Categories: PASSION TALK

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ การศึกษาไทย ในยุคแห่งโอกาส | Passion Talk EP006

เมื่อการพัฒนาคน “ทุนมนุษย์” เป็นความท้าทายต่อการที่ “ประเทศไทยจะได้ไปต่อหรือไม่” การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการศึกษาไทยจึงกลายเป็นเรื่องเร่งด่วน บุคลากรทางการศึกษา เครื่องไม้เครื่องมือ และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ต้องถูกจัดระบบ เพื่อให้ประเทศไทยไม่หลุดขบวนของการพัฒนาในเวทีเศรษฐกิจโลก

Passion gen ได้มีโอกาสรับทราบถึงวิสัยทัศน์และมุมมองของเจ้ากระทรวงศึกษาธิการ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่สะท้อนมุมมองการศึกษาต่อเด็กไทยว่า “วันนี้เด็กไทยเป็นหัวใจของการพัฒนาและช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุด”

 

 

Passion gen: ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ย่างไร

รัฐมนตรี : การพัฒนาทุนมนุษย์หรือการเตรียมความพร้อมของนักเรียน นักศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการเติบโตของประเทศ เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวัตออก ซึ่งเป็นพื้นที่เป้ากหมายในการพัฒนาของรัฐบาล ซึ่ง EEC มีความต้องการบุคลากรเพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมใหม่ที่จะเป็น New S-Curve จึงต้องการบุคลากรในด้านอาชีวศึกษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ และเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการพัฒนาการศึกษาเพื่อรองรับความต้องการ

 

ปัจจุบันวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งใน EEC มีศักยภาพมีความสามารถในด้านต่าง ๆ อยู่แล้ว วันนี้เราก็มีแนวทางการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การแพทย์ โลจิสติกส์ แมคคาทรอนิกส์ หรือว่าระบบราง ฯลฯ เราต้องสร้างวิทยาลัยเหล่านี้ให้มีความเป็นเลิศ มีการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพในวิทยาลัยให้มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนานักศึกษา น้อง ๆ ที่กำลังศึกษาจะได้มีแรงจูงใจที่อยากจะมาเรียนในวิชาชีพที่เรากำหนดไว้ว่า เป็นวิชาชีพเป้าหมายตาม s-curve ที่ทางรัฐบาลได้วางแนวทางไว้

 

วันนี้การขับเคลื่อนก็ยังเดินหน้าไม่ได้เต็มที่ แต่ในช่วงที่กำลังปรับตัวอยู่นี้เป็นโอกาสดีครับที่จะใช้งบประมาณที่มีอยู่ทั้งปลายปี 2563 และในปี 2564 ในการสร้างศูนย์แห่งความเป็นเลิศ ความพร้อมในการพัฒนาทักษะ ทุนมนุษย์ หรือว่า Human Capital สู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับการขยายตัวของอีอีซี

 

Passion gen: การสร้างแรงจูงใจให้กับน้อง ๆ มาเรียนในสาขาอาชีวศึกษา เราจะมีแรงจูงใจอย่างไร

รัฐมนตรี : วันนี้การร่วมมือระหว่างวิทยาลัยอาชีวะต่าง ๆ กับภาคเอกชน มีภาพให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น วันนี้บริษัทใหญ่ ๆ ก็มาร่วมกับเรา 20 กว่าบริษัทแล้วและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งการจะพัฒนาคนให้เพียงพอได้นั้น ความร่วมมือในระดับปัจจุบันยังไม่พอ ทำอย่างไรจึงจะสามารถขยายขอบเขตความร่วมมือในการพัฒนาให้กว้างออกไปมากกว่านี้

จากโครงการที่มีนักเรียนสนใจ 100 คน ทำอย่างไรนักเรียนจึงจะให้ความสนใจแล้วก็มาเรียนเพิ่มมากขึ้น เป็น 500-1,000 คนหรือหลาย ๆ พันคน ในหลักสูตรที่เกี่ยวกับแผน S-Curve โดยเฉพาะในด้าน Digital ซึ่งส่วนนี้ต้องเป็นการลงทุนเพิ่มเติมในภาครัฐ เป็นการทำความเข้าใจในการสนับสนุนจากภาคเอกชนและในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงการทำงานของวิทยาลัยต่าง ๆ ในการสร้างอาชีพให้มีความสนใจมากยิ่งขึ้น แตกต่างจากในอดีต

