Categories: PASSION TALK

“ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์” ทำให้ดีที่สุดจากจุดที่เรายืน กับเสนา ดีเวลลอปเม้นท์ | Passion Talk EP025

ถึงวันนี้ต้องยอมรับว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในวงกว้างกับภาคธุรกิจ หนึ่งในธุรกิจที่ได้ผลกระทบอย่างหนักคือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่แม้จะพยายามปรับตัวก็ยังไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

 

บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Listed company) และเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่กระนั้น เสนาฯ ก็ยังเดินหน้าปรับตัวรับผลกระทบจากโควิด-19 ควบคู่กับการดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ อย่างที่ผู้บริหารต้องออกมายอมรับว่า “นาทีนี้แม้กำไรจะต้องลดลงก็จำเป็นต้องช่วยเหลือ”

 

วันนี้ passion gen ได้รับเกียรติจาก ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางของอสังหาริมทรัพย์ ยุทธศาสตร์ของเสนาฯ การรับมือกับโควิด-19 และสิ่งที่อยากส่งต่อถึงผู้บริหารรุ่นใหม่ เป็นการสัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่งที่เจาะลึกถึงมุมมองที่ดีมาถ่ายทอด

 

 

ทราบว่าแต่เดิมเป็นอาจารย์ก่อนเข้ามาบริหารเสนาฯ

แต่ก่อนเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอนอยู่ประมาณเกือบสัก 20 ปี ช่วงปลายๆ ของการสอนเริ่มเข้ามาบริหารงานธุรกิจของที่บ้าน คือ เสนา ดีเวลล๊อปเม้นท์ ต่อจากคุณพ่อเนื่องจากคุณพ่อที่เป็นแกนหลักของธุรกิจท่านป่วย ในฐานะลูกคนโตจึงเข้ามารับช่วงการบริหารงาน แรกเริ่มเลยคิดเพียงแต่มาช่วยดูแลธุรกิจให้ระยะหนึ่ง แต่ด้วยความรับผิดชอบต่อครอบครัวเมื่อสัก 5-6 ปีที่แล้วจึงลาออกจากการเป็นอาจารย์ และเข้ามาบริหารงานแบบเต็มตัว และพัฒนาในทุกด้านจนเป็นเสนาฯในปัจจุบัน”

 

“แม้จะเป็นอาจารย์มานานแต่เราเองยังใหม่มากกับ ระยะเวลาที่ใช้กับธุรกิจจึงหมายถึงการเติบโตของเราเองด้วย แล้วการเติบโตของตัวเองในแง่ของธุรกิจก็ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตตามไป จะเห็นว่าช่วง 5 ปีที่แล้ว เสนาฯ ขยายตัวแบบก้าวกระโดด ซึ่งมาจากการเติบโตของตัวเองว่าเราโตขึ้น เราเข้าใจมากขึ้น เรากล้ารับความเสี่ยงมากขึ้น เรามีช่องทางมากขึ้น”

 

“เมื่อคุณมาทำธุรกิจไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหน รอบคอบมากแค่ไหน ไม่ว่าคุณจะเตรียมตัวขนาดไหนก็ตาม ก็มักจะจะมีความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้นเสมอ นี่คือความยากที่สุดของการทำธุรกิจ แล้วก็เป็นความยากที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นอาจารย์คุณวันแมนโชว์ แต่เป็นนักธุรกิจถ้าวันแมนโชว์คุณต้องเจ๊งแน่นอนเลย ธุรกิจที่ดีต้องมีทีมเวิร์กที่แข็งแกร่ง”

 

ภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน

อสังหาริมทรัพย์ในความเข้าใจพื้นฐานคือที่อยู่อาศัย คนที่ซื้อไปคือต้องการอยู่อาศัย แต่ด้วยความที่ว่ามีสินค้าที่เป็นคอนโดมิเนียม จึงเกิดความคิดในการลงทุนในแง่ที่ว่าลงทุนเพื่อปล่อยเช่า ระยะหลังเราจึงเห็นอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนไป คนซื้อไม่ได้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยแต่ซื้อเพื่อเก็งกำไร ซื้อเพื่อลงทุน จึงเกิดเป็นส่วนผสมของสินค้าที่คนซื้อต้องการอยู่จริงๆ กับการซื้อเพื่อไปเก็งกำไร ไปขายต่อ หรือซื้อเพื่อที่จะเอาเป็นปันผล นี่คือภาพของธุรกิจที่เปลี่ยนไป

