Categories: PASSION TALK

สุขวรรณ สุทธิวงศ์ ผู้บริหารหญิง ผลักดัน CPS ก้าวสู่ ‘ผู้ให้บริการโลจิกติกส์แบบครบวงจร’

เป็นเรื่องน่าสนใจในทุกครั้งที่ได้ทราบว่า ผู้หญิงไทยมีบทบาทในการบริหารธุรกิจและประสบความสำเร็จ…สุขวรรณ สุทธิวงศ์ เป็นผู้บุกเบิกให้ บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด (CPS) หนึ่งในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทย ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยยุทธศาสตร์ของการพัฒนาธุรกิจให้เป็น Total Logistic Provider และการสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งจากเกาหลี

ช่วงที่ผ่านมาธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นั่นทำให้ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์เผชิญกับวิกฤตและโอกาสไปพร้อมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครมีความพร้อม ปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ดีกว่า ปรับตัวได้ก็อยู่รอดเป็นผู้นำ ปรับตัวไม่ทันก็ต้องลำบากเอาตัวรอดต่อไป

ในขณะที่โลกเชื่อมถึงกันมากขึ้น ประเทศไทยก็มีเป้าหมายพัฒนาสู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค นั่นทำให้ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของไทย ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความสามารถทางการเงิน ควบคู่ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและการจัดการในบริการด้านโลจิสติกส์ที่หลากหลาย รวมถึงการขนถ่ายสินค้า พิธีการทางศุลกากร คลังสินค้า และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ปัจจุบันบริษัทข้ามชาติหลายแห่งที่ดำเนินงานในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนต่างมองหาโซลูชันด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจร การร่วมมือกับพันธมิตรจากต่างชาติ จึงเป็นทิศทางที่สำคัญในการพัฒนาธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทยให้โดดเด่น

บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด (CPS) หนึ่งในธุรกิจคนไทยที่ตั้งโดยผู้ประกอบการไทย แต่มีจุดแข็งในการมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งจากเกาหลี ทำให้เป็นหนึ่งบริษัทที่เจาะตลาดได้ทั้งประเทศไทยและเกาหลี และที่ผ่านมาบริษัทก็ใช้จุดแข็งนั้นในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคง

วันนี้ Passion Gen ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ สุขวรรณ สุทธิวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด ที่บอกเล่าถึง ความท้าทายของอุตสาหกรรม และก้าวที่น่าสนใจของ CPS

ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แรงบันดาลใจที่ต้องการจะพัฒนาธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยให้แข็งแกร่ง มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ทัดเทียมกับบริษัทขนส่งจากต่างประเทศ โดยเป็นบริษัทของไทย สัญชาติไทย ที่มีความแข็งแกร่งในการทำตลาดกับคู่ค้าที่เป็นธุรกิจเกาหลี ซึ่งนั่นเป็นจุดเด่นและจุดแข็งที่น่าสนใจของ CPS

สุขวรรณ สุทธิวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอส ชิปปิ้ง แอนด์ โลจิสติกส์ จำกัด (CPS) เล่าถึงที่มาของการก่อตั้งบริษัทให้ทีม Passion Gen ฟังว่า บริษัท CPS เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2011 ด้วยพนักงานเพียง 5 คน โดยเริ่มต้นจากธุรกิจชิปปิ้งและขนส่ง จากนั้นจึงขยายธุรกิจมาเรื่อย กระทั่งปัจจุบัน CPS ทำธุรกิจธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์แบบครบวงจร

CPS ก่อตั้งขึ้นเพราะอยากสร้างธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยให้มีความโดดเด่น แข็งแกร่งทัดเทียมกับบริษัทจากต่างประเทศ เราอยากเห็นโลโก้ CPS ทัดเทียมกับยักษ์ใหญ่จากนานาชาติ ให้ทุกคนตระหนักว่า บริษัทไทย ที่มีผู้บริหารหญิงไทยก็มีความสามารถทัดเทียมกับต่างประเทศได้” สุขวรรณ กล่าว

อย่างไรก็ตามในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 CPS ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน  สุขวรรณ เล่าให้ฟังว่า เราใช้โอกาสจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจด้วยการพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้มีความพร้อมรองรับสถานการณ์ที่มีความผันผวน เรามีการจัดอบรมให้ความรู้กับพนักงานเป็นประจำ เพื่อให้สามารถทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา ตอบโจทย์การให้บริการกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ควบคู่กับการให้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เช่น การ Work from Home, Work from Anywhere เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานจะมีความพร้อมทำงาน ไม่ว่าสถานการณ์และความพร้อมจะเปลี่ยนไปอย่างไร

ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความสำคัญและเกี่ยวโยงกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างประเทศไทย การมีบริษัทโลจิสติกส์ที่มีศักยภาพ มีขีดความสามารถระดับสูง จะช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้น

ผลการสำรวจจาก Armstrong & Associate Inc. ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์บุคคลที่สาม (3PL) และผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยตลาด เปิดเผยว่าต้นทุนโลจิสติกส์ทั่วโลกในปี 2020 คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP โลกอยู่ที่ 10.8% ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP 12.9% โดยในปี 2565 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 8 จาก 50 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 11 ในปีที่แล้ว ประเทศจีนยังคงรั้งอันดับ 1 ติดต่อกันจากการปรับใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ธุรกิจหนึ่งจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งมาตลอดระยะเวลา 11 ปี แซงหน้าคู่แข่งและบริษัทร่วมอุตสาหกรรมมายืนอยู่ในแถวหน้าของผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ นั่นสะท้นว่า CPS ต้องมีความแข็งแกร่งบางอย่างที่คู่แข่งไม่มี สุขวรรณ กล่าวว่า ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา CPS มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการทำธุรกิจชิปปิ้งและขนส่งในช่วงเริ่มต้น บริษัทได้ขยายบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า กระทั่งปัจจุบัน CPS เป็นผู้ให้บริการโลจิกสติกส์แบบครบวงจร (Total Logistics Provider) ตั้งแต่บริการ Custom Clearance, Sea Freight, Air Freight, Truck Freight รวมถึงบริการ Import Permit แล้วก็เป็นที่ปรึกษาในด้าน Custom Specialist การขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลากหลายรูปแบบ และการขนส่งผ่านแดน -ถ่ายลำ

จุดแข็งของ CPS คือการเป็นบริษัทที่หุ้นส่วน และพันธมิตรที่หลากหลายในประเทศเกาหลี ซึ่ง ณ ปี 2564 เรามีพันธมิตรที่เป็นธุรกิจเกาหลีมากกว่า 50 ราย ทำให้เรามีความโดดเด่นในด้านการขนส่งระหว่างประเทศไทยและเกาหลี และในขณะที่คู่แข่งจัดส่งสินค้าทั่วๆ ไป แต่ CPS มีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในงานโปรเจ็คส์ที่เกี่ยวกับ Power Plant Project และ Petrochemical Project เราจึงได้รับความไว้วางใจในงานขนส่งที่มีความสำคัญ อาทิ งานขนย้ายโรงไฟฟ้า โรงงานปิโตรเคมี ซึ่งเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ และต้องมีประสบการณ์ในการขนส่งด้านนี้มายาวนานอีกด้วย นั่นทำให้เราเติบโตได้อย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา” สุขวรรณ กล่าว

สำหรับการต่อยอดธุรกิจในก้าวต่อไปของ CPS สุขวรรณ กล่าวว่า เมื่อเรามีจุดแข็งที่โดดเด่นอยู่แล้ว ในปีหน้าเราจึงมีแผนต่อยอดจุดแข็งของเราให้มีความโดดเด่นยิ่งขึ้น เรามีหุ้นส่วนและพันธมิตรจากประเทศเกาหลี และเรายังมีพันธมิตรที่อยู่ทั่วโลก ในปีหน้าเรามีจึงแผนที่จะต่อยอดจากพื้นฐานที่เรามี เพิ่มงาน เพิ่มจำนวนธุรกรรมที่มีอยู่ให้มากขึ้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันเราก็มีงานโครงการขนาดใหญ่ 3 โครงการที่ประสบความสำเร็จในการประมูลสำหรับงานขนส่งในปีหน้าแล้ว เราจึงเชื่อว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ดีของเราอีกปีหนึ่ง

ปี 2566 จะเป็นปีที่ดีของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ และน่าจะเป็นปีที่ CPS ทำสถิติสูงสุดในการเติบโต ควบคู่กับการขยายตลาดไปสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ๆ พันธมิตรใหม่ ด้วยจุดแข็งที่โดดเด่นในการบริหารงานประเภทโครงการโรงงาน ปิโตรเคมี และโรงไฟฟ้า ทำให้ CPS มีโอกาสที่โดดเด่นในการเติบโตจากบริษัทคนไทยไปสู่บริษัทที่ทำตลาดในระดับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นไปตามความตั้งใจของผู้บริหาร ที่อยากเป็นโลโก้ของบริษัทคนไทย โบกสะบัดไปสู่ระดับสากล

Pasucha

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

9 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

1 year ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

1 year ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

1 year ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

2 years ago

This website uses cookies.