นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ กันกุลก้าวสู่บริษัทพลังงานครบวงจร | Passion Talk EP039
นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ Gunkul Spectrum
นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ ผู้บริหาร Gunkul Spectrum วิสัยทัศน์ของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาสานต่อธุรกิจ กับอีกก้าวหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคที่พลังงานกำลังเปลี่ยนแปลงจากการผูกขาดไปสู่ตลาดเสรี ภายใต้วิสัยทัศน์ของทายาทรุ่น 2 จะชักนำกันกุลไปในทิศทางใด อะไรเป็นธุรกิจดาวรุ่ง ภาพของการสานต่อธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น ไม้สู่ไม้ให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมจะออกมาในรูปแบบใด กันกุลจะก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ได้ขนาดไหน ต้องทำความรู้จักกับผู้บริหารหญิงแกร่งคนนี้ “ นุ๊ก-นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ เป ็ นประธาน CEO ของที่กันกุล ดูแลเกี่ยวกับ งานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและนวัตกรรมของบริษัท งานที่ดูแลจะเกี่ยวข้องกับการลงทุนบริษัททั้งในและต่างประเทศ แล้วก็งานขายและงานรีเทลรวมถึงงานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” นุ๊ก-นฤชล เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่ครบเครื่อง จบ Engineer ระดับปริญญาตรี และจบปริญญาโทด้านการบริหารและไฟแนนซ์ ในวัยเด็กมักเล่นสนุกที่ออฟฟิศที่ทำงานของคุณพ่อ เรียกว่าคลุกคลีกับธุรกิจตั้งแต่ยังเล็ก นุ๊ก-นฤชล เล่าให้ฟังว่า สิ่งเหล่านี้ได้หล่อหลอม ทำให้เธอคุ้นคุ้นชินกับการทำธุรกิจ มีความเข้าใจธุรกิจและการหาเงินของคนในยุคก่อนเป็นอย่างดี “คล้ายๆกับเราได้คิดเรื่องธุรกิจตลอดเวลา อยากต่อยอดอยากจะทำอะไรใหม่ๆ เหมือนกับเล่นเกม เรารู้สึกว่าเราได้เก็บแต้ม เราได้มีอาวุธติดตัวตลอดเวลา ทั้งความรู้และประสบการณ์ อันนี้คือเป็นความคิดสมัยเด็กๆ”
ประสบการณ์สมัยทำงานเป็นอย่างไร พอเรียนจบโท กลับมาก็มาเป็นวาณิชธนากร (Investment banker) เรามองว่าธุรกิจสมัยก่อนจะเติบโตก้าวกระโดดได้ส่วนใหญ่มันจะเติบโตผ่านตลาดทุนและการควบรวมกิจการ เลยเลือกเป็นวาณิชธนยากร ตอนที่ทำงานก็มีโอกาสได้ทำดีลการร่วมลงทุนระหว่าง SCG และ Global House ซึ่งหลังจากเขาแต่งงานกันธุรกิจของ Global House ก็ติดปีก เป็นคู่ที่เสริมกัน จุดอ่อน-จุดแข็ง ทำให้คนคนนี้เป็นคนใหม่ที่เข้มแข็งกว่าเดิม แกร่งกว่าเดิม ในด้านธุรกิจพลังงานในสมัยนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่เริ่มเข้ามาทำที่บริษัท ตอนนี้เป็นช่วงต้นของพลังงานทดแทนที่กำลังเข้ามาในประเทศไทย เราจึงเอาสิ่งที่เรียนรู้ในอดีตมาต่อยอดเริ่มจากการซื้อกิจการโครงการพลังงานลม จนวันนี้คือ ขายไฟ COD แล้ว (Commercial Operation Date) แล้ว ก็เป็นแหล่งรายได้หลักให้กับบริษัทกันกุล จากนั้นเราคิดต่อยอดมาเรื่อยว่า โซลาเซลล์เอามาทำอะไรได้บ้าง!