CPS ผู้ให้บริการโลจิกติกส์แบบครบวงจร บริษัทคนไทยกับเกมรุกสู่ตลาดโลก | Passion Talk EP056
บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด (CPS) หนึ่งในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทย ตั้งโดยคนไทยที่มีเป้าหมายให้ธุรกิจสร้างชื่อเสียงในระดับสากล กับจุดแข็งในการมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งจากเกาหลี จึงเป็นบริษัทที่เจาะตลาดได้ทั้งประเทศไทยและเกาหลี และที่ผ่านมาบริษัทก็ใช้จุดแข็งนี้ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคงตลอดช่วง 11 ปีที่ผ่านมา
ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นั่นทำให้ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์เผชิญกับวิกฤตและโอกาสไปพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครมีความพร้อม ปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ดีกว่า ปรับตัวได้ก็อยู่รอดเป็นผู้นำ ปรับตัวไม่ทันก็ต้องลำบากเอาตัวรอดต่อไป
ในขณะที่โลกเชื่อมถึงกันมากขึ้น ประเทศไทยก็มีเป้าหมายพัฒนาสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค นั่นทำให้ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความสามารถทางการเงิน ควบคู่ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและการจัดการในบริการด้านโลจิสติกส์ที่หลากหลาย รวมถึงการขนถ่ายสินค้า พิธีการทางศุลกากร คลังสินค้า และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ปัจจุบันบริษัทข้ามชาติหลายแห่งที่ดำเนินงานในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนต่างมองหาโซลูชันด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจร การร่วมมือกับพันธมิตรจากต่างชาติ จึงเป็นทิศทางที่สำคัญในการพัฒนาธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทยให้โดดเด่น
บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด (CPS) หนึ่งในธุรกิจคนไทยที่ตั้งโดยผู้ประกอบการไทย แต่มีจุดแข็งในการมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งจากเกาหลี ทำให้เป็นหนึ่งบริษัทที่เจาะตลาดได้ทั้งประเทศไทยและเกาหลี และที่ผ่านมาบริษัทก็ใช้จุดแข็งนั้นในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคง
วันนี้ Passion Gen ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ที่เรียกว่า มีความแข็งแกร่งที่มาพร้อมจุดเด่นที่น่าสนใจในการเจาะตลาดผู้ประกอบการประเทศเกาหลี นายกิล ฮวาน คิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด และ สุขวรรณ สุทธิวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด ที่มามาบอกเล่าถึง ความท้าทายของอุตสาหกรรม และก้าวที่น่าสนใจของ CPS
ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แรงบันดาลใจที่ต้องการจะพัฒนาธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยให้แข็งแกร่ง มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมกับบริษัทขนส่งจากต่างประเทศ โดยเป็นบริษัทของไทย สัญชาติไทย ที่มีความแข็งแกร่งในการทำตลาดกับคู่ค้าที่เป็นธุรกิจเกาหลี ซึ่งนั่นเป็นจุดเด่นและจุดแข็งที่น่าสนใจของ CPS
สุขวรรณ สุทธิวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด (CPS)เล่าถึงที่มาของการก่อตั้งบริษัทให้ทีม Passion Gen ฟังว่า บริษัท CPS เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2011 ด้วยพนักงานเพียง 5 คน โดยเริ่มต้นจากธุรกิจชิปปิ้งและขนส่ง จากนั้นจึงขยายธุรกิจมาเรื่อย กระทั่งปัจจุบัน CPS ทำธุรกิจธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์แบบครบวงจร
“CPS ก่อตั้งขึ้นเพราะอยากสร้างธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยให้มีความโดดเด่น แข็งแกร่งทัดเทียมกับบริษัทจากต่างประเทศ เราอยากเห็นโลโก้ CPS ทัดเทียมกับยักษ์ใหญ่จากนานาชาติ ให้ทุกคนตระหนักว่า บริษัทไทย ที่มีผู้บริหารเห็นหญิงไทยก็มีความสามารถทัดเทียมกับต่างประเทศได้” สุขวรรณ กล่าว
อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 CPS ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน สุขวรรณ เล่าให้ฟังว่า เราใช้โอกาสจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจด้วยการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้มีความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่มีความผันผวน เรามีการจัดอบรมให้ความรู้กับพนักงานเป็นประจำ เพื่อให้สามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา ตอบโจทย์การให้บริการกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ควบคู่กับการให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เช่น การ Work from Home, Work from Anywhere เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานจะมีความพร้อมทำงาน ไม่ว่าสถานการณ์และความพร้อมจะเปลี่ยนไปอย่างไร
นายกิล ฮวาน คิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด (CPS) กล่าวว่า ในช่วงการระบาดของโควิด-19 แทบทุกตลาดประสบปัญหาไม่ต่างกัน ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ.2562 จนถึงปี พ.ศ.2565 อย่างไรก็ตามทุกธุรกิจต่างก็ทำงานอย่างหนัก เพื่อที่จะกลับไปสู่จุดก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดให้ได้รวมถึงประเทศไทยด้วย ผมคิดว่าในปี พ.ศ.2566 จะเป็นปีที่ธุรกิจส่วนใหญ่กลับมาคึกคึก เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ส่วนในภาคธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์นั้น โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ประการแรก คือบริษัทขนส่งและผู้ให้บริการขนส่ง ได้ปรับขึ้นอัตราค่าระวางขนส่ง ส่งผลให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และปัญหาดังกล่าวยังคงเป็นความท้าทายของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์กระทั่งปัจจุบัน แต่ นายกิล ฮวาน คิม เชื่อมั่นว่า ตลาดทั่วโลกจะฟื้นกลับมาคึกคักมากขึ้นหลังจากปี พ.ศ.2566 ด้วยเหตุผลที่ว่า หลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งจีนกำลังเปิดประเทศ เศรษฐกิจต่างๆ ค่อยๆฟื้นตัว และบริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ต่างๆ ก็กำลังปรับลดค่าบริการลง จึงมั่นใจว่าโอกาสของห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์จะฟื้นตัวอีกครั้งหลังปี 2566
ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความสำคัญและเกี่ยวโยงกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างประเทศไทย การมีบริษัทโลจิสติกส์ที่มีศักยภาพ มีขีดความสามารถระดับสูง จะช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้น ในเรื่องนี้ กิล วาน คิม กล่าวว่า ปัจจุบันมีบริษัทเกาหลีที่อยู่ในเมืองไทยประมาณ 100 แห่ง รวมถึงกลุ่มบริษัทใหญ่ๆ 3 แห่งของเกาหลีได้แก่ ซัมซุง อิเลคทรอนิคส์ แอลจี อิเลคทรอนิคส์ และ POSCO ในฐานะที่ CPS ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย ผมเชื่อว่า บริษัทสามารถสร้างโอกาสได้มากมายแม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันประเทศไทยกำลังแข่งขันเพื่อก้าวขึ้นเป็นที่ 1 และ 2 ในการเป็นฐานผลิตยานยนต์ของโลก และรวมถึงการขึ้นเป็นผู้ผลิตในธุรกิจไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ทำให้การส่งออกและนำเข้าสินค้าจากเกาหลีมายังประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาในแง่มุมนี้ ผมคิดว่าความสามารถในการแข่งขันของ CPS ในฐานะบริษัทเกาหลีค่อนข้างจะสดใส
ผลการสำรวจจาก Armstrong & Associate Inc. ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์บุคคลที่สาม (3PL) และผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยตลาด เปิดเผยว่าต้นทุนโลจิสติกส์ทั่วโลกในปี 2020 คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP โลกอยู่ที่ 10.8% ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP 12.9% โดยในปี 2565 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 8 จาก 50 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 11 ในปีที่แล้ว ประเทศจีนยังคงรั้งอันดับ 1 ติดต่อกันจากการปรับใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์
หนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จของ CPS คือการมีพันธมิตรที่ดีจากเกาหลี ที่เป็นส่วนเติมเต็มสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของ CPS มีความครบเครื่องมีขีดความสามารถในการเติบโตที่โดดเด่น นายกิล ฮวาน คิม กล่าวว่า ผมเข้ามารับตำแหน่งเป็นซีอีโอในเดือนตุลาคม พ.ศ.2558 ช่วง 20 ปีที่ผ่านมาผมทำงานด้านการขายกับธุรกิจเกาหลีเป็นหลัก การเข้าร่วมงานกับบริษัทคนไทยจึงเป็นการเปิดหูเปิดตา เปิดโอกาสใหม่ๆ ในประเทศไทย ผลที่ได้คือ เราสามารถผนึกกำลังกันได้มากขึ้น CPS กลายเป็นบริษัทโลจิสติกส์แบบครบวงจรครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้งในประเทศไทยและประเทศเกาหลี
