Categories: INSPIREPASSION TALK

Sonic Interfright โตไม่หยุด-ฉุดไม่อยู่ | Passion Talk EP024

สันติสุข โฆษิอาภานันท์ กับ SONIC โตไม่หยุดฉุดไม่อยู่ หากมองมุมกว้างแล้วโควิด-19 อาจจะทำให้หลายธุรกิจประสบปัญหา แต่ในทุกวิกฤตมักจะมีโอกาสเกิดขึ้นเสมอ เช่นเดียวกับ บริษัทโซนิค อินเตอร์เฟรท  จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่นกัน แต่เป็นเพียงระยะสั้นๆ เมื่อตั้งตัวได้และปรับตัวทัน วันนี้ โซนิค อินเตอร์เฟรท  สามารถขยายธุรกิจโตสวนกระแสการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อย่างโดดเด่น จนกลายเป็นหุ้นที่นักลงทุนทุกคนต้องเหลียวมอง…

 

วันนี้ Passion Gen มีโอกาสพบกับ CEO เจ้าของกิจการขนส่งแบบครบวงจร ดร.สันติสุข โฆษิอาภานันท์ กรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซนิค อินเตอร์เฟรท จำกัด (มหาชน) ที่กำลังจะผลักดันตัวเองสู่ก้าวใหม่ กับการเติบโตในระดับอาเซียน และธุรกิจใหม่ “โลจิสซิ่ง” มารับฟังมุมมองแง่คิดธุรกิจ และวิธีการสร้างธุรกิจสวนกระแสโควิด-19

 

บริษัท โซนิค อินเตอร์เฟรท  จำกัด (มหาชน) ทำธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องโลจิสติกส์ระหว่างประเทศแบบครบวงจรทุกโหมดทั้งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ ให้บริการแบบวันสต๊อปเซอร์วิส กับผู้ส่งออกและผู้นำเข้า

 

 

ทราบว่ามีฝันอยากเป็นพนักงานประจำ ทำไมวันนี้กลายเป็น CEO

โซนิคเราเริ่มต้นธุรกิจเมื่อปี พ.ศ.2538 ตอนที่เปิดนั้นก็คล้ายกับสตาร์ทอัพ มีพนักงาน 7 คนมีคัสตอมเมอร์เซอร์วิส 4 คน พนักงานบัญชี 1 คน คนส่งเอกสาร 1 คน ผมอีก 1 คน เริ่มต้นจากเงินทุนไม่กี่ล้านบาท ที่มาเปิดบริษัทโซนิคเพราะผมเองมีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อน

 

ตอนนั้นผมจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากแอแบค ซึ่งตอนนั้นยังเป็นวิทยาลัยอยู่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยดังเช่นปัจจุบัน สมัยที่ผมเรียนนั้นก็คิดว่า เมื่อเรียนจบแล้วอยากจะทำงานในด้านที่ได้ใช้ภาษา งานที่มีโอกาสพบปะพูดคุยกับต่างประเทศ โดยที่ไม่รู้ว่ามีธุรกิจไหนที่จะเป็นอย่างที่เราต้องการ แต่เผอิญเพื่อนบอกมาว่ามีบริษัทเรือที่เขาต้องการรับพนักงานขาย เรามีความสนใจก็ไปทดลองสมัคร แต่บริษัทนั้นค่อนข้างอนุรักษ์นิยม พอรู้ว่าเราเป็นเด็กจบเอแบคเขาก็ไม่อยากรับเพราะคิดว่าจะทำงานได้ไม่นาน ผมจึงกลับบ้านไปเอาวุฒิ ปวช. มาสมัครงานเพื่อให้เขารับเข้าทำงาน ตอนนั้นฝ่ายขายก้ไม่กล้ารับอีก ผมจึงต้องไปทำงานแผนกใหม่ที่ทั้งแผนกมีผลคนเดียวได้เงินเดือน 2,500 บาท

 