… วันนั้นโซล่าเซลล์อยู่บนดินอย่างเดียว วันที่เราเริ่มทำ เราคิดว่าถ้าโซลาเซลล์ไปอยู่บนหลังคาจะช่วยประหยัดพื้นที่ได้ ติดบนหลังคาที่ปกติปล่อยว่างเปล่าให้แดดเลียทุกวัน มาใช้ประโยชน์ติดโซลาร์เซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าจากหน่วยละ 3.46 บาท จากนั้นก็ไม่ทำเรื่องขยายการลงทุนในต่างประเทศทั้ง ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย ในวันนั้นพลังงานหมุนเวียนยังเป็นแค่พลังงานทางเลือก บางทีก็เป็น CSR ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้วเราเป็นบริษัทเล็กๆ ความฝัน ณ วันนั้นคิดว่าในพื้นที่ธุรกิจขนาดเล็กเราอยากเป็นผู้นำในธุรกิจ แล้วก็คิดต่อว่า จะดีกว่าไหมถ้าในอนาคตโลกนี้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด วันนั้นเนี่ยดูเหมือนเป็นความฝันของของคนคนหนึ่ง ที่มันอาจจะเป็นไปได้จริงในอนาคตก็ได้ แต่ ณ วันนั้นหลายๆอย่างมีอุปสรรคอยู่ โดยเฉพาะราคาแผงโซลาร์เซลล์ที่แพง จากวันนั้นถึงวันนี้ภาพชัดเจนขึ้น เห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นว่ามีทางที่จะเกิดขึ้นได้จริง
จึงเป็นที่มาของ Gunkul Spectrum ภูมิทัศน์ของพลังงานไทย มีผู้ใช้ไฟฟ้า 2 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้ใช้ไฟขนาดใหญ่ เช่นโรงงานธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มนี้มีศักยภาพ มีทีม Engineer มีองค์ความรู้ มีคน มีทีมงานที่จะช่วยให้เขาสามารถใช้พลังงานสะอาดได้ กลุ่มที่สอง ผู้ใช้ไฟรายย่อย เช่น ผู้ใช้ไฟตามบ้านเรือน กลุ่มนี้ยังมี gap มีอุปสรรค ทำเราสามารถทำอะไรได้มากกว่า เราจึงตั้ง Gunkul Spectrum ขึ้นมา มันเหมือนเป็นการช่วยยานแม่ คือ กันกุลใหญ่ต่อจิ๊กซอว์ว่า “วันนี้เราจะวาดภาพให้ผู้ใช้ไฟรายย่อย เห็นว่าคุณสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาดได้อย่างไร และคงจะดีถ้ากันกุลมีส่วนทำให้ภาพนี้เกิดขึ้น” ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร วันนี้คุณเกี่ยวข้องกับพลังงานหมด แต่เดิมที่รู้สึกว่าไกลตัว เป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องบริหาร แต่วันนี้เรากำลังเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศพลังงานที่เราทุกคนได้ประโยชน์ เราเลยสร้างหน่วยงานนี้ขึ้นมา โดยมี Mindset ว่า “วันนี้เราต้องเข้าใจผู้ใช้ไฟรายย่อย ทำให้เขาสามารถขับเคลื่อนและใช้พลังงานสะอาดได้ ดูแลเขา ให้องค์ความรู้เขา” Gunkul มองว่า พลังงานเป็นสิทธิพื้นฐาน อยากทำให้พลังงานเข้าใจง่าย เป็นเรื่องที่น่าสนใจและทุกคนเข้าใจมัน เมื่อไหร่ที่ทุกคนเข้าใจก็อยากที่จะบริหารจัดการ แต่ถ้าไม่เข้าใจเราจะมองว่ามันไกลตัว Gunkul Spectrum จึงต้องทำอะไรใหม่ๆ คิดอะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกรอบเดิมๆ ทำไมบริษัทด้านพลังงานถึงมีความคิดแบบ Startup ยกตัวอย่างโกดังไฟฟ้าดอทคอม เป็น e-Commerce Platform สำหรับช่างไฟฟ้าและช่างโซลาร์เซลล์ อุปกรณ์ที่อยู่ในโกดังไฟฟ้าไม่ใช่ B2C แต่เป็นสินค้าสำหรับช่าง ซึ่งพอลงสนามจริงแล้วยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และยังยากกว่าที่เราประเมินไว้ ผู้ใช้แพลตฟอร์มของเราเป็นช่าง เขาค่อนข้างเคยชินกับออฟไลน์ เวลาเราสื่อสารให้เขามาใช้แพลตฟอร์มจึงไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนพฤติกรรมจากออฟไลน์เป็นออนไลน์ แต่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เขาต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งเราก็ต้องเป็นที่ปรึกษาเขาได้ด้วย การทำงานจึงยากกว่าเดิม เราเปิดตัวเมื่อกันยายนที่ผ่านมา มียอดขายเดือนละ 15-20 ล้านบาท ซึ่งถือว่าดีสำหรับบริษัทตั้งใหม่ เรามองว่าอีก 2-3 