 

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ถ้าแค่พื้นฐานประเทศไทยเขตไหนมีอัตราการครอบครองบ้านไม่สูง เขตนั้นก็จะมีความต้องการซื้อมากขึ้น แต่เมื่อมีการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้องจะไม่เกิดขึ้นจากความต้องการสุดท้ายเพียงอย่างเดียว แต่มีความคิดที่ว่าตรงนี้กะเก็งกำไรได้เพราะคนส่วนใหญ่คิดอย่างนั้น การเก็งกำไรไม่จำเป็นว่าสุดท้ายแล้วจะต้องมีคนอยู่ แต่เกิดจากความความคิดว่ามีคนจำนวนมากจ้องการที่ตรงนี้ แล้วเราซื้อได้ก่อน เอามาปล่อยต่อให้คนอื่น อสังหาริมทรัพย์จึงเสี่ยงขึ้น จากการที่มีดีมานด์ที่บางครั้งดูโอเวอร์ดีมานด์ และทำให้มีโอเวอร์ซัพพลาย เพราะอสังหาเป็นธุรกิจที่ใช้เวลาผลิตนาน สมมุติว่าทำธุรกิจ เช่น ทำดอกไม้ขายแน่นอนระยะเวลาในการผลิตสั้น จึงปรับตัวดีมานได้ไม่ยาก  แต่อสังหาริมทรัพย์ถ้าเราบอกแถวทำเลแถวนี้ดีควรขึ้นโครงการ จะต้องใช้เวลาอย่าน้อย 1 ปีกว่าถึงจะชึ้นโครงการได้ ในช่วงที่เราไปทำ 1 ปีดีมานด์อาจจะเปลี่ยนไปแล้วก็ได้

 

ย้อนกลับไปปี 2018 เป็นปีที่ดีมากของอสังหาริมทรัพย์ ดีแบบผิดหูผิดตามาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะมีดีมานด์จากนักธุรกิจจีน ซึ่งไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง ภาคอสังหาริมทรัพย์ตื่นตัวจึงเร่งผลิตสินค้าออกมารองรับ ทำให้ในปี 2019 ซัพพลายของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีเยอะมาก ส่งผลให้ในปี 2019-2020 กลายเป็นปีที่โอเวอร์ซัพพลาย ขณะที่ดีมานด์ก็ลดลงเพราะเศรษฐกิจไม่ดี

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นคืออสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูง เมื่อตลาดมีการแกว่งตัว มีความไม่แน่นอนสูง ส่วนแบ่งตลาดก็จะตกไปอยู่ในมือของรายใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นบริษัทมหาชนจดทะบเยนในตาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

ถ้าเทียบสมัยก่อน จะเห็นบริษัทมหาชนมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 30-40% แล้วค่อยๆ ขยับมาที่ 50% ปัจจุบันอยู่ที่ 70% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 80% หลังการระบาดของโควิด ดังนั้นตลาดจึงเริ่มเป็นการต่อสู้กันของเจ้าใหญ่ รายที่เล็กก็จะเล็กเลย ขณะที่เจ้ากลางๆก็อยู่ยากขึ้น จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายของเสนาฯ เป็นเกมที่รายใหญ่ได้เปรียบในหลายเรื่อง ถ้าไม่เป้นรายใหญ่ความได้เปรียบก็จะไม่มี ทำให้ต่อสู้ในสงครามราคาในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงอย่างนี้ได้ยาก”

 

“เวลาธุรกิจแข่งขันสูงมากๆ เราต้องการความได้เปรียบในทุกข้อ เมื่อขนาดทำให้มีความได้เปรียบ คุณก็ต้องพยายามรักษาขนาดธุรกิจเอาไว้ หรือเปิดโครงการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง นั่นทำให้คนนอกมองแล้วไม่เข้าใจว่า ทำไมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ดูโอเวอร์ซัพพลายแล้ว แต่นักพัฒนาทุกรายยังเดินหน้าเปิดโครงการใหม่กันอยู่ อันนี้เป็นความจริงของธุรกิจในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา”