ด้วยความที่อยากทำงานด้านนี้ ผมมองว่าโอกาสมาถึงแล้วก็ทำเลย ยอมทำงานเงินเดือน 2,500 บาท แต่ผมไปบอกกับเพื่อนทุกคนว่าผมได้เงินเดือน 7000 บาทเพราะวุฒิปริญญาตรีทั่วไปตอนนั้นเงินเดือนประมาณ 5000-5500 บาท เราเด็กเอแบคก็มาร์คอัพเพิ่มอีกหน่อย ตอนที่เริ่มไปทำงานเนื่องจากเป็นแผนกใหม่ ทั้งแผนกมีผมอยู่คนเดียวทุกคนเลยเรียกผมเป็น ผมจึงเริ่มลุยงานเอง ตั้งราคาขายเฟรทเอง ออกไปหาลูกค้าเอง พอลูกค้าจะบรรจุตู้ก็ไปคุมการบรรจุ เอกสารก็เป็นคนส่ง เช็คออกเราก็วิ่งไปรับเช็ค ทั้งหมดนี้เราทำคนเดียว

ทำแล้วก็สนุก เพราะมีปัญหาตลอดเวลา มีเรื่องเรียนรู้ไมจบ เพราะไม่ใช่เป็นกฎระเบียบเฉพาะประเทศไทย แต่เป็นกฎระเบียบของแต่ละประเทศแต่ละท่าเรือ ทำงานแล้วรู้สึกว่าโลกกว้าง ตอนนั้นผมก็จะคุยกับทุกคนที่รู้จักว่า ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่เข้าท่าที่สุด เพราะเราทำเกี่ยวกับเรือ เรือต้องเข้าท่าอยู่แล้ว ผมก็สนุก และได้ความรู้ประสบการณ์จากตรงนั้น เป็นพื้นฐานสำหรับอนาคตต่อมาได้ดีมาก

 

แต่ทำอยู่ได้ช่วงหนึ่งก็ออกจากงานประจำมาตั้งบริษัท Sonic เพราะช่วงนั้นทำงานอยู่ในองค์กรที่เขาใช้กฎระเบียบทั่วไปมาครอบ เช่น มาทำงานห้ามสายเกินกี่ครั้ง ขาดลาได้กี่ครั้ง ผมอยากทำอะไรที่เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าที่จะติดอยู่ในกรอบระเบียบเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเป็นความคิดเดียวกับที่เด็กรุ่นใหม่คิดกัน”

 

 

ทำอย่างไรให้ธุรกิจที่สร้างมาเติบโต

เราโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพราะทุนเราน้อย แล้วธุรกิจนี่โลจีสติกส์นี่ถึงจะเก่งแค่ไหนก็ไม่สามารถขยายธุรกิจได้เร็ว เพราะส่วนใหญ่จะติดขัดในเรื่องเงินทุน เนื่องจากเวลาไปจ่ายค่า Fleet เรือกับบริษัทเรือเราต้องจ่ายเป็นเงินสด แต่เวลาจะเก็บเงินลูกค้าเราต้องให้เครดิตเทอม 7 วัน 10 วัน 15 วัน ดังนั้นจึงต้องมีเงินทุนระดับหนึ่ง ทำให้เราไม่ได้เติบโตเร็วมากนัก อย่างไรก็ตามในช่วงปี พ.ศ.2538-2540 มีวิกฤตต้มยำกุ้ง ตอนนั้นทุกคนประสบปัญหา แต่เป็นโอกาสให้ธุรกิจเราเติบโต เพราะในวิกฤตมีโอกาสเสมอ สถานการณ์ตอนนั้นบริษัทใหญ่ๆ หยุดนิ่งไม่ขยายธุรกิจเพราะรอดูสถานการณ์ เราเป็นบริษัทเล็กจึงมีโอกาสให้เราขยายธุรกิจได้เรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้โตเร็วมากนัก”

 