“ที่ผ่านมา CPS เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างแข็งแกร่ง และขยายกลุ่มลูกค้าจากกลุ่มธุรกิจในประเทศไทยไปสู่ลูกค้าในกลุ่มพื้นที่โครงการโรงงานต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะกลุ่ม EPC (Engineering Procurement and Construction) จากประเทศเกาหลีที่เป็นลูกค้าหลักกลุ่มหนึ่งของ CPS นอกจากนี้เรายังมีแผนขยายลูกค้าในกลุ่ม EPC ไปในประเทศจีนและยุโรปอีกด้วย ตามปณิธานของผมและบริษัทที่กำหนดให้ปี พ.ศ.2566 เป็นปีที่พนักงานทุกคนร่วมแรงร่วมใจทำให้ชื่อของ CPS ก้าวไปสู่ระดับสากล” นายกิล ฮวาน คิม กล่าว
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ธุรกิจหนึ่งจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งมาตลอดระยะเวลา 11 ปี แซงหน้าคู่แข่งและบริษัทร่วมอุตสาหกรรมมายืนอยู่ในแถวหน้าของผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ นั่นสะท้นว่า CPS ต้องมีความแข็งแกร่งบางอย่างที่คู่แข่งไม่มี สุขวรรณ กล่าวว่า ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา CPS มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการทำธุรกิจชิปปิ้งและขนส่งในช่วงเริ่มต้น บริษัทได้ขยายบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า กระทั่งปัจจุบัน CPS เป็นผู้ให้บริการโลจิกสติกส์แบบครบวงจร (Total Logistics Provider) ตั้งแต่บริการ Custom Clearance, Sea Freight, Air Freight, Truck Freight รวมถึงบริการ Import Permit แล้วก็เป็นที่ปรึกษาในด้าน Custom Specialist การขนส่งที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลากหลายรูปแบบ และการขนส่งผ่านแดน
“จุดแข็งของ CPS คือการเป็นบริษัทที่หุ้นส่วน และพันธมิตรที่หลากหลายในประเทศเกาหลี ซึ่ง ณ ปี 2564 เรามีพันธมิตรที่เป็นธุรกิจเกาหลีมากกว่า 50 ราย ทำให้เรามีความโดดเด่นในด้านการขนส่งระหว่างประเทศไทยและเกาหลี และในขณะที่คู่แข่งจัดส่งสินค้าทั่วๆ ไป แต่ CPS มีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในงานโปรเจ็คส์ที่เกี่ยวกับ Power Plant Project และ Petrochemical Project เราจึงได้รับความไว้วางใจในงานขนส่งที่มีความสำคัญ อาทิ งานขนย้ายโรงไฟฟ้า โรงงานปิโตรเคมี ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องมีประสบการณ์ในการขนส่งด้านนี้มายาวนานอีกด้วย นั่นทำให้เราเติบโตได้อย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา” สุขวรรณ กล่าว
สำหรับการต่อยอดธุรกิจในก้าวต่อไปของ CPS สุขวรรณ กล่าวว่า เมื่อเรามีจุดแข็งที่โดดเด่นอยู่แล้ว ในปีหน้าเราจึงมีแผนต่อยอดจุดแข็งของเราให้มีความโดดเด่นยิ่งขึ้น เรามีหุ้นส่วนและพันธมิตรจากประเทศเกาหลี และเรายังมีพันธมิตรที่อยู่ทั่วโลก ในปีหน้าเรามีจึงแผนที่จะต่อยอดจากพื้นฐานที่เรามี เพิ่มงาน เพิ่มจำนวนธุรกรรมที่มีอยู่ให้มากขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันเราก็มีงานโครงการขนาดใหญ่ 3 โครงการที่ประสบความสำเร็จในการประมูลสำหรับงานขนส่งในปีหน้าแล้ว เราจึงเชื่อว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ดีของเราอีกปีหนึ่ง
ปี 2566 จะเป็นปีท่าดีของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ และน่าจะเป็นปีที่ CPS ทำสถิติสูงสุดในการเติบโต ควบคู่กับการขยายตลาดไปสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ๆ พันธมิตรใหม่ ด้วยจุดแข็งที่โดดเด่นในการบริหารงานประเภทโครงการโรงงานและโรงไฟฟ้า ทำให้ CPS มีโอกาสที่โดดเด่นในดารเติบโตจากบริษัทคนไทยไปสู่บริษัทที่ทำตลาดในระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นไปตามความตั้งใจของผู้บริหาร ที่อยากเป็นโลโก้ของบริษัทคนไทย โบกสะบัดไปสู่ระดับสากล
————————————————-
ติดตาม Passion Talk ย้อนหลังได้ที่นี่ :
.
Passion Talk EP055
พิทักษ์ รัชกิจประการ ‘พันธุ์ไทย’ ก้าวกล้า ท้าชิงแชมป์ตลาดกาแฟ
https://www.passiongen.com/inspired/passion-talk/2022/29/10years-panthai-coffee-franchise
.
Passion Talk EP054
2 สิ่งที่ SME ต้องมีเพื่อสำเร็จ!! ณัฐสิทธิ์ ธีรกุลวาณิช
https://www.passiongen.com/inspired/passion-talk/2022/15/2critical-point-smes-right-reactivation
Recent Posts
สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…
บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…
อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…
ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…
พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…
ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…
This website uses cookies.