดแล้ว เหลือแต่ Mindset ของเราที่ต้องเปลี่ยนให้ทัน เมื่อเรามองตัวเราเองเป็น Global Citizen เราจะมีมุมมองอีกแบบหนึ่ง เราจะคิดกว้างขึ้น แต่ละประเทศเป็นอย่างไร โอกาสอยู่ที่ตรงไหน สินค้าเราจะไปขายประเทศไหน จะเริ่มเจาะจากตรงไหน มุมมองเราจะเปลี่ยนไป เรื่อง Digital Nomad ก็เป็นเทรนด์อันหนึ่ง ประเทศไทยติดอันดับโลก ในเรื่องนี้ คนต่างชาติเลือกประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง ในการทำงานจากที่ไหนก็ได้ ดังนั้น จะมีต่างชาติเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยเยอะมาก มองกลับกันเราเห็นต่างชาติเข้ามาทำงานในร้านกาแฟที่ต่าง ๆ ในเมืองไทย ทำไมคนไทยไม่คิดว่า ทำไมฉันไม่เป็นคนแบบนั้นบ้าง แล้วไปทำงานที่ออสเตรเลีย ที่นิวยอร์ค นั่งจิบกาแฟที่ริมแม่น้ำแซนแล้วนั่งทำงานไปด้วย
อยากเชิญชวนธุรกิจที่ทำเรื่องของดิจิทัลโซลูชันให้มองตลาดโลก Go Inter ให้มองตลาดประเทศไทยเป็นเหมือนสนามซ้อม แต่เราต้องมีเป้าหมายว่าวันหนึ่งเราต้องโกอินเตอร์ แล้วเราต้องไปให้ใหญ่กว่าที่อยู่ในเมืองไทย ตลาดเปิดกว้าง ความเป็นไปได้มีอยู่แล้ว เทคโนโลยีเท่าเทียมกัน ดังนั้น เราอย่าตีกรอบตัวเอง ต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง กล้าที่จะปรับตัว
Recent Posts สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.
Accept