ปี เราอยากเอาโกดังไฟฟ้าดอทคอมขึ้นไปเสนอขายหุ้นให้นักลงทุน แต่ก่อนนั้นเราต้องโตปีละ 2-4 เท่าทุกปีให้ได้ ซึ่งเราประหลาดใจที่พาร์ทเนอร์หลายรายเช่น Huawei Siemens ให้ความสนใจและสนับสนุนเรามาก เพราะเขารู้ว่าเป็นช่องทางตลาดใหม่ ถ้าทำแล้วสำเร็จก็เติบโตไปด้วยกัน นี่คือความสวยงามของออนไลน์ คือ ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนเราสามารถเข้าถึงคุณได้เราสามารถเป็นลูกค้าและมีความสัมพันธ์ด้วยกันได้โกดังไฟฟ้าเป็นแพลตฟอร์ม ที่มีกลุ่มชุมชนของผู้รับเหมา เป็นส่วนประกอบเพราะนั่นคือผู้ใช้งานจริง เราจึงต้องสร้างระบบนิเวศน์ให้สมบูรณ์ ซึ่งเรามองว่า พลังงานทดแทนมาแน่และกำลังกลายเป็นกระแสพลังงานหลักของโลกใบนี้ ในอีก 10 ปีข้างหน้าพลังงานสะอาดจะเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนโลกใบนี้รวมถึงประเทศไทยด้วย วันนี้หลายคนติดโซลาร์เซลล์แล้ว ตลาดเติบโตระดับหนึ่ง เพราะโซลาร์เซลล์ทั้งถูกและสะอาด แต่ยังขาดจิ๊กซอว์ว่า ยังไม่มีเสถียรภาพ วันนี้เราผลิตไฟได้ตอนกลางวันเท่านั้น กลางคืนไม่ได้ แต่แบตเตอรี่กำลังเข้ามาในปีหน้า เราเองจะทำแบตเตอรี่+Solar Plus Storage ในเชิงธุรกิจได้จริง เพื่อตอบโจทย์ว่า ลงทุนทั้งสองอย่างก็ยังคุ้มที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์ในเชิงพาณิชย์
กันกุลแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร สิ่งที่กันกุลแตกต่างจากคนอื่น ไม่เหมือนใคร ประการแรก เราเป็นบริษัทพลังงานที่มีธุรกิจกว้าง ขายอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วย ผลิตด้วย เราเกี่ยวข้องกับผู้ซื้ออุปกรณ์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ รู้จักซัพพลายเออร์จำนวนมาก อันนี้เป็นสิ่งที่เราทำมายาวนานกว่า 40 ปี ประการที่สอง เราเป็นผู้รับเหมา เราก็จะมีผู้รับเหมาที่เป็นซำลายเออร์รวมถึงลูกค้าเราจริงๆ ประการที่สาม เราเป็นธุรกิจผลิตไฟฟ้าเพื่อขาย ผู้เกี่ยวข้องก็จะเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ความสวยงามของธุรกิจกันกุล จึงอยู่ที่การเชื่อมโยงธุรกิจของกันกุล ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในทุกระดับ รู้จักทุกคนที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศน์ เช่น โกดังไฟฟ้าเรายกระดับ Trading platform มาเป็นออนไลน์ เรารู้จักซัพพลายเออร์อย่าง Siemens Huawei พอเริ่มต้นเขาก็สนใจเป็นพันธมิตรกับเรา สิ่งที่กันกุลมีมาเป็นรากฐานที่ดีมากๆ ทำให้เราทำอะไรแล้วได้รับการสนับสนุนทำให้ก้าวหน้าได้ไวเล่าเรื่องการจัดการคนหลายช่วงวัยในองค์กร คนส่วนใหญ่ในบริษัทแม่กันกุลเป็นคนในกลุ่มพลังงาน มีอายุ เคยชินกับการทำงานโครงการใหญ่ๆ เป็น Engineer มีกรอบการทำงานชัดเจน แต่ในกันกุลสเปคตรัม เราทำนวัตกรรม ทำแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น โกดังไฟฟ้าดอทคอม ลูกค้าสั่งซื้อของออนไลน์รอเกิน 3 วันไม่ได้ยิ่งมองไปในอนาคต โลกจะเปลี่ยนเร็วมาก พฤติกรรมและภูมิทัศน์ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก “Customer Centric Mindset” เป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ใช่กับคนที่ทำนวัตกรรมอย่างเดียว แต่สำคัญกับคนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในองค์กรที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญ ลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและเขามี Option เยอะขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก คุณไม่ใช่เป็นทางเลือกเดียวของเขา ถ้าไม่ดูแลเขาให้ดีไม่พยายามเข้าใจเขา ไม่อยากเป็นเพื่อนกับเขา มันจะมีวันที่เราหมดอายุ แต่ว่าถ้าเราเห็นเขาเราเข้าใจเขา เห็นเขาเป็นเพื่อน รับ Feedback ตลอดเวลาลูกค้าจะผูกพันกับเรา เขาจะกลายเป็นลูกค้าระยะยาว ส่วนนี้จึงต้องปรับจูนคนในองค์กรของเราให้ได้ กันกุลเองจากที่สมัยหนึ่งเน้นติดต่อกับหน่วยงานราชการ ติดต่อกับบริษัทขนาดใหญ่ แต่พอมาตลาดลูกค้ารายย่อยมีความไดนามิคสูงมาก มีตัวเลือกเยอะแยะไปหมดเปลี่ยนทุกอย่างที่เคยทำกันกุลสเปคตรัมจึงสนุกและท้าทายมาก ทุกคนได้เรียนรู้และปรับตัวไปด้วยกัน
อนาคตของกันกุลจะเปลี่ยนไปทิศทางใด กันกุลเราจะเป็นบริษัทพลังงานที่ครบวงจร เรามีการขายอุปกรณ์ Trading มีโรงงาน เราจะมีทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ที่ยกระดับขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์ม งานรับเหมาและยังทำอยู่ส่วนงานที่เป็นโรงไฟฟ้า Power Plant เราจะแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่เป็นลูกค้ารายย่อย กับส่วนที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ อันนี้เราขับเคลื่อนของเราตามปกติอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการดีลกับภาครัฐหรืออะไรวันนี้กันกุลในส่วนของพลังงานมีการต่อยอดหลากหลายมากเลย ถ้าดูผลประกอบการในปัจจุบันเรามี EBIDA ประมาณ 88% ซึ่งกำลังดี เพราะว่าเรามีสภาพคล่องเพียงพอที่จะขับเคลื่อนสิ่งใหม่ๆได้ในอนาคต โดยภาพการขับเคลื่อนพลังงานของกันกุลจะมี 3 ด้าน 1.อุปกรณ์โซลาร์ ส่วนที่เราทำตลาดอะไนที่ขาดอยู่จะเติมให้ครบ ทำให้ Pain Point ของโซลูชันเดิมดีขึ้น เช่น Energy Plus Storage หรือ Smart Energy2.สินค้าเดิมเราปรับเปลี่ยนให้เข้าใจง่ายขึ้น เรียกว่า Seamless Adoption หรือการทำงานแบบไร้รอย เช่น วันนี้คนจะติดโซลาร์เซลล์คิดเยอะเพราะต้นทุนในการลงทุน ถ้าเราสามารถผลักดันให้ระบบการเงินเพื่อรองรับการติดตั้งให้คนที่มีความสามารถมีกำลังมารับเรื่องการลงทุน ผู้ใช้ไฟฟ้าก็อยากติดตั้ง เพราะสามารถลดค่าไฟได้ทันที อาจจะทำในรูปแบบของการบอกรับสมาชิกหรือ Pay per Use หรือโมเดลอื่นที่เหมาะสม3.เป็น Platform Business ที่เปลี่ยนรูปแบบการใช้แบบเดิม เช่น โกดังไฟฟ้าดอทคอม ชุมชนผู้รับเหมา ปีนี้สิ่งที่เราทำพวกเทคโนโลยีใหม่ๆ จะเป็นเรื่องของ Energy Plus Storage และ DeFi (Decentralized Finance) เรามี Pain Point เรื่องไฟแนนซ์ เรื่องการลงทุน ปีนี้เราจะต่อยอดโดยนำ Energy x DeFi ได้ ซึ่งกำลังทำและกำลังจะเปิดตัวในปีนี้การลงทุนด้านพลังงาน ต้องใช้เงิน เมื่อใช้เงินก็สามารถทำ DeFi Financing ได้ สามารถออกในรูปหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นคลิปโทฯหรืออะไรทำได้หมด ขึ้นกับการวางโครงสร้างอย่างไรให้ทุกปาร์ตี้ได้ประโยชน์ benefit