 

“ในแง่ของผู้บริโภคสภาพธุรกิจแบบนี้ ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ เพราะรายใหญ่มีความได้เปรียบและทุกราต่งส่งต่อความได้เปรียบนั้นให้ผู้บริโภค ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในวันนี้จึงดีมากๆ กับผู้บริโภค”

 

 

กลยุทธ์การแข่งขันของเสนาฯ จะเป็นอย่างไร

อสังหาริมทรัพย์เป็นสินค้าชิ้นใหญ่ที่สุดในชีวิตคนหนึ่ง การซื้ออะไรที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตของตัวเองและครอบครัว เราจึงต้องการคนขายที่เราไว้วางใจได้ แน่นอนว่าว่าเรื่อง ฟังก์ชัน โลเคชัน ความสวยงมของโครงการ ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ แต่เหนือสิ่งเหล่านั้นขึ้นไปคือ แบรนด์ของผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือทำให้เราไว้ใจได้ว่าอีก 10 ปีข้างหน้านักพัฒนาจะยังคงอยู่ การสร้างไอเดียของความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราชนะได้ เพราะสินค้าก๊อปปี้กันได้ แต่ความเป็นตัวตนของบริษัทก๊อปปี้ไม่ได้

 

วิสัยทัศน์ และสโลแกนของเสนาฯ คือ  “ความไว้วางใจของลูกค้าคือความภูมิใจของเรา” เรายึดถือเป็นหลักในการคิดในการทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจุดขาย Made From Her หรือโซลาร์รูฟท็อป ก็จะอิงความคิดนี้

 

จุดเด่นในโครงการของเสนาฯ มี 2 เรื่อง 1. Solar Roof Top เรานำแผงโซลาร์เซลล์มาติดกับบ้านทุกหลัง คอนโดทุกแห่ง เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้า อันนี้เป็นสิ่งที่เราทำให้เกิดความแตกต่าง ซึ่งแน่นอนเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่เราพยายามคุมค่าใช้จ่ายเพื่อไม่ให้มีผลกระทบถึงราคาจำหน่ายบ้าน บ้านของเราจึงราคาใก้เคียงคู่แข่งแต่ได้โซลาร์รูฟท็อปเป็นของแถม

 

จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเสนาฯ ได้แก่ แนวคิด Made From Her ซึ่งเราเชื่อว่าผู้หญิงเป็นตัวแทนของความละเอียด เราเลยใช้คำว่า Made From Her เพื่อสะท้อนถึงความใส่ใจในรายละเอียดและการปรับแต่งเพื่อให้บ้านมีรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่แล้วมีความสุข เช่นคานบันไดยาวกว่า ทำให้เดินสบายไม่สะดุด หรือมีห้องเก็บของขนาดใหญ่กว่าทำให้บ้านไม่รก ซึ่งช่วงที่ผ่านมาเราร่วมมือกับ ฮันคิว ฮันชิน ซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่น เพื่อนำวิธีคิดในเรื่องความละเอียดของการทำสินค้า และการควบคุมคุณภาพมาอยู่ในวิธีคิดของเสนาฯ”

 

 

โควิดกระทบกับเสนาฯ อย่างไร

เป็นสัจธรรมที่ธุรกิจต้องได้รับผลกระทบอยู่แล้ว นั่นทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะ ต้องควบคุมรายจ่าย ทำสินค้าที่ไม่ใช่ระดับราคาแพงสู่ตลาด อันนี้คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจไม่ดี ขณะเดียวกัน การรับรู้ในเชิงผลิตภัณฑ์ก็เปลี่ยนไป เช่น เดิมเขาอาจจะไม่เคยสนใจห้องทำงานก็ดูห้องทำมากขึ้น โซลาร์ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดีย เพราะคนอยู่บ้านช่วงกลางวันเยอะขึ้นโดยเฉพาะช่วงโควิด การรับรู้ในผลิตภัณฑ์ก็เปลี่ยนไปบ้านกลายเป็นทุกสิ่ง ออกกำลังกายในบ้าน ทำงานในบ้าน บ้านจึงต้องมีฟีเจอร์เพิ่มขึ้น

 

