ถึงวันนี้ต้องยอมรับว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในวงกว้างกับภาคธุรกิจ หนึ่งในธุรกิจที่ได้ผลกระทบอย่างหนักคือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่แม้จะพยายามปรับตัวก็ยังไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

 

บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Listed company) และเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่กระนั้น เสนาฯ ก็ยังเดินหน้าปรับตัวรับผลกระทบจากโควิด-19 ควบคู่กับการดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ อย่างที่ผู้บริหารต้องออกมายอมรับว่า “นาทีนี้แม้กำไรจะต้องลดลงก็จำเป็นต้องช่วยเหลือ”

 

วันนี้ passion gen ได้รับเกียรติจาก ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางของอสังหาริมทรัพย์ ยุทธศาสตร์ของเสนาฯ การรับมือกับโควิด-19 และสิ่งที่อยากส่งต่อถึงผู้บริหารรุ่นใหม่ เป็นการสัมภาษณ์อีกครั้งหนึ่งที่เจาะลึกถึงมุมมองที่ดีมาถ่ายทอด

 

 

ทราบว่าแต่เดิมเป็นอาจารย์ก่อนเข้ามาบริหารเสนาฯ

แต่ก่อนเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอนอยู่ประมาณเกือบสัก 20 ปี ช่วงปลายๆ ของการสอนเริ่มเข้ามาบริหารงานธุรกิจของที่บ้าน คือ เสนา ดีเวลล๊อปเม้นท์ ต่อจากคุณพ่อเนื่องจากคุณพ่อที่เป็นแกนหลักของธุรกิจท่านป่วย ในฐานะลูกคนโตจึงเข้ามารับช่วงการบริหารงาน แรกเริ่มเลยคิดเพียงแต่มาช่วยดูแลธุรกิจให้ระยะหนึ่ง แต่ด้วยความรับผิดชอบต่อครอบครัวเมื่อสัก 5-6 ปีที่แล้วจึงลาออกจากการเป็นอาจารย์ และเข้ามาบริหารงานแบบเต็มตัว และพัฒนาในทุกด้านจนเป็นเสนาฯในปัจจุบัน”

 

“แม้จะเป็นอาจารย์มานานแต่เราเองยังใหม่มากกับ ระยะเวลาที่ใช้กับธุรกิจจึงหมายถึงการเติบโตของเราเองด้วย แล้วการเติบโตของตัวเองในแง่ของธุรกิจก็ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตตามไป จะเห็นว่าช่วง 5 ปีที่แล้ว เสนาฯ ขยายตัวแบบก้าวกระโดด ซึ่งมาจากการเติบโตของตัวเองว่าเราโตขึ้น เราเข้าใจมากขึ้น เรากล้ารับความเสี่ยงมากขึ้น เรามีช่องทางมากขึ้น”

 

“เมื่อคุณมาทำธุรกิจไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหน รอบคอบมากแค่ไหน ไม่ว่าคุณจะเตรียมตัวขนาดไหนก็ตาม ก็มักจะจะมีความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้นเสมอ นี่คือความยากที่สุดของการทำธุรกิจ แล้วก็เป็นความยากที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นอาจารย์คุณวันแมนโชว์ แต่เป็นนักธุรกิจถ้าวันแมนโชว์คุณต้องเจ๊งแน่นอนเลย ธุรกิจที่ดีต้องมีทีมเวิร์กที่แข็งแกร่ง”

 

 

ภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน

อสังหาริมทรัพย์ในความเข้าใจพื้นฐานคือที่อยู่อาศัย คนที่ซื้อไปคือต้องการอยู่อาศัย แต่ด้วยความที่ว่ามีสินค้าที่เป็นคอนโดมิเนียม จึงเกิดความคิดในการลงทุนในแง่ที่ว่าลงทุนเพื่อปล่อยเช่า ระยะหลังเราจึงเห็นอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนไป คนซื้อไม่ได้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยแต่ซื้อเพื่อเก็งกำไร ซื้อเพื่อลงทุน จึงเกิดเป็นส่วนผสมของสินค้าที่คนซื้อต้องการอยู่จริงๆ กับการซื้อเพื่อไปเก็งกำไร ไปขายต่อ หรือซื้อเพื่อที่จะเอาเป็นปันผล นี่คือภาพของธุรกิจที่เปลี่ยนไป