ฝาก ถึงคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่ามีความเก๋ามีประสบการณ์ คนรุ่นใหม่มีความรู้ คนที่สามารถใช้ประโยชน์จาก 2 กลุ่มนี้ได้ จะเป็นคนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดในยุคนี้ เพราะสามารถเชื่อมโยง ระหว่างโนวฮาว โนวเลจ และโนวฮู คนรุ่นเก่าประสบการณ์สอนให้เขามีความเก๋ามีโนวฮาวและมี Know Who ด้วย เพราะว่าอยู่ในวงการก็ต้องรู้จักว่าต้องเชื่อมใคร สองสิ่งนี้ขาดไม่ได้ แม้จะรู้โนวเลจเยอะขนาดไหนก็ยังขาดสองสิ่งนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราเปิดใจรับและเชื่อมสองกลุ่มนี้เข้ามาร่วมกันได้ คนนั้นจะมีโอกาสชนะในเกมธุรกิจเยอะที่สุด ส่วนคนรุ่นใหม่จะต้องเปิดใจ-เปิดรับ สิ่งที่ทำให้คนๆ หนึ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ Mindset (วิธีคิด) กับ Opportunity (โอกาส) ส่วนของ Mindset ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง Mindset จะเป็นหัวใจของทุกอย่าง ว่าเรามองตัวเองและเลือกวางแผนชีวิตอย่างไร หาก เราไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ความสำเร็จของคนคนหนึ่ง เราก๊อปปี้ไมได้ มันไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะคนทุกคนมีจุดอ่อนจุดแข็งไม่เหมือนกัน บริบทก็ไม่เหมือนกัน โอกาสก็ไม่เหมือนกันด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราอ่านหนังสือของคนคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ เราไม่สามารถก๊อปปี้ความสำเร็จอันนั้นได้สิ่งที่เราทำจริงๆ คือ เราเรียนรู้จากคนที่ประสบความสำเร็จ และกำลังออกแบบความสำเร็จในแบบฉบับของเราเอง คิดจากบริบทที่เรามีอยู่ และจะทำอะไรดีที่เราจะมีโอกาสชนะมากที่สุด แต่หากล้มเหลว ก็ต้องรู้วิธีที่จะปลอบใจตัวเองให้เก่งด้วย เพราะทุกคนมีเรื่องล้มเหลวเหมือนกันหมด “ นุ๊กเองก็ล้มเหลวก็จะปลอบใจตัวเอง แพ้เพื่อชนะ สละเพื่อมี สละคือสละเวลา สละความสุข แต่ไม่เป็นไรเราสละเพื่อมี เพราะว่าสิ่งที่เราได้คือประสบการณ์และความรู้แน่นอน” อีกประการหนึ่งคือ เรามักจะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น การเปรียบเทียบถ้าเปรียบเทียบแล้วกระตุ้นให้เกิดพลัง เกิดแรงบันดาลใจเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเปรียบเทียบแล้วเราด้อยเราท้อถอย อันนี้ไม่ดี บางคนประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย บางคนเขาอายุมากเขาถึงประสบความสำเร็จ เรื่องนี้จะทำเราจิตตกหรือก็ไม่ใช่ ความสำเร็จเนี่ยไม่มีมาตรวัด มันมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนั้นเรามองรูปแบบความสำเร็จ ของเราว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ตรงนั้นมันน่าสนใจกว่าเยอะแล้วลองดูโดยเฉพาะยิ่งอายุน้อยสิ่งที่อยากจะบอกคือ ต้องอดทนไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ต้องรับคำตำหนิได้ คำตำหนิบางครั้งมันเชือดเฉือน แต่ก็สอนเราได้ เหมือน “ดาบที่สวยที่สุดคือดาบที่ผ่านการลับมามากที่สุด” ดังนั้นอย่ากลัวคำตำหนิ ต้องขอบคุณด้วยซ้ำ อดทนและคิดตลอดเวลา คำตอบจะออกมาเอง โอกาส บางคนมีโอกาสเข้ามาแล้วรู้จักใช้ บางคนกลับไม่ใช้ บางคนบอกว่าไม่มีโอกาสมาเลย ไม่มีก็สร้างได้ สร้างตัวเราให้ไปอยู่ในจุดที่มีโอกาสมากที่สุด เพราะต่อให้เราเป็นคนที่เก่งที่สุดแต่ไม่มีเวทีให้แสดง คนก็จะไม่รู้ว่าคุณเป็นคนเก่งเพราะฉะนั้นจงสร้างโอกาสให้กับตัวเอง ยิ่งอายุน้อย ลุยไปเลย เพราะโลกนี้มัน น่า สนุก น่าสนใจ มีอะไรให้ทำให้ค้นหาอีกมาก ————————————————————– รับชมเนื้อหาของ EP.อื่น ๆ ย้อนหลังได้ที่ลิงค์ด้านล่าง : Passion Talk EP037 | ทินกร เหล่าเราวิโรจน์ Web3.0 เปลี่ยนโลก คนไทยจะก้าวอย่างไร?
Recent Posts สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.
Accept