ผลกระทบอีกเรื่องที่ตรงไปตรงมา คือ ผลกระทบในแง่กายภาพ เช่นเราเจอกันไม่ได้ เราทำงานด้วยกันไมได้ หรือหนักที่สุดที่เสนาเผชิญอยู่คือก่อสร้างไม่ได้ (ช่วงล็อกดาวน์แค้มป์คนงาน) การที่ลูกค้าซื้อบ้านได้น้อยลงเรายังปรับตัวได้ ทำสินค้าให้เล็กลง ราคาถูกลงได้ แต่การต้องหยุดก่อสร้างเป็นผลกระทบที่รุนแรงมาก เพราะหมายถึง Supply Chain ถูกดิสรัป ไม่ว่าคุณจะเก่งการขายขนาดไหนก็ตามแต่คุณผลิตสินค้าไม่ได้รายได้ก็ไม่เกิดอยู่ดี

 

การผลิตสินค้าของอสังหาริมทรัพย์คือการก่อสร้าง แล้วกรุงเทพปริมณฑลถูกห้ามก่อสร้าง อันนี้คือกระทบตรงไปตรงมามากที่สุด นักพัฒนาฯรายได้ต้องหายไปจากผลิตไม่ได้ แล้วอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ซัพพลายเชนยาวมาก บ้านที่ขายได้หมายถึงผู้ผลิตกระเบื้องขายได้ ผ้าม่านขายได้ คนทำห้องน้ำขายได้ ฯลฯ ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตอย่างเช่น ต้มยำกุ้ง สิ่งที่ทุกรัฐบาลทำหลังวิกฤตเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ ลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ เพราะรัฐบาลรู้ว่า บ้านหนึ่งหลังที่ขายได้จะทำให้เงินหมุนสู่ผู้ประกอบการในซัพพลายเชนอีกมาก พออสังหาริมทรัพย์หยุดก่อสร้าง เราก็ไม่จำเป็นจ้องซื้อกระเบื้อง คนงานก็อยู่เฉยๆ

 

“ผลกระทบนี้ตรงไปตรงมา เราเจ็บหนักที่สุดนับตั้งแต่ที่โควิดเคยทำกับเราเลย”

 

 

เราจัดการกับปัญหาอย่างไร

อันนี้โจทย์ยาก แน่นอนในแง่เราก็พยายามระบายสินค้าในสต๊อกทั้งบ้านและคอนโดฯที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ก็ไม่ง่าย เพราะลูกค้าก็อยากได้การเก็บบ้านที่สมบูรณ์ 100% ขณะเดียวกันบางหมู่บ้านและบางคอนโดฯก็มีผู้อยู่อาศัยแล้ว การเก็บงานก็ทำได้ยาก เพราะลูกค้าเดิมไม่อยากให้ทำ โดยเฉพาะในช่วงนี้

 

อย่างไรก็ตามเรามีวิธีคิดที่เรียกว่า CAP ย่อมาจาก C=Cope, A=Adjusting, P=Positioning C มาจากคำว่า Cope คือการจัดการระยะสั้น เช่นส่งของอาหารให้คนงาน การช่วยเหลือให้ผู้รับเหมาพออยู่ได้ คนทำงานเช่น พนักงานต้อนรับ ก็มีเครื่องมือป้องกันเช่น Test Kit แต่สิ่งที่เราควรทำด้วยและทำมาตลอดคือ Adjusting และ Positioning เพราะวันหนึ่งรัฐก็ต้องเปิดแค้มป์คนงาน วันหนึ่งโควิดต้องหายไป เราไมได้นั่งรอว่าจะเปิดเมื่อไหร่แล้วเราจะทำอะไร แต่เรามีกำหนดเป้าหมายและมีแผนรอบรับไว้เลย เช่น หากแค้มป์เปิดได้ในวันที่ 15 สิงหา เราอยากให้ตัวเราเป็นอย่างไร ถ้าเราบอกว่าเปิดแล้วเราต้องพร้อมเลย ก่อสร้างได้เลย เราต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้ เช่น เตรียมผู้รับเหมาให้พร้อมถ้าเราไม่เตรียมเขาอาจจะกลับต่างจังหวัดหรือหนีหายไปไหนที่เราไม่รู้ หรือผู้รับเหมาเองก็อาจจะไม่รู้จัดหมายตัวเอง ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารต้องทำคือ Positioning คือ ต้องสร้างจุดหมายให้ทุกคนเสมอ ต้องมองโลกในแง่ดี ถ้าจะเปิด 15 สิงหาคมต้องทำอย่างไร ทำแผนเลย จะเร่งการทำงานอย่างไรให้อัตราการโอนไม่เปลี่ยนแปลง จะต้องทำอย่างไรกับลูกค้าบ้างให้เราเตรียมแผนตอนนี้ เพื่อให้เราพร้อมที่สุดในวันที่แค้มป์เปิด หรืออย่างแย่ที่สุดเกิดรัฐไม่ให้เปิด 15 สิงหา เราก็แค่เก็บแผนนี้ไว้แล้วตั้งเป้าหมายใหม่ อันนี้คือวิธีบริหารงานของเรา