 

Passion gen: บุคลากรมีความพร้อมรองรับการพัฒนาหรือไม่

รัฐมนตรี : ในศูนย์ต่าง ๆ เราก็มีอุปกรณ์เพียงแต่ยังไม่พร้อมเต็มที่ ผมว่าเราขาดในเรื่องของทักษะของอาจารย์เพื่อที่จะขยายวงของการเรียนรู้ให้กว้างออกไปกว่านี้ เรายังขาดอุปกรณ์ที่สามารถจัดสรรได้ ถ้าหากแนวทางชัดเจน ผมคิดว่าการจัดสรรงบต่าง ๆ ในการเตรียมครูอาจารย์ การพัฒนา การเตรียมอุปกรณ์ไม่น่ามีปัญหาอะไร

 

ปัจจุบันเราจัดสรรงบประมาณแบบกระจายไปทั่ว อาจจะไม่ให้ความสำคัญกับศูนย์ที่มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ วันนี้ศูนย์ที่มีความเป็นเลิศต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับนักเรียนที่มีความเป็นเลิศอย่างแท้จริง

 

Passion gen: น้อง ๆ ที่จบมาจะมีงานรองรับไหม

รัฐมนตรี : ในเบื้องต้นที่ EEC คาดว่าจะมีความต้องการแรงงานประมาณ 500,000 อัตรา ที่เป็นโอกาสในการเข้าทำงานของน้อง ๆ การตอบโจทย์ความต้องการแรงงานมากขนาดนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย การหาคน 5 แสนคนอาจจะไม่ใช่ปัญหา แต่จะหาคน 5 แสนคนที่มีทักษะความสามารถจริง ๆ และสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวได้จริง อันนี้เป็นความท้าทาย ถ้าเราทำสำเร็จที่อีอีซีสร้างแรงงานได้ 4-5 แสนอัตรา เราก็จะสามารถวางแผนนี้กระจายให้เกิดการพัฒนาคนได้ทั่วประเทศไทย เพิ่มทักษะด้านอาชีพให้กับทางอาชีวะได้แน่นอน

 

Passion gen: คอขวดในการพัฒนาอยู่ตรงไหน

รัฐมนตรี : ปัญหาใหญ่อยู่ที่การจัดการงบประมาณที่เราต้องมาปรับเปลี่ยนการใช้งบลงทุนของกระทรงวงศึกษาธิการเป็นหลัก ส่วนที่สองคือ ความร่วมมือกัน บางทีเราร่วมมือกันในขนาดที่เล็ก เราต้องขยายความร่วมมือในวงกว้างให้มากขึ้น หากเราร่วมมือกับภาคเอกชน 1 แห่งอาจจะสร้างคนได้ 30 คน ทำไมไม่ถามกลับไปที่เอกชนว่าถ้าหากเราต้องการสร้าง 300 คน ภาคเอกชนพร้อมจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร หรือว่าในการพัฒนาบุคลากรที่เราจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของอาจารย์ เราต้องเตรียมแบบไหนบางทีอาจจะติดขัดในเรื่องของงบประมาณที่หาครูเก่ง ๆ มาสอนเพิ่มไม่ได้ ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม

 

ที่ผ่านมาสิ่งเหล่านี้เป็นข้อจำกัด แต่ในปี 2564-2565 เป็นปีที่เราต้องก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถเดินไปข้างหน้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

Passion gen: พันธกิจมากมายเช่นนี้ ต้องการงบเพิ่มหรือไม่

รัฐมนตรี : มีแน่นอนครับ งบประมาณที่กระทรวงมีผมก็ต้องพิจารณาก่อนว่าสามารถโยกอะไรได้บ้าง วันนี้การอบรมสัมมนาต่าง ๆ การเดินทางไปต่างประเทศก็ไม่มีแล้ว ก็ต้องผันงบประมาณที่สามารถทำได้ถูกต้องตามกฎหมาย ถ้าหากว่าเราต้องการยกระดับและเห็นภาพชัดจริง ๆ เราก็สามารถเสนอทางทั้งคณะรัฐมนตรีและประธานท่านนายกได้ แต่ความเหมาะสมนี้เป็นหน้าที่ของพวกผมต้องรีบพูดคุยกับทางท่านเลขา EEC เพื่อจะได้เห็นแนวทางที่ชัดเจนว่าเป้าหมายที่วางไว้มันตรงหรือไม่