 

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จึงมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ถ้าแค่พื้นฐานประเทศไทยเขตไหนมีอัตราการครอบครองบ้านไม่สูง เขตนั้นก็จะมีความต้องการซื้อมากขึ้น แต่เมื่อมีการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้องจะไม่เกิดขึ้นจากความต้องการสุดท้ายเพียงอย่างเดียว แต่มีความคิดที่ว่าตรงนี้กะเก็งกำไรได้เพราะคนส่วนใหญ่คิดอย่างนั้น การเก็งกำไรไม่จำเป็นว่าสุดท้ายแล้วจะต้องมีคนอยู่ แต่เกิดจากความความคิดว่ามีคนจำนวนมากจ้องการที่ตรงนี้ แล้วเราซื้อได้ก่อน เอามาปล่อยต่อให้คนอื่น อสังหาริมทรัพย์จึงเสี่ยงขึ้น จากการที่มีดีมานด์ที่บางครั้งดูโอเวอร์ดีมานด์ และทำให้มีโอเวอร์ซัพพลาย เพราะอสังหาเป็นธุรกิจที่ใช้เวลาผลิตนาน สมมุติว่าทำธุรกิจ เช่น ทำดอกไม้ขายแน่นอนระยะเวลาในการผลิตสั้น จึงปรับตัวดีมานได้ไม่ยาก  แต่อสังหาริมทรัพย์ถ้าเราบอกแถวทำเลแถวนี้ดีควรขึ้นโครงการ จะต้องใช้เวลาอย่าน้อย 1 ปีกว่าถึงจะชึ้นโครงการได้ ในช่วงที่เราไปทำ 1 ปีดีมานด์อาจจะเปลี่ยนไปแล้วก็ได้

 

ย้อนกลับไปปี 2018 เป็นปีที่ดีมากของอสังหาริมทรัพย์ ดีแบบผิดหูผิดตามาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะมีดีมานด์จากนักธุรกิจจีน ซึ่งไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง ภาคอสังหาริมทรัพย์ตื่นตัวจึงเร่งผลิตสินค้าออกมารองรับ ทำให้ในปี 2019 ซัพพลายของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีเยอะมาก ส่งผลให้ในปี 2019-2020 กลายเป็นปีที่โอเวอร์ซัพพลาย ขณะที่ดีมานด์ก็ลดลงเพราะเศรษฐกิจไม่ดี

 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นคืออสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูง เมื่อตลาดมีการแกว่งตัว มีความไม่แน่นอนสูง ส่วนแบ่งตลาดก็จะตกไปอยู่ในมือของรายใหญ่มากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นบริษัทมหาชนจดทะบเยนในตาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

 

ถ้าเทียบสมัยก่อน จะเห็นบริษัทมหาชนมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 30-40% แล้วค่อยๆ ขยับมาที่ 50% ปัจจุบันอยู่ที่ 70% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 80% หลังการระบาดของโควิด ดังนั้นตลาดจึงเริ่มเป็นการต่อสู้กันของเจ้าใหญ่ รายที่เล็กก็จะเล็กเลย ขณะที่เจ้ากลางๆก็อยู่ยากขึ้น จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายของเสนาฯ เป็นเกมที่รายใหญ่ได้เปรียบในหลายเรื่อง ถ้าไม่เป้นรายใหญ่ความได้เปรียบก็จะไม่มี ทำให้ต่อสู้ในสงครามราคาในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงอย่างนี้ได้ยาก”

 

“เวลาธุรกิจแข่งขันสูงมากๆ เราต้องการความได้เปรียบในทุกข้อ เมื่อขนาดทำให้มีความได้เปรียบ คุณก็ต้องพยายามรักษาขนาดธุรกิจเอาไว้ หรือเปิดโครงการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง นั่นทำให้คนนอกมองแล้วไม่เข้าใจว่า ทำไมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ดูโอเวอร์ซัพพลายแล้ว แต่นักพัฒนาทุกรายยังเดินหน้าเปิดโครงการใหม่กันอยู่ อันนี้เป็นความจริงของธุรกิจในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา”

 