 

ตอนเป็นอาจารย์เราปรับตัวเร็วมากเพราะเป็นคนคนเดียว แต่เวลาเป็นองค์กรไม่เร็วอย่างนั้น เวลาที่เราต้องสื่อสารกับลูกค้า เช่น คอนโดหนึ่งพันคน หมู่บ้านห้าร้อยหลังคาเรือน การทำงานจะไม่เร็วเหมือนคนๆ เดียว เราต้องเตรียมการไว้ก่อนว่าจะทำอะไร ณ วันไหน ถ้าไม่กำหนดทุกคนจะเลื่อนลอยไม่รู้ว่าต้องทำอะไร ดังนั้นหน้าที่ของผู้นำคือ กำหนดเป้าหมายว่าจะเกิดอะไร ไม่เกิดอะไร  ทำอย่างไรให้ทันกับเป้าหมาย เพื่อให้เมื่อสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วเราจะได้ประโยชน์มากที่สุด”

 

 

ทราบว่าเสนาฯมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เล่าให้ฟังหน่อยว่าเราทำอะไรบ้าง

เราต้องถามตัวเองก่อนว่าเราทำอะไรได้ เรามีอะไรที่มากกว่าคนอื่น วันนี้เราได้ฟังข่าวผู้ป่วยติดต่อโรงพยาบาลแล้วไม่ได้เตียง การตรวจหาเชื่อทำได้ยาก เดินทางไปที่โรงพยาบาลก็ยาก ทุกอย่างยากไปหมด ถามว่าเสนาฯ ทำอะไรได้ ทั้งที่เสนาไม่ใช่โรงพยาบาล ถ้าคิดง่ายๆ จะรู้สึกว่าเราทำอะไรไมได้เลย เพราะเราไม่ใช่โรงพยาบาลเราไม่ใช่บุคลากร…

 

แต่เราต้องไม่คิดแบบนั้น เราควรคิดว่าเราทำอะไรได้บ้างจากจุดที่เรายืนอยู่ เสนาฯ เซ็ทวอร์รูมขึ้นมาแล้วบอกทีมงานว่าเราไม่ใช่คนๆเดียวแต่เราเป็นองค์กร เรามีคนหลายคนรวมกัน เรามีเครือข่าย เรามีเงิน ถ้าพนักงานเราหรือใครเดือดร้อนเราต้องทำได้ดีกว่า สมมุติวันนี้พนักงานบอกว่าคิดโควิดแล้วหากบริษัทไม่ได้เตรียมอะไรเลย พนักงานก็ต้องโทรหาโรงพยาบาลว่ามีที่ไหนบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบคือไม่มี  ถ้าไม่ได้เตรียมอะไรไว้หากพนักงานโทรมาบริษัท ฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็จะบอกว่าทำอะไรไม่ได้ โทรไปประกันสังคมโรงพยาบาลก็เต็ม

 

ดังนั้นเราต้องเตรียมตัวไว้ก่อนเราตั้งทีมขึ้นมาทีมหนึ่ง ทำข้อมูลว่า มีโรงพยาบาลใด ฮอสพิเทลใด หรือมีที่ไหนบ้างที่เปิดใหม่แล้วเตียงยังว่าง มีข้อมูลพร้อมทั้งรายละเอียดการโทรไว้เลย หากมีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 เราสามารถโทรไปประสานงานได้เลย หรือจัดการสถานที่ได้เลย ถ้าถึงวันนั้นเราไม่ไดเตรียมการไว้มานั่งหาว่ามีที่ไหนบ้างรับก็จะเสียเวลาอีก