 

เช่นเราบอกว่าต้องเตรียมความพร้อมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความต้องการอีก 1 หมื่นคนในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่จริง ๆ วันนี้โควิด-19 อาจจะทำให้ความต้องการเปลี่ยนไป เราอาจจะต้องการถึง 5 หมื่นคนก็ได้ เพราะว่าเราเห็นศักยภาพของประเทศไทยในการรับมือกับโควิด-19 แล้วเชื่อว่าตรงนี้จะเป็นโอกาสที่ดีในอนาคต ฉะนั้น บุคลากรที่เราเตรียมไว้ก็ต้องมากขึ้นโดยปริยาย เพราะแผนที่เราทำไว้ตั้งแต่ปี 2561 วันนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว สาธารณสุขเป็นเรื่องที่เราต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่

 

Passion gen: ต้องจูงใจเด็กรุ่นใหม่ให้สนใจสายอาชีพมากขึ้นไหม

รัฐมนตรี : ผมว่าต้องปลูกฝังตั้งแต่มัธยมให้เขาเห็นในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหุ่นยนต์ เรื่องของโลจิสติกส์เรื่องของการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีต่าง ๆ  ถ้าเราส่งเสริมให้เขาได้เรียนรู้หรือสัมผัสเรื่องนี้ ผมว่าเขาจะเริ่มเอียงความสนใจ เป็นหน้าที่ของพวกผมเองในกระทรวงที่ต้องผสมผสานทั้งสายอาชีพและสายวิชาการอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องแนะนำให้ถูก


อภินัทธ์ เชงสันติสุข

เด็กหนุ่มที่กำลังเรียนรู้ชีวิตและถูกเฆี่ยนตีด้วยความเป็นผู้ใหญ่

Recent Posts

Young SME หลักสูตรสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ชู Soft Power เสริมสร้างธุรกิจยั่งยืน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดหลักสูตร “Young SME” สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ เน้นเชื่อมโยง Soft Power เสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และประธานคณะกรรมการ หลักสูตร Young…

6 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดธุรกิจยุคใหม่ กับ มุมมองด้านความยั่งยืน

บุรินทร์เจอนี่ พาไปรู้จักกับแนวคิด Driving People’s Actions ของบริษัท ฮาคูโฮโด เฟิร์ส จำกัด และการรูปแบบการทำงานในองค์กรที่สอดแทรกความยั่งยืนเข้าไปในทุก ๆ กิจกรรมรอบตัว โดยคุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร…

9 months ago

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล “ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี” จากงาน DG Awards 2023

อธิบดีกรมสรรพสามิตรับรางวัล "ผู้นำองค์กรดิจิทัลดีเด่นแห่งปี" พร้อมอีก 2 รางวัล จากงาน DG Awards 2023 โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 ดร.…

10 months ago

Driving People’s Actions แนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์แบรนด์ สไตล์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส

ฮาคูโฮโด เฟิร์ส ฉลองความสำเร็จครบรอบ 20 ปี เผยกลยุทธ์และทิศทางธุรกิจจากประสบการณ์และ ความสำเร็จที่เน้นแนวคิดขับเคลื่อนผลลัพธ์ของแบรนด์ ด้วยการสร้างพฤติกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตรงโจทย์ Driving People’s Actions คุณชุติมา วิริยะมหากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท…

10 months ago

พิธีปิดการอบรมหลักสูตร SML รุ่นที่ 4 ปี2566

พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานมอบใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารความมั่นคงสำหรับผู้บริหารระดับสูง สมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่นที่ 4 แก่ผู้สำเร็จการอบรม 241 คน 27 มิถุนายน 2566, กรุงเทพ:…

1 year ago

เมื่อสูงวัยต้องไปทำฟัน

ห่างหายไปนานสำหรับคอลัมน์ HiGen by Je Supaluck การกลับมาครั้งนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพที่อยากจะมาเล่าสู่กันฟัง "ผู้สูงวัย" น่าจะนับได้จากผู้มีอายุ 50 ขึ้นไป (วัยกลางคน) นั่นล่ะคือคนที่เริ่มเข้าสู่คนยุคสูงวัย (HiGen) โดยแท้ ไม่เว้นว่าเป็นหญิงหรือชายนับแต่คริสต์ศักราช…

1 year ago

This website uses cookies.