กระทั่งปีพ.ศ.2550-2551 ช่วง Hamburger Crisis บริษัทจำนวนมาเกิดวิกฤตแต่เป็นโอกาสในเราขยายธุรกิจอีกเช่นกัน ช่วงนั้นราคาสินทรัพย์ค่อนข้างถูกราคาที่ดินและโกดังลดลงในราคาที่เราสามารถจับต้องได้ เราจึงขยายธุรกิจจากเดิมที่เป็นตัวกลางในการขยายเฟรท มาสู่ธุรกิจโลจิสติกส์ แบบครบวงจร ซึ่งเรามองว่าจะทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนในระยะยาว มีฟาซิลิตี้เป็นของตัวเองเพื่อให้สามารถบริการลูกค้าได้แบบครบวงจร ช่วงนั้นเราอยากขยายธุรกิจมาก แต่ก็ติดขัดอุปสรรคเรื่องเงินทุนเช่นเดิม การหาเงินทุนตอนนั้นใช้เงินกู้ยืมจากธนาคารเพียงอย่างเดียว ซึ่งการได้เงินกู้จากแบงก์ค่อนข้างยากอุปสรรคเยอะ โดยเฉพาะบริษัทเล็กๆ เหมือนกับที่เขาว่า “เวลาฝนตกเขาก็จะเอาร่วมคืนไป เวลาฝนไม่ตกก็จะเอาร่มให้เรา” สุดท้ายเราจึงตัดสินใจเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุนมาขยายกิจการ”

 

 

ธุรกิจโลจีสติกส์ในช่วงโควิดเป็นอย่างไร

“ตลาดโลจิสติกส์ เป็นตลาดที่ใหญ่มาก เป็นเค้กก้อนใหญ่ที่มีผู้ประกอบการทั้งไทยทั้งต่างประเทศ ผู้ประกอบการไทยยังเป็นผู้เล่นที่เล็กมากถ้าเทียบกับตลาดโลก เหมือนฟุตบอลทีมชาติไทยเทียบกับฟุตบอลลีกในต่างประเทศ แต่ด้วยความที่เราเล็กนั้นทำให้เรายังมีโอกาสในการเติบโตสู่ตลาดโลกได้อีกมาก

สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นเราได้รับผลกระทบบ้างในด้านการปฏิบัติงาน ทำให้เราทำงานยากลูกค้าแต่ละรายมีข้อจำกัดเยอะ แต่โดยภาพรวมแล้วยังนับว่าเป็นโชคดีที่ธุรกิจโลจีสติกส์ได้รับผลในเชิงบวก เพราะเราขนส่งสินค้า และทุกที่มีความจำเป็นที่ต้องการตัวสินค้าอยู่ และธุรกิจเราเป็นธุรกิจที่ทำงานกับสินค้าเป็นหลักไม่ได้ออกไปสัมผัสผู้คนเท่าไร”

 

หัวใจความสำเร็จของธุรกิจโลจีสติกส์คืออะไร

ตลาดโลจีสติกส์ที่ผ่านมาอยู่ในมือบริษัทของบริษัทต่างชาติเป็นหลัก ทั้งที่เป็นตลาดที่ใหญ่มาก ผู้เล่นที่เป็นคนไทยส่วนใหญ่ก็เป็นรายเล็กเล็กที่ยังเสียเปรียบรายใหญ่อยู่มาก การสนับสนุนจากภาครัฐค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้ประกอบการต้องดิ้นรนเติบโตด้วยความสามารถเฉพาะตัว ทั้งที่เป็นธุรกิจที่มีประโยชน์เพราะนำสินค้าไทยออกไปสู่ต่างประเทศ นำเงินตราเข้าประเทศ

 

สำหรับในด้านจุดแข็งนั้น Sonic เราเองมีจุดแข็งใน 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง ด้านประสบการณ์ความรู้ความสามารถของผมและทีมงาน บริษัทเปิดมา 30 ปี ประสบการณ์ผมก็ 30 กว่าปี สินค้าส่งออกหรือนำเข้าที่เราดูแลให้ลูกับกค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้ามูลค่าสูง ต้องใช้คนที่ใส่ใจในธุรกิจ ความรับผิดชอบสูงมาดูแล