 

อีกอันที่ได้คือเสนาฯทำ คือ เราทำศูนย์พักคอยของตัวเองขึ้นมา เพราะไม่ว่าจะพยายามหาข้อมูลอย่างไรก็พบว่า โรงพยาบาลและสถานที่ส่วนใหญ่ไม่พอรองรับ บางครั้งเรามีคนไข้สีเขียวเราก็ไม่ควรไปแย่งทรัพยากรข้างนอกที่มีจำกัด ศูนย์พักคอยนี้เราแบ่งเป็น 2 ส่วนเป็นศูนย์พักคอยแบบ N1 และ N0 ถ้าใครติดขึ้นมาแล้วอยู่กลุ่มสีเขียวมาอยู่ศูนย์พักคอย แล้วเราบอกในวอร์รูมเสมอว่า โจทย์ของเราไม่ใช่ส่งคนไปโรงพยาบาล แต่โจทย์คือคนของเราต้องหายจากอาการป่วย ทุกวันนี้ที่ส่งคนไปโรงพยาบาลไหนก็ตามเราก็ให้คนของเราติดต่อไปสอบถมอาการทุกวัน เพื่อติดตามว่ามีอะไรที่เราต้องช่วยเหลือ”

 

ทำไมถึงคิดว่าต้องทำศูนย์พักคอย

สิ่งที่ยากที่สุดคือการรักษาสมดุล หลายๆ อย่างที่เราทำเพื่อช่วยเหลือในช่วงโควิด-19 เป็นค่าใช้จ่ายทั้งนั้น เราจัดหาวัคซีนให้พนักงาน 100% และขยายไปถึงคนงานผู้รับเหมาก่อสร้างที่ไม่ใช่คนของเสนาฯ อันนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับเหมาจะต้องทำงานให้เราตลอด วันนี้คนงานเยอะมากที่ไม่มีประกันสังคม ซึ่งแน่นอนรัฐไม่ฉีดวัคซีนให้ ถ้าเสนาฯไม่ซื้อเจ้าของบริษัทรับเหมาก็ต้องซื้อ ถ้าเป็นผู้รับเหมารายใหญ่ก็คงมีกำลังซื้อ แต่หากเป็นรายเล็กๆ เขาจะมีกำลังจากไหน แล้ววัคซีนเองก็ไม่ได้จองง่ายๆ ต้องแย่งกัน ต้องจองคิว

 

เราบอกทุกคนว่าเราต้องมองข้ามตัวเราเองวันนี้และมองในสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเราเอง ถ้าเราไม่คิดอย่างนั้นจะมีหลายอย่างมากที่ไม่ควรทำ อย่างการฉีดวัคซีนให้คนงานของผู้รับเหมาเราก็ไม่ควรทำ แต่นี่เราฉีดเป็นกับคนงานเป็นพันคน ซึ่งแน่นอนนั่นไม่ใช่สิ่งที่บริษัทต้องรับผิดชอบขนาดนั้น เราส่งอาหารให้ผู้รับเหมาในซัพพลายเชนทุกคนตลอดเดือนที่ผ่านมา เราใส่ใจในละเอียดขนาดที่มีการแยกถุงยังชีพของผู้ใหญ่ และถุงยังชีพของเด็กแยกตามช่วงวัย เด็กแรกเกิดเป็นนมผง เด็กเล็กเป็นนมกล่อง เพราะเขาออกจากแค้มป์ไม่ได้ ถ้าเราไม่ละเอียดแล้วเขาจะเอานมจากไหนให้เด็ก”

 

“เราต้องมองสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเราเองวันนี้ แล้วมองภาพของสิ่งที่เราคิดว่าเราทำอะไรได้บ้าง เสนาแก้ไมได้ทุกเรื่องหรอก เสนาไม่สามารถแก้ความจริงที่ว่า ยังมีคนอีกเยอะแยะที่ไม่สามารถเข้าถึงอะไรเลย และต้องเสียชีวิตในบ้าน ยุ้ย แต่เราควรจะแก้ไขให้ดีที่สุดจากจุดที่เรามองเห็นเสมอ

 

 

