“ขยะ” เป็นความหมายของสิ่งที่ไม่มีค่า สิ่งที่ทุกคนทิ้ง และอยากกำจัดออกไปให้ไกล… แต่วันนี้มุมมองต่อขยะกำลังเปลี่ยนไป จากการทิ้งอย่างไม่เหลียวแล มาสู่การบริหารจัดการ การคัดแยก คัดเลือก… สุดท้ายก็พบความจริงว่า สิ่งที่เป็นขยะนั้น สุดท้ายแล้วเมื่อจัดการอย่างเหมาะสมก็กลายเป็นสิ่งที่มีค่า…
Passion Talk ตอนนี้ขอมาพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับขยะ-แต่ไม่ขยะ เพราะการจัดการอย่างเหมาะสมทำให้กลายเป็นสิ่งที่มีค่า และเศษของสิ่งที่เหลือ เช่น ถุงพลาสติก สุดท้ายแล้วก็สามารถนำมาทำประโยชน์กลายเป็นส่วนเติมเต็มของถนนลาดยางมะตอย ที่นอกจากจะช่วยกำจัดขยะ ลดโลกร้อนแล้ว ยังได้ถนนที่มีคุณสมบัติดีขึ้น แข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพระเอกของเราใน Passion Talk ตอนที่ 051 นี้ อาจารย์พฤกษ์จะมาบอกเล่าถึงแนวคิดของโลกสีเขียว และการเปลี่ยนขยะให้เป็นถนน
“ผม ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี อาจารย์ประจำภาควิชาการวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันนอกเหนือจากงานสอน ก็มีงานวิจัยที่น่าสนใจในด้าน พลังงานและสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน และการเพิ่มศักยภาพประสิทธิภาพของพลังงานรวมทั้งการัจดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย ขยะจากคน สัตว์ การเกษตร หรือขยะรีไซเคิล ขยะพลาสติกที่มนุษย์สร้างขึ้น”
ทำไมสนใจสาขาวิจัยพลังงาน
โดยส่วนตัวอยู่ในสายวิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับเรื่องในชีวิตประจำวันเช่น รถยนต์ การผลิต เครืองจักรกลต่างๆ พลังงานก็เป็นหนึ่งในสาขาที่น่าสนใจ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประกอบกับภาวะ Climate Change ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการที่มนุษย์ใช้พลังงานอย่างไม่รับผิดชอบ เราเลยคิดว่าจำเป็นจะต้องสื่อสารองค์ความรู้เรื่องนี้ เพื่อที่ในอนาคตเราจะมีความมั่นคง ยั่งยืนในการดำรงชีวิต
บทบาทของสถาบันวิจัยในปัจจุบันเป็นอย่างไร
สถาบันให้ความสำคัญว่า อนาคตมนุษย์จะใช้ชีวิตในเรื่องพลังานและสิ่งแวดล้อมอย่างไร มนุษย์ถึงจะดำรงอยู่ต่อไปได้ อันนี้เป็น Theme หลักของสถาบัน มนุษย์จะใช้ชีวิตโดยไม่ได้รับผลกระทบจากธรรมชาติได้อีกกี่ปี ทรัยพากรที่เราขุดใช้ไปเรื่อยๆ จะหมดในอีกกี่ปี ทางเลือก ทางรอด ทางออก เราจะทำอย่างไร สิ่งแวดล้อมบางอย่างที่ถูกทำลายไป เราจะกู้คืนกลับมาได้อย่างไร
งานวิจัยหลักของสถาบันมีเรื่องอะไรบ้าง
Theme หลักตัวผมเอง และเจ้าหน้าที่ในสถาบัน คือสิ่งแวดล้อมและเมืองอัจฉริยะ พูดรวมๆ ว่า เมืองอัจฉริยะ หรือการใช้ชีวิตของผู้คนในอนาคต การใช้ชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืน ในตีมนี้ก็จะมีเรื่องพลังงาน ซึ่งจะรวมไปถึงไฟฟ้า ยานยนต์ พลังงานความร้อน ความเย็นต่างๆ ควบคู่กับเรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำเสีย ขยะ อากาศ