 

ส่วนที่สอง เรื่องเครือข่าย เราเองมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะส่งออกหรือนำเข้าจากโซนไหนของโลก เราสามารถให้บริการได้ทั้งหมด เนื่องจากเราทำธุรกิจมานานมีความสัมพันธ์อันดีกับพันธิมตรในต่างประเทศ ส่วนที่สาม เงินทุน ต่อให้เก่งแค่ไหนมีเน็ตเวิร์กดีแค่ไหน แต่เงินทุนจำกัดก็ขยายธุรกิจไมได้อยู่ดี ทั้งสามส่วนนี้ผมว่าสำคัญและเป็นจุดแข็งของเรา”

 

 

ภาพรวมธุรกิจของ Sonic

“ปัจจุบัน Sonic เราทำธุรกิจโลจีสติกส์แบบครบวงจร ทั้งด้านเฟรท ทรานสปอร์ต แวร์เฮ้าท์ ทุกอย่างเราเริ่มต้นมาตั้งแต่สิบกว่าปีที่แล้วเพียงแต่แต่ละส่วนไม่เชื่อมต่อกัน พอหลังจากเราระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เรามีความพร้อมมากขึ้น จิ๊กซอว์เราเป็นรูปร่างแล้วและกำลังขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น”

 

 

เป้าหมายของ Sonic

“เป้าหมายเราจริงๆ ไม่อยากเติบโตแค่ที่เมืองไทย ตั้งแต่ที่ทำงานมา ธุรกิจนี้มีแต่ต่างชาติมาลงทุนมาเปิดเป็นสาขาเป็นตัวแทนแทบไม่มีบริษัทไทยที่ไปเปิดที่ต่างประเทศเลย ทั้งที่เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น แต่ละที่ตลาดใหญ่มาก แต่เราตั้งรับอยู่ในบ้านเราเราไม่สามารถไปลงทุนได้ ด้วยข้อจำกัดด้านเงินทุนหรืออื่นๆ

ความตั้งใจแรกเริ่มของ Sonic จึงอยากจะพิสูน์ตรงนี้ Sonic จะไม่ใช่บริษัทที่เก่งและโตแค่ในประเทศไทย แต่เราจะไประดับภูมิภาค ซึ่งตลาดนี้ เวทีนี้เราน่าจะมีศักยภาพที่จะไปได้อยู่ อยู่ที่ไทม์มิ่งเท่านั้นเองว่าเราจะไปปักหมุดได้วันไหนเวลาไหน ปัจจุบันเรามาได้เกินครึ่งทางแล้ว แต่พอมาเจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เครืองบินไม่ได้บินมาปีครึ่งทุกอย่างจึงหยุดชะงักหมด ดีลการควบรวมกิจการที่คุยไว้เกือบจบแล้วจึงต้องชะลอออกไป เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยน เราจึงรอดูว่าจะมีผลกระทบอะไรกับบริษัทที่เราเจรจาไว้หรือไม่ ส่วนนี้เป็นรายละเอียดทีเป็นเรื่องสำคัญ”

 

 

เป้าหมาย แนวทาง กลยุทธ์ และแผนการพัฒนาในอนาคต

“sonic เรามีแผนที่จะขยายและลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจโลจีสติกส์อยู่แล้ว ตรงนี้เป็นงานหลักของเรา โดยล่าสุดเราจะมีธุรกิจต่อเนื่องขึ้นมาใหม่เรียกว่า “ธุรกิจโลจีสซิ่ง” ซึ่งเป็นการรวมของลิสซิ่งและโลจีสติกส์ ที่เป็นธุรกิจกรปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มธุรกิจรถหัวลากหรือรถ 18 ล้อที่เราคุ้นเคย การที่เราก้าวสู่ธุรกิจนี้ เพราะเราเข้าใจ Pain Point ของคนที่ทำโลจีสติกส์อยู่ โดยเฉพาะรถหัวลากที่เป็นพันธมิตรของเรา เนื่องจากเราเองไม่ต้องการลงทุนขยายฟรีทรถของเราเพิ่มจากปัจจุบัน แต่จะสนับสนุนให้พันธมิตรของเราที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าขยายในธุรกิจนี้แทน โดยเราจะทำหน้าที่สนับสนุนด้านสินเชื่อให้