“ในแง่ของผู้บริโภคสภาพธุรกิจแบบนี้ ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ เพราะรายใหญ่มีความได้เปรียบและทุกราต่งส่งต่อความได้เปรียบนั้นให้ผู้บริโภค ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในวันนี้จึงดีมากๆ กับผู้บริโภค”

 

 

กลยุทธ์การแข่งขันของเสนาฯ จะเป็นอย่างไร

อสังหาริมทรัพย์เป็นสินค้าชิ้นใหญ่ที่สุดในชีวิตคนหนึ่ง การซื้ออะไรที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตของตัวเองและครอบครัว เราจึงต้องการคนขายที่เราไว้วางใจได้ แน่นอนว่าว่าเรื่อง ฟังก์ชัน โลเคชัน ความสวยงมของโครงการ ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ แต่เหนือสิ่งเหล่านั้นขึ้นไปคือ แบรนด์ของผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือทำให้เราไว้ใจได้ว่าอีก 10 ปีข้างหน้านักพัฒนาจะยังคงอยู่ การสร้างไอเดียของความน่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราชนะได้ เพราะสินค้าก๊อปปี้กันได้ แต่ความเป็นตัวตนของบริษัทก๊อปปี้ไม่ได้

 

วิสัยทัศน์ และสโลแกนของเสนาฯ คือ  “ความไว้วางใจของลูกค้าคือความภูมิใจของเรา” เรายึดถือเป็นหลักในการคิดในการทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจุดขาย Made From Her หรือโซลาร์รูฟท็อป ก็จะอิงความคิดนี้

 

จุดเด่นในโครงการของเสนาฯ มี 2 เรื่อง 1. Solar Roof Top เรานำแผงโซลาร์เซลล์มาติดกับบ้านทุกหลัง คอนโดทุกแห่ง เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้า อันนี้เป็นสิ่งที่เราทำให้เกิดความแตกต่าง ซึ่งแน่นอนเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่เราพยายามคุมค่าใช้จ่ายเพื่อไม่ให้มีผลกระทบถึงราคาจำหน่ายบ้าน บ้านของเราจึงราคาใก้เคียงคู่แข่งแต่ได้โซลาร์รูฟท็อปเป็นของแถม

 

จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเสนาฯ ได้แก่ แนวคิด Made From Her ซึ่งเราเชื่อว่าผู้หญิงเป็นตัวแทนของความละเอียด เราเลยใช้คำว่า Made From Her เพื่อสะท้อนถึงความใส่ใจในรายละเอียดและการปรับแต่งเพื่อให้บ้านมีรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่แล้วมีความสุข เช่นคานบันไดยาวกว่า ทำให้เดินสบายไม่สะดุด หรือมีห้องเก็บของขนาดใหญ่กว่าทำให้บ้านไม่รก ซึ่งช่วงที่ผ่านมาเราร่วมมือกับ ฮันคิว ฮันชิน ซึ่งเป็นบริษัทญี่ปุ่น เพื่อนำวิธีคิดในเรื่องความละเอียดของการทำสินค้า และการควบคุมคุณภาพมาอยู่ในวิธีคิดของเสนาฯ”

 

 

โควิดกระทบกับเสนาฯ อย่างไร

เป็นสัจธรรมที่ธุรกิจต้องได้รับผลกระทบอยู่แล้ว นั่นทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะ ต้องควบคุมรายจ่าย ทำสินค้าที่ไม่ใช่ระดับราคาแพงสู่ตลาด อันนี้คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจไม่ดี ขณะเดียวกัน การรับรู้ในเชิงผลิตภัณฑ์ก็เปลี่ยนไป เช่น เดิมเขาอาจจะไม่เคยสนใจห้องทำงานก็ดูห้องทำมากขึ้น โซลาร์ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดีย เพราะคนอยู่บ้านช่วงกลางวันเยอะขึ้นโดยเฉพาะช่วงโควิด การรับรู้ในผลิตภัณฑ์ก็เปลี่ยนไปบ้านกลายเป็นทุกสิ่ง ออกกำลังกายในบ้าน ทำงานในบ้าน บ้านจึงต้องมีฟีเจอร์เพิ่มขึ้น

 