เป้าหมายของงานวิจัย
มนุษย์ไม่ว่าสังคมเมือง สังคมกึ่งเมือง หรือนอกเมือง ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรอยู่ เราอยากให้ทุกคนรู้ข้อนี้ก่อน หลายคนในเมือง ตื่นขึ้นมาก็เสีบปลั๊กใช้ไฟฟ้า สิ้นเดือนก็จ่ายค่าไฟ มีขยะก็ทิ้งไปใส่ถุงดำ ออกไปวางหน้าบ้าน ถ้าเราดูวัฎจักรชีวิตเหล่านี้ สิ่งที่ทำอยู่ไม่พอ ขยะทิ้งจากมือเราไปแล้วก็ต้องถูกขนไปที่ไหนสักที่ แล้วก็ไปสร้างความเดือนดร้อนต่อ เป็นการเอาเปรียบคนอื่น เอาเปรียบธรรมชาติ ขยะในหลุมฝังกลบ ผลกระทบเยอะ ตั้งแต่เรื่องกลิ่นซึ่งถือว่าเล็กน้อยมาก ที่น่าเป็นห่วงคือ ไมโครพลาสติกที่ถูกชะล้างลงไปในแหล่งน้ำ เป็นอาหาร กลุ่มของขยะมีพิษ ที่ติดไฟขึ้นมาเป็นควันพิษ สิ่งเหล่านี้มันไม่ยั่งยืน เรามาเจาะประเด็นเหล่านี้ การใช้ชีวิตที่ถูกต้องของคนที่จะรักษสิ่งแวดล้อม ต้องมีชีวิตอย่างไร ต้องใช้ชีวิติอย่างไร เรียกว่า Global Citizenship หรือการใช้ชีวิตสำหรับโลกในอนาคตนั่นเอง
งานวิจัยล่าสุด เรื่องของถนนที่เอาขยะมาทำเป็นอย่างไร
โครงการถนนที่เรียกว่า พลาสติกแอสฟัลท์ เป็นการมุ่งใช้ประโยชน์จากระบบบริหารจัดการขยะของชุมชนเมือง เป็นโครงการที่ริเริ่มในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เอง มช.เป็นมหาวทิยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ มีทั้งบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน อาคารเรียน โรงพยาบาล มีผู้คนเข้าออกวันละ 5-6 หมื่นราย เทียบเป็นตำบลขนาดกลางตำบลหนึ่ง สามารถจำลองชีวิตคนเมืองหนึ่งได้
ที่ผ่านมา มช.มีการคัดแยกขยะ เริ่มจากเอาขยะเปียกออกจากขยะแห้ง ต่อมาก็เอาขยะรีไซเคิลออกจากขยะอื่นๆ ปัจจุบันก็จัดการแยกพลาสติก กระดาษ และสิ่งอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์ได้ออกมา เมื่อไหร่ก็ตามที่ขยะไม่เหม็นเน่า คือ ขยะเปียกถูกคัดแยกออกไปแต่แรก ขยะอื่นๆ เหมือนเป็นของเล่น เป็นขุมทรัพย์ สามารถเอามาทดสอบ คัดแยก ทำอะไรได้เยอะไปหมด
โครงการถนนแอสฟัลท์ ก็เกิดจากขยะเช่นเดียวกัน ในการคัดแยกขยะจะมีพลาสติกส่วนหนึ่งที่เราเห็นในถุงขยะทั่วไป คือ ถุงหูหิ้ว กรุงเทพเรียก ถุงก๊อบแก๊บ ภาษาทางเหนือเรียกถุงแซ่วไปอยู่ในถังขยะ และถุงร้อนที่ใส่แกง ใส่กับข้าว หรือลูกชิ้นเสียบไม้ พลาสติกเหล่านี้รีไซเคิลไมได้ ที่ผ่านมาต้องส่งไปหลุบฝังกลบ หรือโรงเผา แต่จริงๆ พลาสติกในกลุ่มนี้ เป็นเทอร์โมพลาสติก สามารถเปลี่ยนเป็นของเหลวได้ด้วยความร้อน และเย็นลงก็กลับขึ้นรูปเป็นของแข็ง ให้คุณสมบัติในการคงทนถาวรได้ เราจึงนำมาใช้ในการทำถนน