คนทำโลจิสติกส์รายย่อยเวลาไปซื้อรถหัวลากก็จะใช้ลิสซิ่ง สิ่งที่พบคือ ดอกเบี้ยแพง เงินดาวน์สูง ระยะเวลาผ่อนสั้น ทำให้เขาประสบปัญหา เราเข้าใจ pain point นี้จึงเข้ามาสนับสนุนรายย่อย โดยนอกจากสนับสนุนด้านสินเชื่อแล้วยัง เรายังสนับสนุนในส่วนของงาน เพราะเราเป็นบริษัทโลจีสติกส์ที่มีงานมากอยู่แล้ว พันธมิตรที่ลิสซิ่งรถหัวลาก จึงสามารถมารับงานจากเราได้อย่างต่อเนื่อง เรามีความเชื่อว่า ถ้าพันธมิตรเรามีความสุขเขาจะให้บริการที่ดี ลูกค้าของเราที่เป็นผู้ส่งออก ผู้นำเข้าก็จะได้รับบริการที่ดีและมีความสุขไปด้วย”

 

 

ปีนี้เติบโตเป็นประวัติการณ์ เรามีเป้าหมายอย่างไร

เราโตต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้วไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาสที่ 4 และยังโตต่อเนื่องมายังปีนี้ไตรมาสแรก  โควิดทำให้เราทำงานยากขึ้นแต่เราก็ทำงานหนักขึ้น ข้อดีคือ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปรกติขึ้นก็จะพิสูจน์ว่าใครเป็นตัวจริง เราเองก็ได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นหลายรายจากสถานการณ์นี้ เพราะด้านประสิทธิภาพนั้นในสถานการณ์ปกติอาจจะพิสูจน์ได้ยาก แต่ในช่วงวิกฤตเช่นนี้ลูกค้าไม่ได้คาดหวังที่ราคาแต่เขาต้องการผู้ให้บริการที่สามารถดูแลสินค้าของเขาจากต้นทางถึงปลายทางได้ดี”

 

 

คนรุ่นใหม่ยังมีโอกาสเข้าสู่ธุรกิจนี้ได้หรือไม่

สำหรับคนรุ่นใหม่ที่สนใจธุรกิจนี้ อาจจะมีความยากลำบากนิดหนึ่งในการเข้าสู่ธุรกิจในช่วงที่ตลาดไม่ปรกติ และจากสถานการณ์ค่าเฟรท เรื่องพื้นที่ในตู้สินค้า กรขนส่งทางเรือ หรืออะไรทั้งหลายก็ยังมีปัญหาอยู่ จึงไม่ง่ายสำหรับผู้เล่นรายใหม่ สำหรับในปีนี้เราตั้งเป้าการเติบโตที่ 20% ซึ่งจากสถานการณ์ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาการเติบโตตามเป้าหมายไม่ใช่เรื่องยาก ปีนี้เราดูแล้วน่าจะเติบโตมากกว่า 20% ซึ่งเรากำลังประมาณการเติบโตใหม่ และจะประกาศเป้าหมายในเร็วๆ นี้”

 

 

แผนงานอื่นๆ ของ Sonic

ธุรกิจลิสซิ่งเป็นตลาดใหญ่ผลตอบแทนดีกว่าธุรกิจโลจีสติกส์ แต่ตอนนี้เราให้บริการเฉพาะลูกค้าที่เป็นพันธมิตรกับเรายังไม่เปิดสู่ตลาดทั่วไป ซึ่งเราต้องใช้เวลาอีกระยะในการประเมินความพร้อมก่อน