ผลกระทบอีกเรื่องที่ตรงไปตรงมา คือ ผลกระทบในแง่กายภาพ เช่นเราเจอกันไม่ได้ เราทำงานด้วยกันไมได้ หรือหนักที่สุดที่เสนาเผชิญอยู่คือก่อสร้างไม่ได้ (ช่วงล็อกดาวน์แค้มป์คนงาน) การที่ลูกค้าซื้อบ้านได้น้อยลงเรายังปรับตัวได้ ทำสินค้าให้เล็กลง ราคาถูกลงได้ แต่การต้องหยุดก่อสร้างเป็นผลกระทบที่รุนแรงมาก เพราะหมายถึง Supply Chain ถูกดิสรัป ไม่ว่าคุณจะเก่งการขายขนาดไหนก็ตามแต่คุณผลิตสินค้าไม่ได้รายได้ก็ไม่เกิดอยู่ดี

 

การผลิตสินค้าของอสังหาริมทรัพย์คือการก่อสร้าง แล้วกรุงเทพปริมณฑลถูกห้ามก่อสร้าง อันนี้คือกระทบตรงไปตรงมามากที่สุด นักพัฒนาฯรายได้ต้องหายไปจากผลิตไม่ได้ แล้วอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ซัพพลายเชนยาวมาก บ้านที่ขายได้หมายถึงผู้ผลิตกระเบื้องขายได้ ผ้าม่านขายได้ คนทำห้องน้ำขายได้ ฯลฯ ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตอย่างเช่น ต้มยำกุ้ง สิ่งที่ทุกรัฐบาลทำหลังวิกฤตเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ ลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ เพราะรัฐบาลรู้ว่า บ้านหนึ่งหลังที่ขายได้จะทำให้เงินหมุนสู่ผู้ประกอบการในซัพพลายเชนอีกมาก พออสังหาริมทรัพย์หยุดก่อสร้าง เราก็ไม่จำเป็นจ้องซื้อกระเบื้อง คนงานก็อยู่เฉยๆ

 

 

“ผลกระทบนี้ตรงไปตรงมา เราเจ็บหนักที่สุดนับตั้งแต่ที่โควิดเคยทำกับเราเลย”

 

 

เราจัดการกับปัญหาอย่างไร

อันนี้โจทย์ยาก แน่นอนในแง่เราก็พยายามระบายสินค้าในสต๊อกทั้งบ้านและคอนโดฯที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ก็ไม่ง่าย เพราะลูกค้าก็อยากได้การเก็บบ้านที่สมบูรณ์ 100% ขณะเดียวกันบางหมู่บ้านและบางคอนโดฯก็มีผู้อยู่อาศัยแล้ว การเก็บงานก็ทำได้ยาก เพราะลูกค้าเดิมไม่อยากให้ทำ โดยเฉพาะในช่วงนี้

 

อย่างไรก็ตามเรามีวิธีคิดที่เรียกว่า CAP ย่อมาจาก C=Cope, A=Adjusting, P=Positioning C มาจากคำว่า Cope คือการจัดการระยะสั้น เช่นส่งของอาหารให้คนงาน การช่วยเหลือให้ผู้รับเหมาพออยู่ได้ คนทำงานเช่น พนักงานต้อนรับ ก็มีเครื่องมือป้องกันเช่น Test Kit แต่สิ่งที่เราควรทำด้วยและทำมาตลอดคือ Adjusting และ Positioning เพราะวันหนึ่งรัฐก็ต้องเปิดแค้มป์คนงาน วันหนึ่งโควิดต้องหายไป เราไมได้นั่งรอว่าจะเปิดเมื่อไหร่แล้วเราจะทำอะไร แต่เรามีกำหนดเป้าหมายและมีแผนรอบรับไว้เลย เช่น หากแค้มป์เปิดได้ในวันที่ 15 สิงหา เราอยากให้ตัวเราเป็นอย่างไร ถ้าเราบอกว่าเปิดแล้วเราต้องพร้อมเลย ก่อสร้างได้เลย เราต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้ เช่น เตรียมผู้รับเหมาให้พร้อมถ้าเราไม่เตรียมเขาอาจจะกลับต่างจังหวัดหรือหนีหายไปไหนที่เราไม่รู้ หรือผู้รับเหมาเองก็อาจจะไม่รู้จัดหมายตัวเอง ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารต้องทำคือ Positioning คือ ต้องสร้างจุดหมายให้ทุกคนเสมอ ต้องมองโลกในแง่ดี ถ้าจะเปิด 15 สิงหาคมต้องทำอย่างไร ทำแผนเลย จะเร่งการทำงานอย่างไรให้อัตราการโอนไม่เปลี่ยนแปลง จะต้องทำอย่างไรกับลูกค้าบ้างให้เราเตรียมแผนตอนนี้ เพื่อให้เราพร้อมที่สุดในวันที่แค้มป์เปิด หรืออย่างแย่ที่สุดเกิดรัฐไม่ให้เปิด 15 สิงหา เราก็แค่เก็บแผนนี้ไว้แล้วตั้งเป้าหมายใหม่ อันนี้คือวิธีบริหารงานของเรา