โดยปกติ เมืองทุกเมืองจะมีการทำถนน ซ่อมแซมถนนอยู่แล้ว โดยใช้ยางมะตอยหรือแอสฟัลท์ ซึ่งเป็นยางที่ขุดมาจากบ่อน้ำมันดิบแล้วผ่านกระบวนการกลั่นน้ำมัน จนได้แอสฟัลท์มา ดังนั้นถ้าส่วหนึ่งเราสามารถใช้พลาสติกทดแทนได้ ก็จะช่วยโลกลดการใช้พลังงานฟอสซิลลงได้ มช. ได้พยายามทำวิจัยมาระดับหนึ่งจนเรามั่นใจว่า พลาสติกนี้ใส่เข้าไปต้องใส่เท่าไรกันแน่ พลาสติกประเภทใดใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ จะผสมพลาสติกในกระบวนาการไหน และที่สำคัญ ใส่ไปแล้วถนนแข็งแรงกว่าเดิมหรืออย่างน้อยมีคุณสมบัติเท่าเดิมหรือไม่ เมื่อรถวิ่งบนถนนพลาสติกแล้ว ก่อให้เกิดมลพิษหรืปล่อยสารพิศษอะไรออกมาไหม พองานวิจัยตอบคำถามเหล่านี้ได้หมด เราจึงทำถนนต้นแบบที่เป้นถนนเชิงวิศวกรรมขึ้นมา คุณสมบัติทางวิศวกรรมไม่ด้อยกว่า ทางหลวง ทางหลวงชนบทหรือเทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่ (อปท.) ทั่วประเทศ พิสูจน์ในห้องปฏิบัติการแล้วว่า ไม่ปลดปล่อยไมโครพลาสติก หรือสารพิษอื่นๆ เราจึงได้กล้าที่จะประกาศออกไปว่า มาเอาองค์ความรู้ตรงนี้จากเราได้
เถอะ อปท เทศบาลไหนคัดแยกขยะถุงร้อนถุงเย็นที่ว่าแล้ว ไม่รู้จะไปไหนลองมาดูเถอะแล้วเอาไปใช้ คนละ 1% ทั้งประเทศไทยก็เป็นปริมาณมหาศาลที่ลดยางมะตอยลงไปได้
ใช้พลาสติกมาทดแทนยางมะตอย
ความหัศจรรย์ก็คือ แรกเริ่มเราคิดว่าเป็นสารคนละประเภทกัน แต่ว่ามาจากฟอสซิลทั้งคู่ ปรากฎว่าพอถูกความร้อนแล้วมีส่วนหนึ่งที่เชื่อมประสานกันได้ดี ในตัวของเทอโมพลาสติกเมื่อเคลือบกับหินกรวดที่ผสมกับยางมะตอย พลาสติกสามารถเคลือบและคลุกเคล้าอย่างดี พื้นผิวของหินสามารถยึดติดกับยางมะตอยได้ดีขึ้น ถนนที่ทดสอบแข็งแรงขึ้น แล้วใช้ปริมาณยางมะตอบลดลงประมาณ 2-3%
โดยในการทดลองพบว่า ถุงพลาสติกที่มีคุณสมบัติใช้ได้ดีคือ ถุงใส-โพลีเอทธิลีน ประเภท PE จะเป็น HDPE หรือ LDPE ก็ได้หมดเพราะจุดหลอมเหลวใกล้เคียงกัน แต่ต้องระวังอย่าให้มีพลาสติกประเภทอื่นปนเปื้อน
ถนนต้นแบบเริ่มต้นทดลองจากถนนใน มช.ระยะทางประมาณ 1.5กิโลเมตรเป็นถนนที่มีผู้คนสัญจรมาก โดยทดสอบการใช้พลาสติกมาผสมในสัดส่วนที่เหมาะสม ทดลองจนได้ผล โดยถนนที่ทดลองนั้นใช้ยางมะตอยประมาณ 20 ตัน และผสมพลาสติดประมาณ 1 ตัน คิดเป็นประมาณ 5% ของการใช้ยางทั้งหมด แต่กว่าจะถึงตรงนี้ก็ได้ก็ทพการทดลองหลายรูปแบบหลายส่วนผสม จนได้ชนาดที่เหมาะที่สุด
ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างลงไหม
ลดค่าใช้จ่ายลงครับเพราะเราใช้ปริมาณน้ำยางใหม่ลดลง ขณะที่พลาสติกถ้าไม่นับต้นทุนในการคัดแยก เป็นขยะที่เราได้มาฟรี ทั้งนี้ยังไม่นับว่าขยะเหล่านี้จริงๆ แล้วต้องเสียค่ากำจัด เราเอามาใช้ประโยชน์ก็ลดค่ากำจัดไป ค่าใช้จ่ายจึงลดลง แต่แน่นอนว่าเราจะพูดว่าลดอย่างเดียวคงไม่ได้ มันก็ต้องมีกระบวนการที่เพิ่มขึ้น ที่จะนำพลาสติกมาผสม แต่เบ็ดเสร็จแล้ว เราสามารถลดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญเราได้ลดการใช้ทรัพยากรที่ได้จากฟอสซิลลง โดยการฟังพลาสติก หรือเราอาจจะเรียกว่าคาร์บอนก็ได้ เพราะเมื่อเรานำไปเผาก็จะเกิดคาร์บอนคาร์บอนเหล่านี้แทนที่จะกระจายไปสู่บรรยากาศ เราก็ฟังมันไว้ที่ผิวถนนแบบถาวร แล้วคาร์บอนบนพื้นถนนนี้จะอยุ่ไปอีกนาน แม้ถนนจะชำรุด ก็สามาถขุดขึ้นมาหลอมและปาดลงไปใหม่ได้