เป้าหมายของเราในปีนี้และปีหน้า

ไม่ว่าเราจะมีจิตใจอยากช่วยเหลือคนอื่นอย่างไร แต่เราหลอกตัวเองไม่ได้ว่าวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทคือ การทำกำไร เพราะเราต้องดูแลผู้ถือหุ้นต้องดูแลลูกค้าเป็นวัตถุประสงค์หลักที่ลืมไม่ได้ ในแง่องค์กรเราก็ต้องพยายามรักษารายได้และกำไรไม่ให้อ่อนตัวลงมากเกินไปนัก วันนี้ธุรกิจเรายังเดินหน้า เรายังขยายงาน เรายังเปิดโครงการใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องเลื่อนไปเปิดในช่วงปลายปี การลงทุนเราไม่เคยหยุดนิ่ง เราไม่สามารถบอกว่าตลาดไม่ดีวันนี้แล้วเราหยุด จะนั่นจะเหมือนการขับรถมาเร็วๆ แล้วเบรกอย่างแรง ถ้ารถหยุดแล้วการออกตัวใหม่ก็ต้องใช้เวลาอีก ดังนั้นเราจึงพยายามรักษาสภาพคล่องไว้ให้เพียงพอ ถึงวันนี้เสนาฯยังไม่เคยเอาคนออกเลย เรารักษาคนของเราไว้ แต่เมื่อเรามีคนก็ต้องมีงานให้ทำ เราจึงต้องควบคุมต้นทุน รักษาการเติบโต ดูความเสี่ยง และทำให้มั่นใจว่าบริษัทยังมีสภาพคล่องอย่างเพียงพอ นี่คืองานหลักที่ต้องทำ

 

ผลตอบแทนในแง่เงินปันผลก็ยังจ่ายให้ผู้ถือหุ้นเป็นปกติ อันนี้คือโจทย์ที่บริษัทต้องทำ อย่างไรก็ตามจะช่วยคนอื่นได้ตัวเองต้องอยู่รอดได้ก่อน นั่นคือมีผลประกบอการที่ดีมีกำไร เพียงแต่เราอาจจะคิดมากกว่าคนอื่นนิดหนึ่ง เราอาจจะกำไรน้อยลงนิดหน่อยยุ้ยยอมรับ  เพราะถ้าไม่เอาเงินไปซื้อวัคซีนเงินตรงนั้นก็ยังอยู่ในบริษัท ถ้าไม่ต้องซื้อข้าวเยอะขนาดนี้เงินก็ยังอยู่ในบริษัท เราจะคิดแบบนั้นก็ได้แต่นัน่ไม่ใช่ตัวตนของเสานาฯที่เราอยากเป็น”

 

“เป้าหมายเราอยากให้ยอดไม่ต่ำกว่าปีที่แล้ว ปีที่แล้วเรากำไรนิวไฮที่พันกว่าล้านบาท และเราพยายามรักษาเป้าหมายนั้นไว้”

 

 

ฝากมุมมองแง่คิดถึงคนรุ่นใหม่อย่างไร

อยากแชร์ถึงน้องๆ รุ่นใหม่ ตัวเลขผู้ป่วยวันนี้ดูปวดใจมาก เรารู้สึกหมดหวังอย่างไรไม่รู้ แต่เราต้องพยายามมอง…ความต่างอยู่ที่ตรงนี้ คือเราต้องมองข้ามสิ่งนี้ไป พยายามอ่านบทวิจัยว่า การระบาดรอบนี้จะจบเมื่อไหร่จะพีคสูงสุดช่วงไหน แล้วตัวเลขจะลดลงอย่างไร อย่างไรก็ตามวิกฤตครั้งนี้ต้องมีจบ ดังนั้นต้องมีจิตใจที่หนักแน่น เมื่อวิกฤตจบแล้วจะทำอย่างไรให้เรายืนได้อย่างสง่า นั่นเป็นความต่างของผู้นำที่ต้องทำให้องค์กรมองไปหาจุดที่เป็นจุดจบที่ดีกว่า ตั้งเป้าหมายว่าเราอยากเป็นอย่างไร แล้ววันนี้ทำทุกอย่างเพื่อให้เราเป็นอย่างนั้นให้ได้

 