 

ตอนเป็นอาจารย์เราปรับตัวเร็วมากเพราะเป็นคนคนเดียว แต่เวลาเป็นองค์กรไม่เร็วอย่างนั้น เวลาที่เราต้องสื่อสารกับลูกค้า เช่น คอนโดหนึ่งพันคน หมู่บ้านห้าร้อยหลังคาเรือน การทำงานจะไม่เร็วเหมือนคนๆ เดียว เราต้องเตรียมการไว้ก่อนว่าจะทำอะไร ณ วันไหน ถ้าไม่กำหนดทุกคนจะเลื่อนลอยไม่รู้ว่าต้องทำอะไร ดังนั้นหน้าที่ของผู้นำคือ กำหนดเป้าหมายว่าจะเกิดอะไร ไม่เกิดอะไร  ทำอย่างไรให้ทันกับเป้าหมาย เพื่อให้เมื่อสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วเราจะได้ประโยชน์มากที่สุด”

 

 

ทราบว่าเสนาฯมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เล่าให้ฟังหน่อยว่าเราทำอะไรบ้าง

เราต้องถามตัวเองก่อนว่าเราทำอะไรได้ เรามีอะไรที่มากกว่าคนอื่น วันนี้เราได้ฟังข่าวผู้ป่วยติดต่อโรงพยาบาลแล้วไม่ได้เตียง การตรวจหาเชื่อทำได้ยาก เดินทางไปที่โรงพยาบาลก็ยาก ทุกอย่างยากไปหมด ถามว่าเสนาฯ ทำอะไรได้ ทั้งที่เสนาไม่ใช่โรงพยาบาล ถ้าคิดง่ายๆ จะรู้สึกว่าเราทำอะไรไมได้เลย เพราะเราไม่ใช่โรงพยาบาลเราไม่ใช่บุคลากร…

 

แต่เราต้องไม่คิดแบบนั้น เราควรคิดว่าเราทำอะไรได้บ้างจากจุดที่เรายืนอยู่ เสนาฯ เซ็ทวอร์รูมขึ้นมาแล้วบอกทีมงานว่าเราไม่ใช่คนๆเดียวแต่เราเป็นองค์กร เรามีคนหลายคนรวมกัน เรามีเครือข่าย เรามีเงิน ถ้าพนักงานเราหรือใครเดือดร้อนเราต้องทำได้ดีกว่า สมมุติวันนี้พนักงานบอกว่าคิดโควิดแล้วหากบริษัทไม่ได้เตรียมอะไรเลย พนักงานก็ต้องโทรหาโรงพยาบาลว่ามีที่ไหนบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบคือไม่มี  ถ้าไม่ได้เตรียมอะไรไว้หากพนักงานโทรมาบริษัท ฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็จะบอกว่าทำอะไรไม่ได้ โทรไปประกันสังคมโรงพยาบาลก็เต็ม

 

ดังนั้นเราต้องเตรียมตัวไว้ก่อนเราตั้งทีมขึ้นมาทีมหนึ่ง ทำข้อมูลว่า มีโรงพยาบาลใด ฮอสพิเทลใด หรือมีที่ไหนบ้างที่เปิดใหม่แล้วเตียงยังว่าง มีข้อมูลพร้อมทั้งรายละเอียดการโทรไว้เลย หากมีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 เราสามารถโทรไปประสานงานได้เลย หรือจัดการสถานที่ได้เลย ถ้าถึงวันนั้นเราไม่ไดเตรียมการไว้มานั่งหาว่ามีที่ไหนบ้างรับก็จะเสียเวลาอีก

 

อีกอันที่ได้คือเสนาฯทำ คือ เราทำศูนย์พักคอยของตัวเองขึ้นมา เพราะไม่ว่าจะพยายามหาข้อมูลอย่างไรก็พบว่า โรงพยาบาลและสถานที่ส่วนใหญ่ไม่พอรองรับ บางครั้งเรามีคนไข้สีเขียวเราก็ไม่ควรไปแย่งทรัพยากรข้างนอกที่มีจำกัด ศูนย์พักคอยนี้เราแบ่งเป็น 2 ส่วนเป็นศูนย์พักคอยแบบ N1 และ N0 ถ้าใครติดขึ้นมาแล้วอยู่กลุ่มสีเขียวมาอยู่ศูนย์พักคอย แล้วเราบอกในวอร์รูมเสมอว่า โจทย์ของเราไม่ใช่ส่งคนไปโรงพยาบาล แต่โจทย์คือคนของเราต้องหายจากอาการป่วย ทุกวันนี้ที่ส่งคนไปโรงพยาบาลไหนก็ตามเราก็ให้คนของเราติดต่อไปสอบถมอาการทุกวัน เพื่อติดตามว่ามีอะไรที่เราต้องช่วยเหลือ”

 

 

ทำไมถึงคิดว่าต้องทำศูนย์พักคอย

สิ่งที่ยากที่สุดคือการรักษาสมดุล หลายๆ อย่างที่เราทำเพื่อช่วยเหลือในช่วงโควิด-19  เป็นค่าใช้จ่ายทั้งนั้น เราจัดหาวัคซีนให้พนักงาน 100% และขยายไปถึงคนงานผู้รับเหมาก่อสร้างที่ไม่ใช่คนของเสนาฯ อันนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้รับเหมาจะต้องทำงานให้เราตลอด วันนี้คนงานเยอะมากที่ไม่มีประกันสังคม ซึ่งแน่นอนรัฐไม่ฉีดวัคซีนให้ ถ้าเสนาฯไม่ซื้อเจ้าของบริษัทรับเหมาก็ต้องซื้อ ถ้าเป็นผู้รับเหมารายใหญ่ก็คงมีกำลังซื้อ แต่หากเป็นรายเล็กๆ เขาจะมีกำลังจากไหน แล้ววัคซีนเองก็ไม่ได้จองง่ายๆ ต้องแย่งกัน ต้องจองคิว

 

เราบอกทุกคนว่าเราต้องมองข้ามตัวเราเองวันนี้และมองในสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเราเอง ถ้าเราไม่คิดอย่างนั้นจะมีหลายอย่างมากที่ไม่ควรทำ อย่างการฉีดวัคซีนให้คนงานของผู้รับเหมาเราก็ไม่ควรทำ แต่นี่เราฉีดเป็นกับคนงานเป็นพันคน ซึ่งแน่นอนนั่นไม่ใช่สิ่งที่บริษัทต้องรับผิดชอบขนาดนั้น เราส่งอาหารให้ผู้รับเหมาในซัพพลายเชนทุกคนตลอดเดือนที่ผ่านมา เราใส่ใจในละเอียดขนาดที่มีการแยกถุงยังชีพของผู้ใหญ่ และถุงยังชีพของเด็กแยกตามช่วงวัย เด็กแรกเกิดเป็นนมผง เด็กเล็กเป็นนมกล่อง เพราะเขาออกจากแค้มป์ไม่ได้ ถ้าเราไม่ละเอียดแล้วเขาจะเอานมจากไหนให้เด็ก”

 

“เราต้องมองสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเราเองวันนี้ แล้วมองภาพของสิ่งที่เราคิดว่าเราทำอะไรได้บ้าง เสนาแก้ไมได้ทุกเรื่องหรอก เสนาไม่สามารถแก้ความจริงที่ว่า ยังมีคนอีกเยอะแยะที่ไม่สามารถเข้าถึงอะไรเลย และต้องเสียชีวิตในบ้าน ยุ้ย แต่เราควรจะแก้ไขให้ดีที่สุดจากจุดที่เรามองเห็นเสมอ

 

 