ธุรกิจลิสซิ่งเป็นธุรกิจที่ดี แต่ตอนนี้เราเองยังคงเป้าหลักเราอยู่ที่โลจีสติกส์เป็นหลัก ลิสซิ่งมาเสริม อนาคตจะเป็นอย่างไรค่อยมาว่ากันอีกที”

 

 

อยากให้เล่าถึงแนวคิดในการทำธุรกิจของ Sonic

ผมเชื่อในการทำงานเป็นทีม เราไม่สามารถทำอะไรคนเดียวได้หรือเก่งคนเดียวได้ และถึงแม้จะทำได้ก็จะพบข้อจำกัด ทำได้ในสเกลที่เล็ก ถึงจะมีปัญหาคลาสสิกของการมีหุ้นส่วน เช่น หุ้นส่วนไม่ดี ทะเลาะกับหุ้นส่วน ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดาของธุรกิจ แต่ความจำเป็นที่ต้องมีหุ้นส่วนมันมากกว่านั้น เราควรต้องปรับตัวว่าเราจะมีหุ้นส่วนแบบไหนอย่างไร มีกฎกติกาการทำงานอย่างไร เพราะการทำอะไรคนเดียวไปไหนไม่ได้ไกล ทุกอย่างจะต้องมีพันธมิตรที่ดี”

 

 

คนรุ่นใหม่จะเข้าสุ่ธุรกิจนี้ได้อย่างไร

ธุรกิจโลจีสติกส์เป็นธุรกิจที่ดีมีความมั่นคงต่อเนืองมายาวนาน และคนที่ทำตอนนี้คนรุ่นใหม่ยังมีอยู่น้อยจึงยังมีโอกาสอีกมาก แต่มันไมได้ง่ายและต้องใช้เวลาพอสมควร คนรุ่นใหม่มีความรู้ความสามารถ

 

แต่มีปัญหาในเรื่องความอดทน ต้องอาศัยจังหวะเวลา เพราะในธุรกิจโลจีสติกส์ชั้นนำ อย่างผมถือว่าอายุมากแล้ว คนรุ่นใหม่เข้ามายังได้เปรียบมีความพร้อมกว่าผมอีกเยอะ แม้กระทั่งบริษัทผมเองก็ยังเปิดรับคนรุ่นใหม่เข้ามาตลอดเวลา

ส่วนในมุมของสตาร์ทอัพ ธุรกิจโลจีสติกส์ดมีการก้าวสู่ดิจิทัล โดยการนำแอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์มาเสริมการทำงานให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่แกนของธุรกิจยังคงเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง แล้วมีเรื่องกฎระเบียบของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันไปเป็นอุปสรรค ในต่างประเทศเองโลจีสติกส์แบบ B2B ก็มีอแค่การนำดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ถึงขั้นการถูกดิสรัปชัน ส่วนใน B2C ได้รับผลกระทบเยอะอย่างที่เห็นความปลี่ยนแปลงในตลาด”

 

 

คนรุ่นใหม่จะประสบความสำเร็จได้ เขาต้องคิดต้องทำอย่างไร

ผมว่าเด็กรุ่นใหม่เก่งอยู่แล้วอาจจะเพิ่มในเรื่องความอดทน ความสำเร็จไม่ใช่ได้มาโดยง่าย หลายสิ่งที่เราเห็นความสำเร็จนั้นเป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น แต่เบื้องหลังที่ไม่ได้พูดถึง มีรายละเอียด องค์ประกอบอีกมาก ที่เห้นในธุรกิจหรือภาพยนตร์พระเอกมีอยู่แค่คนเดียว ดังนั้นเราอาจจะเป็นพระเอกก็ได้ หรือาจจะเป็นแค่ตัวประกอบก็ได้ สิ่งที่สำคัญคือ Commitment หรือคำมั่นสัญญา เราเก่งแล้วต้องรักษาสัจจะ กับบุคล กับงาน มีความรับผิดชอบกับทุกอย่าง ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จได้”

 

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.