หน้าที่หนึ่งของผู้นำคือ การกำหนดจุดหมายที่ชัดเจนกับพนักงานในองค์กร ยุ้ยบอกทุกคนเสมอว่าที่กำหนดเป้าหมายไปนั้นยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เช่นกำหนดเป้าหมายไปว่าเปิดแค้มป์ 2 สิงหาคม แต่ความจริงอาจจะเปิดไม่ได้ก็เป็นได้ แต่สิ่งที่ผู้นำไม่ควรมีคือความไม่ชัดเจน เราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนได้แต่ไม่ชัดเจนไม่ได้ ถ้าผู้นำไม่ชัดเจนไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี คนในองค์กรก็จะไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรดี คราวนี้ก็จะไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เราต้องให้ทิศทางที่ชัดเจนกับทีมงานแม้ว่าจะสถานการณ์เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนก็ตาม

น้องๆทุกคนที่ทำธุรกิจไม่ว่าธุรกิจไหนก็ตามต้องมองว่าธุรกิจนั้นอยู่ได้ยาว ไม่มีใครทำธุรกิจแล้วคิดว่าจะอยู่ช่วงสั้นๆ แล้วบอกว่าธุรกิจนั้นสำเร็จ ยุ้ยคิดว่านั่นไม่ใช่คำจำกัดความของคำว่าประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ การทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคือ สามารถผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วยังคงอยู่ได้ บริษัทที่ประสบความสำเร็จต้องสามารถผ่านวิกฤตมาหลายรอบแล้วยังอยู่ได้ ถึงสามารถพูดได้ว่าบริษัทนั้นเก่งจริงมีภูมิต้านทานที่สามารถผ่านช่วงที่ดีและไม่ดีมาได้”

ดังนั้นน้องๆ ในธุรกิจไหนก็แล้วแต่ ต้องมองธุรกิจเป็นคลื่น Curve เสมอ ต้องคิดว่าเวลาไม่ดีจะจัดการอย่างไร เวลาดีจะทำอย่างไรให้อยู่เหนือคลื่นหรือ Above the Curve ฝากทุกคนนะว่า ธุรกิจคือความไม่แน่นอน ถ้าเกิดแน่นอนก็ไม่ใช่ธุรกิจ ถ้าเราจะกำไรและอยู่ได้นานกว่าคนอื่น ก็เพราะเราจัดการความไม่แน่นอนได้ดีกว่าคนอื่น อยากให้กำลังใจว่า ให้ทุกคนมองตรงนี้เป็นความไม่แน่นอนและคิดว่าเราต้องผ่านไซเคิลที่แย่ไปให้ได้ ถึงจะยืนยันได้ว่าเราเหมาะที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น

——————————————————–
รับชมเนื้อหาของ EP.อื่น ๆ ย้อนหลังได้ที่ลิงค์ด้านล่างนะครับ
Passion Talk EP.038 | นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ เมื่อโลกก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาด และ Carbon Tax
Website : https://www.passiongen.com/news/2022/03/นฤชล-ดำรงปิยวุฒิ์-gunkul-pt-ep038
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=ivjcuaBE_0w
——————————————————–
Passion Talk EP037 ทินกร เหล่าเราวิโรจน์ Web3.0 เปลี่ยนโลก คนไทยจะก้าวอย่างไร?
Website : https://www.passiongen.com/inspired/passion-talk/2022/20/ทินกร-เหล่าเราวิโรจน์-web3-0-metaverse-p
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=3QYnPv9Nknc
————————————————————–
Passion Talk EP036 “อำนาจ เอื้ออารีมิตร” จากมีดหมอสู่กองเอกสาร จุดประกายฝัน EKH สู่โรงพยาบาลชั้นนำครบวงจร
Website : https://www.passiongen.com/news/2022/06/อำนาจ-เอื้ออารีมิตร-โรงพ
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=xDSjmf1LtZM&t=38s
————————————————————–
passion talk EP035 พล.ท.พิเศษ ศิริเกษม แรงบันดาลใจสู่ทุนปรัชญาเพื่อความมั่นคง
Website : https://www.passiongen.com/inspired/passion-talk/2021/24/พิเศษ-ศิริเกษม-แรงบันดาล
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=5rMSiy3p2sQ&t=1s
————————————————————–
อ่าน Passion Talk ทุกเรื่องได้ที่
https://www.passiongen.com/category/inspired/passion-talk

อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.