เป้าหมายของเราในปีนี้และปีหน้า

ไม่ว่าเราจะมีจิตใจอยากช่วยเหลือคนอื่นอย่างไร แต่เราหลอกตัวเองไม่ได้ว่าวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทคือ การทำกำไร เพราะเราต้องดูแลผู้ถือหุ้นต้องดูแลลูกค้าเป็นวัตถุประสงค์หลักที่ลืมไม่ได้ ในแง่องค์กรเราก็ต้องพยายามรักษารายได้และกำไรไม่ให้อ่อนตัวลงมากเกินไปนัก วันนี้ธุรกิจเรายังเดินหน้า เรายังขยายงาน เรายังเปิดโครงการใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องเลื่อนไปเปิดในช่วงปลายปี การลงทุนเราไม่เคยหยุดนิ่ง เราไม่สามารถบอกว่าตลาดไม่ดีวันนี้แล้วเราหยุด จะนั่นจะเหมือนการขับรถมาเร็วๆ แล้วเบรกอย่างแรง ถ้ารถหยุดแล้วการออกตัวใหม่ก็ต้องใช้เวลาอีก ดังนั้นเราจึงพยายามรักษาสภาพคล่องไว้ให้เพียงพอ ถึงวันนี้เสนาฯยังไม่เคยเอาคนออกเลย เรารักษาคนของเราไว้ แต่เมื่อเรามีคนก็ต้องมีงานให้ทำ เราจึงต้องควบคุมต้นทุน รักษาการเติบโต ดูความเสี่ยง และทำให้มั่นใจว่าบริษัทยังมีสภาพคล่องอย่างเพียงพอ นี่คืองานหลักที่ต้องทำ

 

ผลตอบแทนในแง่เงินปันผลก็ยังจ่ายให้ผู้ถือหุ้นเป็นปกติ อันนี้คือโจทย์ที่บริษัทต้องทำ อย่างไรก็ตามจะช่วยคนอื่นได้ตัวเองต้องอยู่รอดได้ก่อน นั่นคือมีผลประกบอการที่ดีมีกำไร เพียงแต่เราอาจจะคิดมากกว่าคนอื่นนิดหนึ่ง เราอาจจะกำไรน้อยลงนิดหน่อยยุ้ยยอมรับ  เพราะถ้าไม่เอาเงินไปซื้อวัคซีนเงินตรงนั้นก็ยังอยู่ในบริษัท ถ้าไม่ต้องซื้อข้าวเยอะขนาดนี้เงินก็ยังอยู่ในบริษัท เราจะคิดแบบนั้นก็ได้แต่นัน่ไม่ใช่ตัวตนของเสานาฯที่เราอยากเป็น”

 

“เป้าหมายเราอยากให้ยอดไม่ต่ำกว่าปีที่แล้ว ปีที่แล้วเรากำไรนิวไฮที่พันกว่าล้านบาท และเราพยายามรักษาเป้าหมายนั้นไว้”

 

 

ฝากมุมมองแง่คิดถึงคนรุ่นใหม่อย่างไร 

อยากแชร์ถึงน้องๆ รุ่นใหม่ ตัวเลขผู้ป่วยวันนี้ดูปวดใจมาก เรารู้สึกหมดหวังอย่างไรไม่รู้ แต่เราต้องพยายามมอง…ความต่างอยู่ที่ตรงนี้ คือเราต้องมองข้ามสิ่งนี้ไป พยายามอ่านบทวิจัยว่า การระบาดรอบนี้จะจบเมื่อไหร่จะพีคสูงสุดช่วงไหน แล้วตัวเลขจะลดลงอย่างไร อย่างไรก็ตามวิกฤตครั้งนี้ต้องมีจบ ดังนั้นต้องมีจิตใจที่หนักแน่น เมื่อวิกฤตจบแล้วจะทำอย่างไรให้เรายืนได้อย่างสง่า นั่นเป็นความต่างของผู้นำที่ต้องทำให้องค์กรมองไปหาจุดที่เป็นจุดจบที่ดีกว่า ตั้งเป้าหมายว่าเราอยากเป็นอย่างไร แล้ววันนี้ทำทุกอย่างเพื่อให้เราเป็นอย่างนั้นให้ได้

 

หน้าที่หนึ่งของผู้นำคือ การกำหนดจุดหมายที่ชัดเจนกับพนักงานในองค์กร ยุ้ยบอกทุกคนเสมอว่าที่กำหนดเป้าหมายไปนั้นยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เช่นกำหนดเป้าหมายไปว่าเปิดแค้มป์ 2 สิงหาคม แต่ความจริงอาจจะเปิดไม่ได้ก็เป็นได้ แต่สิ่งที่ผู้นำไม่ควรมีคือความไม่ชัดเจน เราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนได้แต่ไม่ชัดเจนไม่ได้ ถ้าผู้นำไม่ชัดเจนไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี คนในองค์กรก็จะไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรดี คราวนี้ก็จะไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี เราต้องให้ทิศทางที่ชัดเจนกับทีมงานแม้ว่าจะสถานการณ์เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนก็ตาม

 

น้องๆทุกคนที่ทำธุรกิจไม่ว่าธุรกิจไหนก็ตามต้องมองว่าธุรกิจนั้นอยู่ได้ยาว ไม่มีใครทำธุรกิจแล้วคิดว่าจะอยู่ช่วงสั้นๆ แล้วบอกว่าธุรกิจนั้นสำเร็จ ยุ้ยคิดว่านั่นไม่ใช่คำจำกัดความของคำว่าประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ การทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จคือ สามารถผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วยังคงอยู่ได้ บริษัทที่ประสบความสำเร็จต้องสามารถผ่านวิกฤตมาหลายรอบแล้วยังอยู่ได้ ถึงสามารถพูดได้ว่าบริษัทนั้นเก่งจริงมีภูมิต้านทานที่สามารถผ่านช่วงที่ดีและไม่ดีมาได้”

 

ดังนั้นน้องๆ ในธุรกิจไหนก็แล้วแต่ ต้องมองธุรกิจเป็นคลื่น Curve เสมอ ต้องคิดว่าเวลาไม่ดีจะจัดการอย่างไร เวลาดีจะทำอย่างไรให้อยู่เหนือคลื่นหรือ Above the Curve ฝากทุกคนนะว่า ธุรกิจคือความไม่แน่นอน ถ้าเกิดแน่นอนก็ไม่ใช่ธุรกิจ ถ้าเราจะกำไรและอยู่ได้นานกว่าคนอื่น ก็เพราะเราจัดการความไม่แน่นอนได้ดีกว่าคนอื่น อยากให้กำลังใจว่า ให้ทุกคนมองตรงนี้เป็นความไม่แน่นอนและคิดว่าเราต้องผ่านไซเคิลที่แย่ไปให้ได้ ถึงจะยืนยันได้ว่าเราเหมาะที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น

——————————————————–
รับชมเนื้อหาของ EP.อื่น ๆ ย้อนหลังได้ที่ลิงค์ด้านล่างนะครับ
Passion Talk EP.038 | นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์ เมื่อโลกก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาด และ Carbon Tax
Website : https://www.passiongen.com/news/2022/03/นฤชล-ดำรงปิยวุฒิ์-gunkul-pt-ep038
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=ivjcuaBE_0w
——————————————————–
Passion Talk EP037 ทินกร เหล่าเราวิโรจน์ Web3.0 เปลี่ยนโลก คนไทยจะก้าวอย่างไร?
Website : https://www.passiongen.com/inspired/passion-talk/2022/20/ทินกร-เหล่าเราวิโรจน์-web3-0-metaverse-p
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=3QYnPv9Nknc
————————————————————–
Passion Talk EP036 “อำนาจ เอื้ออารีมิตร” จากมีดหมอสู่กองเอกสาร จุดประกายฝัน EKH สู่โรงพยาบาลชั้นนำครบวงจร
Website : https://www.passiongen.com/news/2022/06/อำนาจ-เอื้ออารีมิตร-โรงพ
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=xDSjmf1LtZM&t=38s
————————————————————–
passion talk EP035 พล.ท.พิเศษ ศิริเกษม แรงบันดาลใจสู่ทุนปรัชญาเพื่อความมั่นคง
Website : https://www.passiongen.com/inspired/passion-talk/2021/24/พิเศษ-ศิริเกษม-แรงบันดาล
Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=5rMSiy3p2sQ&t=1s
————————————————————–
อ่าน Passion Talk ทุกเรื่องได้ที่
https://www.passiongen.com/category/inspired/passion-talk

Passion in this story