การขยายผลทำอย่างไร
ปัจจุบัน มช.เรามี MOU กับกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัทเอสซีจี บริษัทดาวเคมีคอล โดยลงนามความร่วมมือประมาณปลายปีที่แล้ว ในเมื่อวันนี้เราพิสูจน์ทราบในกระบวนการพวกนี้แล้ว ลำดับต่อไปเราจะเอามาตรฐานมาผลักดันให้เป็นมารตรฐานของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท รวมถึงสเปคของ อปท. ทั่วประเทศที่สนใจ ซึ่ง อปท.หลายที่มีกระบวนการคัดแยกขยะอยู่แล้ว ซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่าจะเอาขยะพลาสติกเหล่านี้ไปใช้ทำอะไรนอกจากไปเผา
สำหรับที่ มช.เอง เราเปิดให้หน่วยงานรัฐ เอกชน และ อปท.ทั่วประเทศเข้ามาดูงานที่เราได้ ปัจจุบันที่ติดต่อเข้ามาปีละหลายสิบราย ซึ่งประเด็นนี้สะท้อนถึงว่า ขยะของเมืองจัดการได้ถ้าพลเมืองกับทางส่วนงานรับผิดชอบร่วมมือกัน ถ้าขยะเปียกถูกกันออกไปก่อนวัสดุที่เหลือจะมีความสนุกที่จะให้มาเล่น มีมูลค่าที่จะให้มาเล่น ตอนนี้อยากจะสื่อสารหลักคิดอันนี้ออกไปให้ทั่วถึงก่อน แน่นอนว่า การคัดแยกขยะแบบนี้ไม่ได้ทำได้กับทุกเมือง เมืองขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนก็อาจจะต้องจัดการด้วยเตาเผา
เพื่อความเร็ว เพื่อผลประโยชน์ในเชิงพื้นที่ก็จำเป็นต้องทำ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความสามารถในการคัดแยกได้ ทุกอย่างจะมีมูลค่าสูงขึ้นไปหมด
ปัจจุบันคนไทยยังไม่ได้ตระหนักเรื่องการจัดการขยะ
คนไทย 90%เลยคิดว่า การทิ้งทุกอย่างลงในถุงดำคือจบ ทุกอย่างสะอาดเราได้ทำหน้าที่แล้ว ผมอยากจะเริ่มจากเด็กๆ หรือวัยรุ่นว่า การทำอย่างนี้ไม่พอ ไม่เรียกว่าความรับผิดชอบ คนที่มีความรู้ มีความตระหนักถึงความเป็นไปของโลก ตระหนักว่าประชากรประเทศอื่นเขาปฏิบัติอย่างไร เราจะรู้ว่าการทำแค่นี้ไม่พอ การคัดแยกขยะเพื่อลดภาระให้กับโลกเป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับน้องๆ นักเรียนนักศึกษา วัยเรียน เด็กวัยรุ่น เราต้องอยู่กับโลกนี้อีกนาน เราควรมีความรู้ว่า การใช้ชีวิตทุกวันนี้เราใช้ทรัพยากรอยู่ตลอดเวลา ในทักษะของคนรุ่นใหม่ในศตวรรษที่ 22 จำเป็นต้องทราบว่าเราใช้อะไรหมดไป จะสร้างคืนกลับมาได้อย่างไร โลกสามารถหมุนเวียนทรัพยากรได้ทันกับมนุษย์หรือไม่ ถ้าไม่ทันเราจำเป็นต้องทำอย่างไร จะใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร
สำหรับคนที่สนใจด้านนี้ ความยั่งยืนเป็นสกิลที่มีความต้องการจากบริษัททั่วไป ทุกบริษัทต้องพูดถึงความยั่งยืน
คุณไม่สามารรถทัดทานกระแสของความเป็นไปของโลกนี้ได้ ดังนั้นองค์ความรู้ในด้านนี้สำหรับน้องๆ ที่สนใจก็เป็นเรื่องที่ดี
ในอนาคต ไม่ว่าจะทำงานในส่วนของการผลิต การบริการ หรือค้าขายใดๆ ถ้าเราไม่รู้จักเรื่องของความยั่งยืน เราจะใช้ชีวิตในโลกนี้ได้ลำบาก ก็ขอเชิญชวนคนที่สนใจต้องใส่ใจหาความรู้กับมัน
Category: